Warning: Undefined array key "action" in /var/www/wp-content/themes/kicker-child/functions.php on line 2
Knowledge | motherandcare - Part 22
Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

Knowledge

ทำไมทารกนอนสะดุ้ง ?

การนอนสะดุ้งเป็นปฏิกิริยาสะท้อนกลับโดยอัตโนมัติ (Reflex) ของเด็กทารกทุกคนเป็นปกติ แค่มีเสียงดังหรือบริเวณที่นอนอยู่มีการสั่นสะเทือนเบาๆ ลูกจะมีปฏิกิริยาตอบกลับด้วยการขยับแขนขาในทันที  ดังนั้นเมื่อมีสิ่งมากระตุ้น เช่น เสียงพูดคุยหรือเปิดประตู ก็อาจทำให้ลูกสะดุ้งตกใจได้ เมื่อลูกโตขึ้นปฏิกิริยาเหล่านี้ก็จะค่อย ๆ หายไปเองค่ะ

Read more

ทำไมทารกนอนนานไม่ยอมตื่น ?

หากคุณแม่กังวลว่าลูกนอนนานไม่ตื่นขึ้นมากินนมสักที คงต้องสังเกตพฤติกรรมการนอนของลูกค่ะ ถ้าลูกนอนสบาย เป็นปกติดีไม่มีปัญหา ก็ไม่ต้องกังวลหรือปลุกให้ลุกขึ้นมากินนมทุก ๆ 3-4 ชั่วโมง อาจยืดหยุ่นช่วงเวลาการกินกันได้ ตามความเหมาะสม การที่ลูกนอนนานถ้าไม่นานจนรู้สึกว่าผิดปกติมากก็ไม่จำเป็นต้องกังวลใจไปค่ะ หรือถ้าคุณแม่ยังไม่คลายความกังวลอาจปรึกษาคุณหมอ ร่วมกับการสังเกตการเจริญเติบโต น้ำหนักตัวกับปริมาณการกินของลูก ว่าเป็นไปตามเกณฑ์ที่เหมาะสมหรือไม่ หากมีปัญหาจะได้ดูแลแก้ไขทัน

Read more

ทำยังไงดีลูกนอนน้อย ตื่นบ่อย ?

ช่วงแรกเกิดวงจรการนอนของเด็กจะสั้นกว่าผู้ใหญ่ ทำให้ทารกตื่นบ่อย ทำให้ลูกหลับได้นาน รวมทั้งกระเพาะของลูกก็ยังเล็ก ทำให้ย่อยเร็ว ตื่นมากินนมทุก 2-3 ชั่วโมงในช่วง 3 เดือนแรก อีกทั้งเด็กแต่ละคน ก็มีรูปแบบการนอนที่แตกต่างกัน บางคนนอนทั้งวันไม่ตื่น หรือหลับ ๆ ตื่น ๆ ทั้งวันทั้งคืนก็เป็นไปได้ แต่เมื่อลูกโตขึ้นวงจรการนอนจะนานขึ้น ทำให้เห็นได้ว่าลูกหลับลึกโดยไม่แสดงท่าทีว่ารู้สึกตัวตื่นด้วยการขยับหรือบิดตัวได้นานมากขึ้น สิ่งที่คุณแม่ควรทำคือ ให้ลูกเรียนรู้เรื่องเวลากลางวันและกลางคืนตั้งแต่หลังคลอด ด้วยการสร้างบรรยากาศการนอน เช่น กลางวัน ควรให้ห้องนอนหรือห้องที่ลูกอยู่มีแสงสว่างเพียงพอ ไม่ปิดทึบหรือมืด ส่วนกลางคืน แสงไฟในห้องไม่ควรสว่างจ้า จนไปรบกวนการนอนของลูก

Read more

ทำยังไงดีเบบี๋ไม่ยอมนอน ?

