Warning: Undefined array key "action" in /var/www/wp-content/themes/kicker-child/functions.php on line 2
เด็กแรกเกิดถึง 3 ขวบ | motherandcare - Part 7
Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

เด็กแรกเกิดถึง 3 ขวบ

เล่นแบบไหนสนุกกระตุ้นสายตาลูก ?

การมองเห็นเป็นวิธีหนึ่งในการการเรียนรู้โลกค่ะ ยิ่งเห็นมากยิ่งสร้างโอกาสในการทำความเข้าใจ จดจำ และเรียนรู้สิ่งรอบตัวมากขึ้น เพราะฉะนั้นการได้ฝึกสายตาและการมองเห็นของลูกจะช่วยกระตุ้นพัฒนาการให้กับลูกได้ มาดูกันว่าคุณพ่อคุณแม่จะเล่นกับลูกแต่ละวัยอย่างไรเพื่อกระตุ้นสายตาลูก 0-6 month ใช้ใบหน้าท่าทางเล่นกับลูก เช่น กระเดาะลิ้น กระพริบตา ทำปากออกเสียง อา อี อู เรียกความสนใจจากลูก แขวนโมบายรูปสัตว์ รูปทรงต่าง ๆ ห่างจากตัวลูกประมาณ 8-12 นิ้ว เพื่อกระตุ้นให้ลูกแหงนมองวัตถุที่เคลื่อนไหวไปมา ให้ลูกมองธรรมชาติรอบตัว เช่น พาลูกน้อยดูท้องฟ้า ต้นไม้ สัตว์ตัวเล็กตัวน้อย ในสวนหลังบ้านหรือสวนสาธารณะใกล้บ้าน อุ้มลูกมองภาพสะท้อนในกระจก พูดคุยกับลูก เรียกชื่อหรือบอกด้วยว่า นี่…คืออะไร จะเป็นการกระตุ้นการมองเห็นไปพร้อม ๆ กับการจดจำคำศัพท์ หาลูกบอลสีสันสดใส ขนาดเหมาะกับมือลูก โดยวางลูกบอลไว้ข้างหน้าลูกพร้อมกับส่งเสียงเชียร์ให้ลูกหยิบจับ ไขว่คว้าลูกบอล 6 month up เล่นเกมจ๊ะเอ๋ ช่วยให้ลูกสนุกคึกคักอารมณ์ดี วัยนี้ลูกเคลื่อนไหวร่างกายได้คล่องขึ้น เหมาะกับการเล่นเกมซ่อนหา จะเป็นการกระตุ้นการใช้สายตาให้ทำงานประสานกับกล้ามเนื้อมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดใหญ่ เพิ่มความแข็งแรงให้แขนและขา ชวนลูกดูหนังสือภาพขนาดใหญ่ อักษรตัวโต…

Read more

เบบี๋ออกกำลังกายตามวัย ทำยังไงนะ ?

ในช่วงขวบปีแรกการเคลื่อนไหวร่างกายเป็นไปตามพัฒนาการทางร่างกาย ถ้าส่งเสริมอย่างเหมาะสมก็จะทำให้ลูกน้อยมีพัฒนาการที่สมวัยคุณพ่อคุณแม่มีส่วนช่วยให้ลูกน้อยได้ออกกำลังกายในช่วงขวบปีแรกอย่างไรมาดูกันค่ะ แรกเกิด - 3 เดือน ช่วงแรกเกิดเด็กอาจทำได้แค่มองเห็นและขยับตัวไปตามธรรมชาติ ฉะนั้น เมื่อเหยียดแขน ขยับขา คุณแม่อาจหาของเล่นปลอดภัยให้ลูกลองสัมผัส จับ กำ ขยำ หรือแม้แต่เวลาที่คุณให้นมลูก แล้วให้ลูกเพลิดเพลินกับการจับ การกำนิ้วหรือจับใบหน้าของแม่ก็ได้ค่ะ 3 - 6 เดือน เมื่อลูกพลิกคว่ำได้ ขณะลูกอารมณ์ดีให้จับลูกนอนคว่ำ ลูกจะหัดชัดคอขึ้น คุณแม่เอาของเล่นวางไว้ด้านหน้า เพื่อลูกจะหัดคว้า และขยับตัวมากขึ้น 6 - 9 เดือน กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ แข็งแรงมากขึ้น สามารถหยิบจับ คว้า กำสิ่งของได้นานขึ้น วิธีง่ายๆ คือ ให้ลูกหยิบ จับ ตักในการกินอาหารเข้าปากเอง เพื่อช่วยบริหารกล้ามเนื้อมือ และช่วยให้สายตากับมือทำงานประสานกัน อาจหาของเล่นเขย่า ของเล่นที่สามารถเข้าปากได้ หรือชวนลูกคืบตัวมาหาค่ะ 9 - 12 เดือน การเคลื่อนไหวของเด็กวัยนี้ดีขึ้นตามลำดับ คลาน ทรงตัวนั่ง และพัฒนาไปสู่การเกาะยืน จนกระทั่งเดินได้เอง…

