Warning: Undefined array key "action" in /var/www/wp-content/themes/kicker-child/functions.php on line 2
Knowledge | motherandcare - Part 21
Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

Knowledge

7 วิธีป้องกันผิวแห้งให้ลูกในหน้าหนาว

หน้าหนาวมาเยือนทีไรลูกน้อยมักจะมีปัญหาผิวแห้งแตกเนื่องจากผิวเด็กอ่อนบางมีโอกาสแห้งแตกง่ายหากผิวลูกแห้งมากเป็นขุยแตกและรู้สึกคัน เมื่อคันลูกก็จะเกา ทำให้มีโอกาสเกิดปัญหาผิวหนังอักเสบติดเชื้อได้ mother&care มีเคล็ดลับดี ๆ ในการปกป้องผิวลูกน้อยมาฝากค่ะ ให้ลูกดื่มน้ำเพิ่มขึ้นเพื่อคงความชุ่มชื้นของผิวหนังเอาไว้ การใช้น้ำอุ่นอาบน้ำให้ลูกไม่ควรใช้น้ำอุ่นจัดเกินไปเพราะจะเป็นสาเหตุทำให้ผิวลูกแห้งมาก เลี่ยงการใช้ฟองน้ำหรือผ้าเช็ดตัวขัดถูผิวลูก หยดน้ำมันมะกอกลงในน้ำอาบให้ลูกเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น ทา Babyครีมเพิ่มความชุ่มชื้นให้ลูก หลังอาบน้ำ สวมเสื้อผ้าเพื่อความอบอุ่นและช่วยปกป้องผิวให้ลูก เลี่ยงการพาลูกออกไปสัมผัสกับแสงแดดจัดดูแลครบทุกข้อหนาวนี้ผิวลูกก็ไม่แห้งแตกแล้วค่ะ

Read more

จริงหรือที่ว่านมแม่เพิ่มความฉลาดลูกได้ ?

นมแม่มีข้อดีนานัปการดังที่คุณแม่ทราบ มีโปรตีนย่อยง่าย สร้างภูมิคุ้มกันโรคต่าง ๆ เช่นดอทบวมโรคทางเดินอาหาร ป้องกันท้องเสีย ป้องกันภูมิแพ้ ต้านการอักเสบติดเชื้อ สุขภาพแข็งแรงโตเร็ว แล้วนมแม่ยังช่วยเสริมสร้างสติปัญญาความเฉลียวฉลาดให้ลูกได้  รายงานวิจัยของมหาวิทยาลัย Oxford University และ the Institute for Social and Economic Research, Essex University  พบว่านมแม่ช่วยพัฒนาด้านความจำและยังช่วยเรื่องการเรียนของเด็กเมื่อถึงวัยเข้าเรียนอีกด้วย  เมื่อได้กินนมทารกจะเติบโตเป็นเด็กที่มีความสุข สุขภาพจิตดีเพราะได้รับความอบอุ่นจากอ้อมกอดแม่ ความรู้สึกอบอุ่นปลอดภัยและมีความสุขเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยพัฒนาสมองของเด็กเช่นกัน   คุณแม่มือใหม่พยายามให้ลูกกินนมแม่อย่างน้อย 6 เดือนหรือนานกว่านั้นก็ยิ่งดีนะคะ  เพราะนมแม่เลอค่าสุด ๆ ค่ะ

Read more

6 เคล็ดลับลดอาการปี๊ดใส่คุณลูก

ต้องยอมรับว่าบางครั้งลูกน้อยแสนน่ารักสามารถกลายเป็นลูกน้อยแสนป่วนได้ ทำให้คุณแม่ต้องแปลงร่างเป็นแม่มดกันบ้าง แต่บ่อยไปก็จะไม่ดีทั้งกับคุณแม่และคุณลูกแน่ ๆ มาดูวิธีบรรเทาอาการปี๊ดแตกใส่คุณลูกกันค่ะ ตั้งสติ ท่องไว้ในใจว่าตอนนี้กำลังโกรธลูกใจเย็นลงหน่อย หาสาเหตุที่แท้จริง ต้นเหตุอาจจะไม่ใช่ลูก แต่เป็นความเครียดจากที่ทำงาน ปัญหาการ พักผ่อนน้อยอดนอน 3.นับ 1-10 ก่อนอาละวาดใส่ลูก เมื่อรู้สึกโกรธสุดขีดให้เดินเลี่ยงออกไปจากห้องนั้นก่อน ฝากคุณพ่อดูสักครู่ค่อยกลับมาใหม่ พูดถึงความรู้สึกของคุณแม่ว่ารู้สึกแย่อย่างไรเมื่อลูกมีพฤติกรรมเช่นนี้ แทนการชี้ข้อผิดของลูก อย่าเอาคดีเก่ามารวมรวบยอดพูดซ้ำซาก เวลาหายโกรธแล้ว ช่วงเวลาอารมณ์ดีอธิบายให้ลูกฟังด้วยท่าทีอบอุ่นอ่อนโยน เพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างกันค่ะ