สังเกตไม่ยาก วันไหนคุณแม่รู้สึกร้อนอึดอัด ไม่สบายตัว ทารกก็รู้สึกเช่นเดียวกัน ถ้ามีเหงื่อออกแสดงว่าร้อน อาจลองแตะที่ซอกคอดู ถ้ามือเท้าเย็น ผิวตัวลูกลายเป็นตาข่ายแสดงว่าหนาว เมื่อโตขึ้น เบบี๋จะแสดงท่าทางสื่อสารได้ว่าต้องการอะไร ควรสังเกตว่าลูกต้องการจะบอกอะไรกับคุณแม่ ปัญหาการไม่ยอมนอนของลูกนั้นคุณแม่ลองสังเกตดูว่ามาจากสาเหตุใด ส่วนใหญ่มาจากคุณแม่ยังไม่ได้จัดการเรื่องเวลานอนของลูกค่ะ มีคำแนะนำดี ๆ มาฝาก ควรให้ลูกนอนกลางวันเท่าที่จำเป็น โดยเฉพาะช่วงแรกเกิด หากลูกนอนเกิน 3 ชั่วโมงควรปลุกให้ตื่น ถ้าลูกไม่หิวไม่เป็นไร อาจหากิจกรรมเรื่องเล่นให้ลูก เพื่อให้ลูกนอนกลางวันน้อยลง สามารถหลับในตอนกลางคืนได้มากขึ้น ในเวลากลางคืนควรสร้างบรรยากาศการก่อนนอน เช่น ทำให้ห้องนอนสงบ เปิดเพลงเบาๆ และลดกิจกรรมที่ตื่นเต้นก่อนนอน หรือเปิดไฟน้อยดวงเท่าที่จำเป็นหากต้องลุกขึ้นมาดูแลลูกในตอนกลางคืน เทคนิคเหล่านี้จะช่วยให้ลูกน้อยเปลี่ยนมานอนตอนกลางคืนได้ดีขึ้นค่ะ

Read more

ลูกตื่นมาร้องโยเยเพราะอะไร ?

ถ้าลูกร้องตื่น ควรดูแลแก้ไขตามสาเหตุนั้น ๆ เช่น ลูกเจ็บป่วย ชื้นแฉะ ไม่สบายตัว ทำให้ลูกต้องงอแงร้องไห้ ตื่นขึ้น แต่หากการร้องของลูกเป็นเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ ในตอนกลางคืน รอดูสักพัก การรีบเข้าไปอุ้ม เปิดไฟให้สว่าง หรือให้นมมื้อดึก จะทำให้ทารกร้องให้อุ้มทุกครั้ง ลองให้ลูกได้หลับต่อเอง หรือปลอบโยนด้วยการแตะหรือตบก้นเบา ๆ เพื่อให้ลูกรู้ว่าคุณแม่อยู่ใกล้ ๆ

Read more

จะรู้ได้อย่างว่าทารกหนาวหรือร้อน ?

ในบางเวลาอากาศเอาแน่เอานอนไม่ได้คุณแม่อาจสงสัยว่าตอนนี้ลูกน้อยสวมเสื้อผ้าอบอุ่นพอหรือยังหรือว่าเขาจะร้อนเกินไปนะ จะสังเกตอย่างไรดี ทารกเกิดใหม่ ร่างกายเคยชินกับความอบอุ่นในท้องแม่มาโดยตลอด เมื่อออกมาลืมตาดูโลกควรจัดสภาพแวดล้อมให้ใกล้เคียงกับของเดิมเป็นดีที่สุด อยู่ในบ้านหรือนอกบ้าน ก็จำเป็นต้องสวมเสื้อผ้าให้อบอุ่นเข้าไว้ ทารกที่โตหน่อย เริ่มชินกับสภาวะแวดล้อมแล้ว เมื่ออยู่ในบ้านก็ไม่ต้องสวมเสื้อผ้าหลายชั้นเหมือนเวลาออกไปนอกบ้าน อย่าลืมสวมหมวกให้ลูกทุกครั้งที่ออกนอกบ้าน เพราะศีรษะเป็นอวัยวะที่บอบบาง รับรู้ร้อนหนาวได้เร็ว และอาจทำให้ไม่สบายได้ ช่วงปลายรู้สึกหนาว เบบี๋อาจร้องงอแง แต่ถ้าลูกรู้สึกร้อนเกินไปจะง่วงและนอนทั้งวัน เพราะไม่กวน คุณพ่อคุณแม่จึงไม่รู้ว่า เขากำลังไม่สบายตัวอยู่ สังเกตไม่ยาก วันไหนคุณแม่รู้สึกร้อนอึดอัด ไม่สบายตัว ทารกก็รู้สึกเช่นเดียวกัน ถ้ามีเหงื่อออกแสดงว่าร้อน อาจลองแตะที่ซอกคอดู ถ้ามือเท้าเย็น ผิวตัวลูกลายเป็นตาข่ายแสดงว่าหนาว เมื่อโตขึ้น เบบี๋จะแสดงท่าทางสื่อสารได้ว่าต้องการอะไร ควรสังเกตว่าลูกต้องการจะบอกอะไรกับคุณแม่