Read more

ปัญหาทารกหลังคลอดตัวเหลืองเกิดจาก…?

เมื่อแรกคลอดเด็กทารกอาจมีภาวะตัวเหลืองได้ค่ะ ซึ่งอาการดังกล่าวจะพบได้มากที่สุดในเด็กทารกโดยประมาณ 60-70% ทั้งในทารกอายุครรภ์ครบกำหนดและคลอดก่อนกำหนด  ทั้งนี้จะสังเกตเห็นได้จากการมีสารตัวเหลืองที่ผิวหนังหรือเยื่อบุตาขาว สาเหตุของอาการตัวเหลือง เกิดก่อนกำหนด <37 สัปดาห์ หมู่เลือดแม่และลูกไม่เข้ากัน เหลืองจากเม็ดเลือดแดงแตกตัว เช่น พร่องเอนไซม์ G6PD ภาวะเม็ดเลือดแดงมากเกินไป มีรอยฟกช้ำจากการคลอด มีจุดจ้ำแดงที่ผิวหนัง หรือมีการติดเชื้อ มีภาวะลำไส้อุดตัน ท่อน้ำดีอุดตันแต่กำเนิด ฯลฯ การดูแลลูกเมื่อตัวเหลือง ควรป้อนนมบ่อยขึ้นทุก 3 ชั่วโมง ประมาณ (8 มื้อ/วัน) เพื่อให้ลูกน้อยได้ขับถ่ายสารตัวเหลืองออกจากร่างกาย ประเมินภาวะตัวเหลือง โดยสามารถใช้นิ้วกดดูสีผิวที่อยู่ใต้ผิวหนังหรือกดตรงปุ่มกระดูก ทำในห้องที่แสงสว่างเพียงพอ ถ้าพบว่าลูกมีอาการตัวเหลืองมากหรือเพิ่มมากขึ้นให้รีบพาไปหาคุณหมอทันที เพื่อตรวจดูสารตัวเหลืองในร่างกายค่ะ ซึ่งวิธีการรักษาจะมี 3 แบบด้วยกันคือ  การส่องไฟ การเปลี่ยนถ่ายเลือด และการใช้ยาค่ะ ข้อมูลอ้างอิง : บทความ “ปัญหาที่พบบ่อยในเด็กแรกเกิด” โดย  พญ.นภาไพลิน เศรษฐพานิช แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชกรรมทั่วไป ประจำแผนกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ  Mother & Care Free…

Read more

ทำยังไงดีเมื่อลูกแหวะนม ?