Read more

ฟังลูกเล่านิทาน ส่งเสริมพัฒนาการ 5 ด้าน

เด็ก ๆ มักจะชอบฟังนิทานก่อนนอน และบางครั้งยังชอบเป็นคนเล่าให้คุณพ่อคุณแม่ฟัง การฟังลูกเล่านิทานดีต่อพัฒนาการของลูกในหลายด้านค่ะ มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง 1.พัฒนาทักษะด้านภาษา Dr. Frederick Zimmerman นักวิจัยจาก UCLA School of Public Health แห่ง California กล่าวว่าเด็กที่เล่าเรื่องราวต่าง ๆ ให้พ่อแม่ฟังจะมีพัฒนาการทางภาษาเร็วขึ้น 6 เท่า เมื่อเทียบกันการเป็นคนฟังนิทานเพียงอย่างเดียว 2.เสริมจินตนาการ การให้ลูกเล่านิทานด้วยตัวเขาเองจะช่วยเสริมทักษะด้านจินตนาการให้ลูก ให้ลูกเล่าอย่างอิสระ อาจจะแต่งเติมเนื้อหาตามใจชอบหรือแต่งเรื่องขึ้นเอง คุณแม่อาจจะกระตุ้นเขาด้วยกันซักถามระหว่างลูกเล่า 3.เรียบเรียงความคิด การที่เด็กคนนึงจะเล่าเรื่องราวออกมาเขาจะต้องเรียบเรียงความคิดให้เป็นระบบ ตั้งแต่การวางเรื่องว่าจะให้ดำเนินไปอย่างไร มีตัวละครกี่ตัว แต่ละตัวมีบทบาทอะไรบ้าง ฯลฯ 4.ฝึกความจำ การพูดออกมาจะช่วยกระตุ้นความจำได้มากขึ้น ในการเล่านิทานลูกจะได้ฝึกการจดจำเรื่องราวและคำศัพท์ต่าง ๆ 5.สร้างความมั่นใจ เมื่อคุณพ่อคุณแม่สนใจในสิ่งที่ลูกเล่าและชื่นชมเขา ลูกจะรู้สึกค่อย ๆ พัฒนาความมั่นใจในตัวเองขึ้นมา การเล่านิทานของเด็กอาจเป็นเรื่องเล็ก ๆ แต่มีประโยชน์เกินความคาดหมายทีเดียวค่ะ

Read more

ระวังอุบัติเหตุ! ดูแลความปลอดภัยลูกน้อยวันลอยกระทง

เทศกาลวันลอยกระทงเป็นช่วงเวลาที่เด็กต่ำกว่าอายุ 15 ปีมักเกิดอุบัติจมน้ำเสียชีวิตบ่อยครั้ง และเกิดขึ้นทุกปี นอกจากการจมน้ำแล้วคุณพ่อคุณแม่ยังต้องระวังอุบัติเหตุและการพลัดหลงค่ะ ป้องกันอุบัติเหตุจมน้ำ ดูแลเด็กไม่ให้คลาดสายตา อุ้มหรือจูงมือไว้ตลอดเวลา เมื่อพาลูกไปยังจุดใกล้แม่น้ำ คลอง บึง ฯลฯ เพิ่มความระวังให้มากขึ้น ลูกโตแล้วก็ไม่ควรปล่อยให้เด็ก ๆ ไปลอยกระทงกันตามลำพัง ป้องกันลูกพลัดหลง เขียนชื่อที่อยู่เบอร์โทรศัพท์ให้ลูกติดตัวไว้ สอนว่าถ้าพลัดหลงอย่าเดินหายไปไหนให้อยู่กับที่ ให้ลูกจำเบอร์โทรศัพท์ของพ่อแม่ ถึงแม้จะถึงวัยที่คุณแม่ให้พกโทรศัพท์มือถือได้แล้วอาจมีโอกาสทำหายได้ จูงมือลูกอุ้มไว้ตลอดเวลาเมื่ออยู่ในบริเวณที่คนหนาแน่น ไม่ปล่อยลูกไว้กับพี่ที่ยังเป็นเด็กด้วยกัน ให้ลูกพกนกหวีดและสอนให้ใช้เพื่อขอความช่วยเหลือ ป้องกันอันตรายจากพลุ ประทัด ดอกไม้ไฟ ห้ามลูกเล่นพลุ ประทัด และดอกไม้ไฟ ผู้ใหญ่ก็ไม่ควรซื้อมาเล่นเองเพราะจะเป็นตัวอย่างให้เด็กทำตาม ห้ามลูกแอบเก็บพลุ ประทัด ดอกไม้ไฟ ไว้ในกระเป๋าเสื้อ กางเกง หรือที่มีอากาศร้อน แสงแดดส่องเพราะอาจเกิดการเสียดสีและระเบิดขึ้นได้

Read more

แน่ใจว่าลูกไม่ได้กินเค็มเกิน ?