Read more

ทำไมต้องดูแลตั้งแต่ฟันซี่แรกของลูก ?

การดูแลสุขภาพฟันของลูกตั้งแต่ฟันซี่แรกขึ้นเพื่อสร้างนิสัยการดูแลฟันตั้งแต่เขายังเล็ก และป้องกันปัญหาในระยะยาวที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ฟันผุ เหงือกอักเสบ ฯลฯ ฟันแท้สำคัญเพราะลูกต้องใช้ไปจนตลอดชีวิต และสุขภาพฟันที่ดีมีผลต่อการกินอาหารเป็นอย่างมากค่ะ ดูแลฟันสำคัญสุด ๆ เด็กเล็กเป็นวัยที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาฟันผุสูง โดยเฉพาะช่วงขวบปีแรก ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กยังมีการดูดนมค่อนข้างบ่อย จึงมีความถี่ที่น้ำนมจะสัมผัสกับเนื้อฟันได้สูง หากพ่อแม่ ผู้ปกครองไม่สามารถทำความสะอาดฟันให้ลูกได้ จะมีโอกาสเกิดฟันผุได้ง่าย กว่าจะรู้ก็ผุแล้ว ฟันผุในระยะเริ่มแรกมักไม่แสดงอาการ พ่อแม่จึงไม่ทราบว่า ลูกเริ่มมีฟันผุแล้ว จนกระทั่งรอยผุลุกลามใหญ่ขึ้นจนทะลุโพรงประสาทฟัน ส่งผลให้ติดเชื้อที่ฟันและมีอาการปวดฟัน หรือมีตุ่มหนองที่เหงือก รักษายากและแพง การรักษาฟันที่มีการผุลุกลามมากแล้วนั้นมักต้องฉีดยาชาร่วมกับการถอนฟัน หรือรักษารากฟัน ซึ่งเป็นการรักษาที่ต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูง นอกจากนี้ยังทำให้เด็กเกิดทัศนคติที่ไม่ดีต่อการทำฟันและเข้าพบทันตแพทย์อีกด้วย วิธีดูแลฟันลูก 1.พาลูกไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจช่องปาก และป้องกันฟันผุด้วยการเคลือบฟลูออไรด์หรือเคลือบหลุ่มร่องฟัน หากคุณหมอพบรอยผุตั้งแต่ระยะแรกก็จะทำการอุดฟันแบบที่ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด นอกจากนี้หากพบความผิดปกติอื่น ๆ จะได้รักษาเร็วก่อนลุกลาม 2.พาลูกไปพบทันตแพทย์ตั้งแต่ฟันซี่แรกขึ้น หรืออย่างช้าอายุไม่เกิน 1 ปี เพื่อรับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพปากและฟันเหมาะสม ลูกเล็กไม่ยอมแปรงฟันทำยังไงดี 1.ฝึกให้ลูกเคยชินกับการแปรงสีฟัน เช่นให้ถือเล่น หรือลองใช้แปรงสีฟันเข้าปาก แต่ต้องเป็นแปรงที่เหมาะสมกับช่วงวัย รวมถึงการเลือกแปรงสีฟันที่มีสีสันสดใส 2.ควรทำเป็นลักษณะของกิจกรรมครอบครัวโดยการที่คุณพ่อ คุณแม่ทำให้ลูกเห็นและให้ลูกทำตามไปพร้อมๆกัน 3.สร้างบรรยากาศสนุกสนาน ร้องเพลงขณะแปรงฟันด้วยกัน เด็กเล็กมักเป็นวัยที่ไม่ค่อยให้ความร่วมมือในเรื่องแปรงฟัน คุณพ่อคุณแม่พยายามสักนิด ใช้หลาย…