ลูกแหวะนมเป็นปัญหาที่พบเห็นได้ทั่วไปค่ะ สาเหตุที่ลูกน้อยชอบแหวะนมบ่อย ๆ เนื่องจากระบบการย่อยของเขายังไม่สมบูรณ์ กล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่อยู่ระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหารอาจยังปิดไม่สนิท การกินนมเยอะก็จะทำให้เกิดอาการได้มากเช่นกัน อาการมักจะเกิดขึ้นระหว่างที่เรอหรือทันทีที่กินนม ซึ่งเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกันเป็นเรื่องปกติ ไม่มีผลกระทบต่อสารอาหารที่ลูกจะได้รับ เพราะแม้ลูกจะแหวะนม แต่ก็ยังเติบโตและแข็งแรงดี การดูแลและป้องกันปัญหาแหวะนม พยายามอุ้มลูกน้อยอย่างอ่อนโยนและจับลูกเรอหลังกินนม วิธีจับลูกเรอ คือให้ลูกอยู่ในท่านั่งตรงบนตัก และใช้มือหนึ่งประคองอกของลูก เอนตัวลูกไปข้างหน้าเล็กน้อย และอีกมือตบหลังลูกเบาๆ หรือลูบเป็นวงกลมเพื่อกระตุ้นการเรอ ใช้วิธีอุ้มพาดบ่า พาเดินเที่ยว โดยทิ้งระยะหลังลูกกินนมอิ่มซักพัก ให้ลูกอยู่ในท่าตั้งตรงและค่อยๆ ลูบหลัง พยายามอย่าเปลี่ยนผ้าอ้อมในช่วงที่ลูกกำลังอิ่ม ให้กินนมทีละน้อย แต่บ่อยครั้งขึ้น จัดให้นอนศีรษะสูงเล็กน้อยในท่าตะแคง การดูแลอย่างถูกวิธีจะช่วยลดปัญหาการแหวะนมของลูกได้ไม่ยากค่ะ ข้อมูลอ้างอิง : บทความ “ปัญหาที่พบบ่อยในเด็กแรกเกิด” โดย พญ.นภาไพลิน เศรษฐพานิช แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกุมารเวชกรรมทั่วไป ประจำแผนกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลเปาโล สมุทรปราการ Mother & Care Free Mag VOL.12 NO.136

Read more

3 step กินข้าวหมดจานหนูทำได้

การสร้างนิสัยให้ลูกกินข้าวหมดจาน เป็นการฝึกให้เด็ก ๆ ตักข้าวแต่พอดี ฝึกเรื่องวินัยการกิน การกินข้าวอย่างใส่ใจไม่เหลือทิ้ง ยังช่วยส่งเสริมให้ลูกเห็นคุณค่าของอาหารด้วยค่ะ การจะฝึกให้ลูกกินได้หมดจาน ทำอย่างไรเรามี 3 วิธีมาบอกต่อ รู้คุณข้าว….เราต้องสอนลูก คุณพ่อคุณแม่รู้จักคุณค่าของข้าวแล้วยังสามารถสอนลูกได้ค่ะ อธิบายให้ลูกฟังว่าข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทย ทั้งมีประโยชน์และมีราคาสูงขึ้นทุกวัน การสอนให้ลูกกินข้าวหมดจานยังใช้เป็นแนวทางในการต่อยอดความคิดกินอยู่แบบพอเพียงให้กับเด็ก ๆ ลดการสูญเสียทรัพยากรโดยเปล่าประโยชน์ ลดการกำจัดขยะลดมลพิษ ช่วยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุของสภาวะโลกร้อนอีกด้วย ฝึกคุณหนูหม่ำหมดจาน step 1 เริ่มจากคุณพ่อคุณแม่ฝึกให้ลูกกินเป็นเวลา โดยกำหนดเวลาอาหารให้ชัดเจน ใส่ใจในสัดส่วนอาหารที่เหมาะสม เปลี่ยนเมนูอาหารให้หลากหลาย เตรียมอาหารให้มีขนาดชิ้นเล็กพอดีคำ เคี้ยวง่าย step 2 ฝึกให้ลูกตักอาหารเอง ฝึกให้ระบุปริมาณอาหารที่ต้องการ หรือรู้จักบอกว่ามากเกินไปหรือน้อยเกินไป ขอเพิ่มหรือขอลดรู้จักความพอดีในการกิน เมื่อกินหมดลูกจะมีความภูมิใจ ไม่กินเหลือ คุณแม่ไม่ต้องบังคับให้กินจนหมดจาน step 3 พ่อแม่ต้องไม่กินอาหารแบบทิ้งขว้าง เป็นตัวอย่างที่ดี อย่าบังคับให้ลูกกินถ้าลูกไม่หิว เด็กมีความอยากอาหารในแต่ละวันแต่ละมื้อไม่เท่ากัน จึงไม่ควรคาดหวังให้ลูกกินได้หมดเหมือนกันทุกมื้อ Tips : ชื่นชมหรือให้กำลังใจลูกทุกครั้งที่ลูกกินจนหมด ช่วยให้ลูกมีแรงจูงใจสร้างนิสัยในการคิดก่อนจะกินก่อนจะใช้มากขึ้น