รับทราบมาบ่อย ๆ ว่าการกินเค็มหรือกินโซเดียมมากส่งผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพในระยะยาว ทั้งโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต กระดูกพรุน อัมพฤกษ์อัมพาต ฯลฯ  คุณพ่อคุณแม่อาจมั่นใจว่าลูกไม่ได้กินเค็มเกินไป ดูตัวเลขเหล่านี้แล้วอาจเปลี่ยนความคิดใหม่ มาดูปริมาณโซเดียมในอาหารจานเดียวกันก่อน สุกี้น้ำ 1,560 มิลลิกรัม บะหมี่น้ำหมูแดง 1,480 มิลลิกรัม เส้นใหญ่เย็นตาโฟ 1,417 มิลลิกรัม ผัดซีอิ๊ว 1,352 มิลลิกรัม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 977 มิลลิกรัม กระทรวงสาธารณสุขแนะนำว่าผู้ใหญ่ไม่ควรกินเกลือเกินวันละ 1 ช้อนชา (เกลือ 1 ช้อนชา =โซเดียม 2,000 มิลลิกรัม) แล้วเด็กล่ะ ? 6-11 เดือน 175-550 มิลลิกรัม/วัน (ประมาณ ¼ ช้อนชา) 1-3…

Read more

ทารกหายใจปกติใช่มั้ย ?

คุณแม่มือใหม่ต่างคนมีความกังวลกับเสียงหายใจของลูกค่ะ เพราะไม่แน่ใจว่าเป็นเสียงหายใจปกติหรือเปล่า เสียงหายใจของทารกแรกเกิดจะผิดแผกแตกต่างไปจากผู้ใหญ่ มักจะดูเหมือนว่าเป็นเสียงไม่ปกติเช่นลูกอาจจะหายใจเร็ว หายใจแรง หยุดเป็นช่วงยาว และอาจจะมีเสียงครืดคราด ทำไมทารกช่วงแรกเกิดจึงหายใจแปลก ๆ ทางเดินหายใจเล็ก แล้วถูกปิดกั้นได้ง่าย กระดูกบริเวณผนังหน้าอกยังอ่อนอยู่ ปอดยังทำงานไม่ได้เต็มที่ ยังมีน้ำคร่ำตกค้างอยู่ในทางเดินหายใจ สังเกตอาการผิดปกติ หายใจเสียงวี้ด ๆ ร้องเสียงแหบหรือไอเสียงก้อง หายใจเร็วผิดปกติ   กรน หายใจเสียงดังครุป หายใจเสียงคำราม ถ้ามีอาการเหล่านี้ควรพาลูกไปพบคุณหมอค่ะ

Read more

ระวังสารกันบูดบ้างหรือเปล่า ?

สารกันบูดมีอยู่ในอาหารหลายประเภท คุณแม่อาจนึกไม่ถึงหรือลืมนึกไปว่าอาหารประเภทนี้ก็ใส่สารกันบูดกับเขาด้วย สารกันบูดหรือสารกันเสียมีประโยชน์สำหรับผู้ที่ค้าขายอาหาร เพราะช่วยยืดอายุอาหารให้อยู่นาน บูดเสียช้า ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ ซึ่งมีข้อกำหนดเอาไว้ว่าไม่ให้ใส่เกิน 1,000 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม มีการใส่สารกันบูดในอะไรบ้าง อาหาร : เช่น ขนมจีน เส้นก๋วยเตี๋ยว ผักดอง หมูยอ อาหารประเภทแฮม ไส้กรอก น้ำพริก ฯลฯ ขนม : เช่น ขนมปัง โดนัท เยลลี่ แยม ผลไม้ดอง ผลไม้แช่อิ่ม ผลไม้อบแห้ง ข้าวเกรียบกุ้ง ขนมเปี๊ยะ โรตีสายไหม ขนมแบบแห้ง ฯลฯ เครื่องดื่ม : น้ำอัดลม น้ำหวาน *อาหารบางอย่างก็ใส่สารกันบูดมากกว่า 1 ชนิด รวมแล้วอาจจะเกินกำหนด *ถ้ารอบตัวลูกมีแต่อาหารที่ใส่สารกันบูดให้เลือกรับประทาน ก็เท่ากับว่ามีโอกาสรับปริมาณสารกันบูดเกิน อันตรายถ้ากินสารกันบูดเกิน เกิดอาการแพ้…

Read more

จะทำอย่างไรถ้าลูกถนัดซ้าย ?