Read more

ดูแลลูกสมาธิสั้นอย่างไร ?

โรคสมาธิสั้นมีสาเหตุและวิธีดูแลรักษาอย่างไรมาดูกันค่ะ สาเหตุของสมาธิสั้น โรคสมาธิสั้นเกิดจากความผิดปกติของสมอง คือ มีปริมาณสารเคมีบางตัวในสมอง (Dopamine, Noradrenaline) น้อยกว่าเด็กปกติ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับหลายปัจจัย เช่น กรรมพันธุ์ การได้รับพิษสารตะกั่ว การสูบบุหรี่ของมารดาระหว่างตั้งครรภ์ การคลอดก่อนกำหนด ภาวะแทรกซ้อนอื่นระหว่างตั้งครรภ์ เป็นต้น ส่วนการเลี้ยงดู การดูทีวี การเล่นเกมส์ไม่ได้เป็นสาเหตุโดยตรงของโรคสมาธิสั้น แต่อาจส่งผลให้อาการสมาธิสั้นมากขึ้นได้ การดูแลรักษาเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น เป้าหมายของการรักษาโรคสมาธิสั้นคือการช่วยให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมตัวเองให้มีความตั้งใจเรียนและทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งอาจต้องได้รับการรักษาหลายด้านร่วมกัน 1.การรักษาด้วยยา 2.การปรับพฤติกรรมและการช่วยเหลือด้านจิตใจสำหรับเด็กและครอบครัว เช่น จัดทำตารางเวลากิจกรรมในแต่ละวัน สั่งงานทีละขึ้นตอน ให้เด็กพูดทวนคำสั่ง จัดหาสถานที่ที่เหมาะสมในการทำการบ้านโดยไม่มีสิ่งรบกวน ลดการลงโทษหากพฤติกรรมที่ไม่ดีเกิดจากอาการของโรค และเพิ่มการชื่นชมเมื่อเด็กมีพฤติกรรมดี เป็นต้น 3.การดูแลจากทางโรงเรียน เช่น จัดที่นั่งใกล้โต๊ะครู ห่างจากประตู หน้าต่าง เขียนการบ้านบนกระดานให้ชัดเจน หลีกเลี่ยงการสั่งงานด้วยวาจา ตรวจสมุดจดงานว่าทำงานได้ครบถ้วนหรือไม่ หากเด็กหมดสมาธิอาจจัดกิจกรรมเพื่อเปลี่ยนอิริยาบท เช่น ช่วยลบกระดานดำ หรือแจกหนังสือ เป็นต้น หากสงสัยว่าเด็กมีโอกาสเป็นโรคสมาธิสั้นควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมค่ะ ข้อมูลจาก : พญ.กุลนิดา เต็มชวาลา จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น…

Read more

ป้องกันเด็กถูกล่วงละเมิดทางเพศ !