Read more

4 วิธีเปลี่ยนผักอี๋ ๆ เป็นผักเลิฟ ๆ

เพื่อให้ลูกเป็นเด็กรักผัก เรามีเคล็ดลับง่าย ๆ ที่จะช่วยให้มื้อผักที่เด็ก ๆ เอาแต่ส่ายหน้า มาเป็นอ้าปากอ้ำแต่โดยดีกันค่ะ การกินของลูกจะสนุกหากคุณแม่ไม่เคร่งครัดเกินไป ทำให้เป็นเรื่องท้าทาย น่าลอง ทำด้วยความสุขจาก 4 วิธีนี้ค่ะ 1.สร้างความสนุกกับเรื่องผัก สมมติให้ลูกเป็นฮีโร่ เป็นสัตว์ตัวน้อยที่กินผัก เช่น กระต่ายน้อยชอบแครอต เป็นต้น 2.ดัดแปลงรูปแบบการปรุง นำผักที่คุณแม่อยากให้ลูกลิ้มลอง มาปั่นเป็นเนื้อเดียวกับผลไม้ เช่น แคนตาลูป, แอปเปิ้ล แล้วเติมความสดชื่นด้วยน้ำแข็งค่ะ 3.สลับสับเปลี่ยนให้ลูกลองเมนูผัก ที่ไม่จำเจกับชนิดใดชนิดหนึ่ง เพื่อให้ลูกได้รู้จักกับผักหลากหลายชนิด 4.ให้คำชม แสดงความชื่นชม เป็นรางวัล ลูกจะยิ่งรู้สึกดีกับการกินและชื่นชอบเมนูผัก แรก ๆ ลูกอาจปฏิเสธเมนูที่คุณแม่ทำ อย่าเพิ่งท้อ ค่อย ๆ ให้ทีละนิดทีละหน่อย ทำบ่อยครั้ง สักพักลูกก็จะคุ้นเคยเริ่มถูกใจเมนูผักบ้างแล้วละค่ะ

Read more

5 Do ฝึกหนูให้รู้จักขับถ่าย

การฝึกลูกขับถ่ายต้องอาศัยเวลา ความเข้าใจ ความอดทนของคุณแม่เป็นหลัก มีเทคนิคดี ๆ ที่คุณแม่ควรทำมาฝาก 5 ข้อค่ะ 1.Do : เข้าใจพัฒนาการ การควบคุมการขับถ่าย ขึ้นอยู่กับความพร้อมของกล้ามเนื้อหูรูดและสมองส่วนที่ควบคุมประสาทสัมผัส นักจิตวิทยาเด็กพบว่าช่วงที่ประสบความสำเร็จ คือ ช่วงที่ลูกเริ่มให้ความสนใจในการขับถ่าย จึงจะสามารถฝึกได้ดี 2.Do : ชมเชยและให้กำลังใจ เมื่อลูกบอกความต้องการขับถ่าย ควรชมและให้กำลังใจลูกทุกครั้งที่ลูกบอกได้ก่อน หรือแม้แต่เมื่อลูกบอกหลังจากฉี่หรืออึไปแล้วก็ควรชม เพราะอย่างน้อยเหล่านี้ก็แสดงถึงความรับผิดชอบต่อตนเองของลูก 3.Do : ใส่ชุดถอดง่าย ใช้ผ้าอ้อมกับลูกให้น้อยที่สุด แล้วหันมาใส่กางเกงเอวยางยืดให้ลูกถอดได้ง่าย ลูกจะได้ถอดเองทันเวลา หรือจัดการเปลี่ยนได้เร็วขึ้น การหากางเกงที่ถอดใส่ได้ง่าย จะทำให้ลูกภูมิใจที่ช่วยเหลือตัวเองได้ในเรื่องนี้ค่ะ 4.Do : สังเกตอาการ คอยสังเกตอาการเวลาลูกต้องการขับถ่าย ลูกอาจแสดงสีหน้าท่าทางหรือคำพูด ส่วนใหญ่ลูกจะบอกว่าฉี่ไม่ค่อยทัน ปัสสาวะออกมาแล้วถึงค่อยบอกให้รู้ แต่ถ้าปวดอุจจาระจะบอกทัน 5.Do : ฝึกลูกพึ่งตัวเอง การฝึกให้ลูกเข้าห้องน้ำเอง กดชักโครกเอง ตักราดเอง ถอดเสื้อผ้ากางเกงเอง โดยเตรียมเสื้อผ้ากางเกงที่ใส่ได้ง่ายๆ ให้ลูกด้วย…