งานวิจัยจาก Trieste and the University of Padua ที่ตีพิมพ์ใน Scientific Reports เผยว่า ทารกในครรภ์อายุตั้งแต่ 18 สัปดาห์ขึ้นไปจะเคลื่อนไหวโดยใช้มือข้างที่ถนัด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นมือขวา งานวิจัยรายงานว่าความถนัดซ้ายหรือขวาของลูกนั้นถูกกำหนดมาตั้งแต่ในครรภ์ นักจิตวิทยาพัฒนาการแนะนำว่า  อย่าพยายาม “แก้ไข” ความถนัดซ้ายของลูก เพราะจะส่งผลให้สมองของลูกทำงานหนักขึ้น มีโอกาสเกิดปัญหาในการเขียน การใช้กรรไกร หรือมีด และเล่นกีฬาได้ไม่ดี รวมไปถึงเหนื่อยง่ายเมื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ   เนื่องมาจากความถนัดซ้ายหรือขวาของเด็ก ๆ เกี่ยวข้องกับการบริการจัดการและการทำหน้าที่ของสมอง สมองซีกซ้ายและซีกขวา นั้นมีหน้าที่ควบคุมการทำงานและพฤติกรรมที่แตกต่างกัน ข้อแนะนำ ถ้าลูกยังไม่แสดงให้เห็นการใช้มือข้างที่ถนัดภายในอายุ 2 ปี พยายามให้เขาหยิบจับสิ่งของโดยใช้มือทีละข้าง และอย่าสั่งให้ลูกใช้ช้อนหรือปากกาด้วยมือข้างใด แต่ปล่อยให้เขาได้เลือกข้างที่ถนัดด้วยตัวเอง เมื่อลูกแสดงให้เห็นว่าถนัดมือข้างไหน พยายามหากิจกรรมให้ลูกได้ใช้กล้ามเนื้อมือข้างนั้นด้วยจะดีที่สุดค่ะ

Read more

ระวังอันตรายถ้าลูกนอนกรน !

การนอนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเจริญเติบโตของวัยเบบี๋ทั้งด้านร่างกาย สมอง อารมณ์ และจิตใจ แต่ถ้าลูกมีอาการนอนกรนจนเกิดภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น ทำให้หยุดหายใจขณะหลับจะเกิดปัญหาสุขภาพตามมาค่ะ นอนกรนจากภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea Syndrome : OSAS) มักเกิดจากช่องคอที่แคบลงและปิดในระหว่างหลับ ทำให้เด็กมีอาการหายใจเสียงดัง หายใจหอบ สะดุ้ง สำลัก เวลาหายใจเข้าหน้าอกจะบุ๋มขณะหลับ เด็กที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับกล้ามเนื้อจะหย่อนตัวมาก ทำให้ช่องคอแคบมากกว่าปกติจนกระทั่งช่องคอปิด อาจได้ยินเสียงหายใจเฮือกเสียงดัง เมื่อเริ่มกลับมาหายใจอีกครั้ง การหายใจเช่นนี้อาจกระตุ้นให้ตื่นเป็นช่วงสั้น ๆ  และอาจทำให้เป็นโรคหัวใจได้ เนื่องจากมีภาวะขาดออกซิเจน  อาการเป็นแบบนี้ เด็กจะนอนหลับในท่าทางที่ผิดปกติ กรนเสียงดังเป็นประจำ หยุดหายใจสั้น ๆ ขณะหลับแล้วตามด้วยเสียงกรน หายใจหอบ ตื่นกลางคืน เหงื่อออกมากขณะหลับ นอนกระสับกระส่าย ปลุกตื่นยาก หลังตื่นนอนอยากจะนอนหลับต่อ ปวดศีรษะระหว่างวันหรือหลังตื่นนอน หงุดหงิดง่าย โมโหง่าย ผลเสีย เมื่อโตจะมีปัญหานอนหลับยาก มักหลับขณะเรียน การเจริญเติบโตไม่ดี มีปัญหาพฤติกรรม ปัสสาวะรดที่นอน อาจมีสมาธิสั้น และซนกว่าปกติ เป็นต้น ถ้าลูกมีอาการดังกล่าวควรปรึกษากุมารแพทย์และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคจากการนอนหลับค่ะ  ข้อมูลอ้างอิง : ศูนย์นิทราเวช …

Read more