เมื่อไม่กี่วันมานี้ ข่าวพ่อของเด็กที่ถูกวัยรุ่น 5 คนรุมโทรมระงับอารมณ์ไม่อยู่ทำร้ายร่างกายผู้ก่อเหตุ  เนื่องจากญาติผู้ก่อเหตุที่อ้างตัวว่าเป็นอบต.พยายามจ่ายเงินโดยไม่ต้องแจ้งความ ยังมีมีตำรวจช่วยไกล่เกลี่ยเพื่อให้เรื่องจบ สร้างความโกรธแค้นให้กับคนในสังคม และรู้สึกสะใจเมื่อผู้ทำผิดโดนพ่อเหยื่อทำร้ายเอาคืนบ้าง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นทุกครั้งที่มีข่าวคราวเด็กถูกล่วงละเมิดทางเพศ ถูกข่มขืน สะเทือนความรู้สึกคนเป็นพ่อเป็นแม่และทุกคนในสังคม  มีคำถามว่าเมื่อไหร่ปัญหานี้จะหมดไป แล้วเราจะปกป้องเด็ก ๆ ของเราอย่างไร ไทยติดอันดับ 10 โลกคดีข่มขืน ไทยติดอันดับ 10 ของโลกจากการคำนวณจำนวนคดี แต่ถ้าคำนวณจากอัตราเฉลี่ยคดีต่อประชากรหญิงจะติดอันดับ 29 ของโลก รายงานจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติล่าสุด สถิติคดีข่มขืนในไทย พ.ศ. 2552-2556 เฉลี่ยปีละ 4,000 คดี ซึ่งหมายความว่ามีเหตุเกิดขึ้นทุก 2 ชั่วโมง ตำรวจจับได้ปีละ 2,400 คดี แต่ข้อมูลจากศูนย์พัฒนาข้อมูลกระบวนการยุติธรรมสำนักงานกิจการยุติธรรมรายงานว่าคดีข่มขืนเกิดขึ้นจริงมากกว่า 30,000 ดีต่อปี เท่ากับว่าเกิดขึ้นทุก ๆ 15 นาที คดีข่มขืนที่ไม่ได้แจ้งความมีถึง 87% สถิติเรื่องราวร้องทุกข์ข่มขืนอนาจารผ่านมูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี  ปี 2558 มี 658 ราย …

Read more

เลี้ยงลูกสตรองสู้ฝุ่นพิษ

สถานการณ์ของหมอกควันฝุ่นพิษ PM 2.5 ดีขึ้นเป็นพัก ๆ แต่ก็ยังไม่หมดสิ้นไปซักที เดี๋ยวมีรายงานว่าจังหวัดโน้นจังหวัดนี้ประกันมีฝุ่นหนาตึ้บเด็กเล็ก โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้ โรคเยื่อบุตาอักเสบ โรคผิวหนัง ยิ่งน่าเป็นห่วงเพราะมีโอกาสได้รับอันตรายจากฝุ่นพิษได้มากที่สุด การให้ลูกสวมหน้ากากป้องกันฝุ่น ไม่ออกไปอยู่กลางแจ้งในวันที่มีฝุ่นหนาแน่น การใช้เครื่องกรองอากาศ และปิดประตูหน้าต่างบ้านเป็นวิธีป้องกันเด็ก ๆ จากฝุ่นพิษที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนทำได้ แต่หมดที่ว่ามานี้เป็นการป้องกันจากภายนอกค่ะ การดูแลสุขภาพลูกให้แข็งแรงก็เป็นอีกทางหนึ่งในการสร้างเกราะป้องกันอันแข็งแกร่งเพื่อต่อสู้กับฝุ่นพิษในอากาศ คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลร่างกายของร่างกายของลูกให้แข็งแรงอย่างไรได้บ้างมาฟังกันค่ะ 1.กินอาหารเพิ่มภูมิคุ้มกัน นอกจากการให้ลูกกินอาหารครบทั้ง 5 หมู่แล้ว เลือกอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารเหล่านี้ วิตามินซี : ผักผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินซี เช่น บร็อคโคลี คะน้า ปวยเล้ง ฝรั่ง ลิ้นจี่ สตรอว์เบอร์รี ส้ม กีวี มะละกอสุก ฯลฯ วิตามินอี : อาหารที่มีวิตามินอีสูง เช่น ผักโขม เมล็ดทานตะวัน น้ำมันคาโนล่า มะเขือเทศ มะม่วง…

Read more