Read more

5 Don’t เพื่อการขับถ่ายที่ดี

การควบคุมการขับถ่ายเป็นความสามารถหนึ่งในพัฒนาการของเด็ก ซึ่งต้องอาศัยความพร้อมทางด้านร่างกายและจิตใจ การฝึกจากพ่อแม่ สิ่งแวดล้อมและประสบการณ์ของเด็กค่ะ เด็กแต่ละคนมีความพร้อมที่แตกต่างกัน ฉะนั้นถ้าจะฝึกลูกให้ขับถ่ายได้ดีคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรทำ 5 ข้อนี้นะคะ 1.Don’t : อย่าเร่งรัดหรือบังคับ อย่าใจร้อนเร่งรัดให้ลูกขับถ่ายเร็ว ๆ เพราะถ้ากล้ามเนื้อส่วนที่ถูกควบคุมการขับถ่ายยังไม่พร้อม ก็จะไม่ประสบความสำเร็จยิ่งมีท่าทีบังคับ ลูกก็จะยิ่งกลั้นไว้ ทำให้ลูกเป็นทุกข์ และมีปัญหาในการขับถ่ายตามมา 2.Don’t : อย่าลงโทษ เพราะการลงโทษ การดุว่าหรือตีลูก มีแต่จะทำให้เกิดการต่อต้าน ดื้อรั้น เกิดความกลัว ความโกรธ ไม่ยอมขับถ่าย ควรใช้การให้รางวัล การชมเชย และให้กำลังใจจะดีกว่า 3.Don’t : อย่าคาดหวัง อย่าคาดหวังจริงจังกับการฝึกขับถ่ายจนกว่าลูกจะครบ 2 ขวบ เมื่อถึงวัยนี้เด็กจะควบคุมการขับถ่ายได้ค่อนข้างดี ขับถ่ายเป็นเวลาในช่วงกลางวัน บอกหรือแสดงอาการให้รู้ว่าต้องการขับถ่ายได้ ส่วนการควบคุมการปัสสาวะมักทำได้ในภายหลัง 4.Don’t : อย่าลืมเข้าห้องน้ำ เมื่อลูกดื่มนมก่อนนอน ควรพาเข้าห้องน้ำให้เคยชินเป็นนิสัย หรือไม่ว่าจะเวลาใดก็ตามเมื่อลูกปัสสาวะไปได้สัก 2 ชม. ควรพาเข้าห้องน้ำ เพื่อลดปัญหาปัสสาวะรดกางเกงหรือที่นอน 5.Don’t : อย่าสนใจแต่น้อง…

Read more

5 จุดเสี่ยงเมื่อพาลูกเที่ยวห้างฯ

อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในห้างสรรพสินค้าส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับเด็กค่ะ การสอนลูกให้รู้จักระวังจึงเป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุด มาดูกันว่าเมื่อพาเด็ก ๆ ไปห้างต้องระวังในจุดไหนบ้าง  1. บันไดเลื่อน จูงมือลูกตลอดขณะอยู่บนบันได ให้ลูกยืนหันหน้าไปทิศเดียวกับการเลื่อนของบันได ดูความเรียบร้อยของเสื้อผ้า ชายเสื้อกางเกง กระโปรง เชือกผูกรองเท้าไม่ให้มีส่วนไหนเข้าไปติดในบันไดเลื่อน ไม่ให้ลูกนั่งหรือเล่นขณะที่อยู่บนบันไดเลื่อน แม้แต่การยืนหันหลังก็ไม่ควรทำ เลี่ยงใช้รถเข็นเด็กขึ้นบันไดเลื่อน ใช้ลิฟต์แทนเพราะอาจเกิดอุบัติเหตุรถหลุดมือหรือลื่นไถล 2. ลิฟต์ ต่อคิวรอลิฟต์หากคนแน่นมาก รอรอบต่อไป สอนลูกไม่ให้ยืนพิงประตูลิฟต์ เมื่อเกิดเหตุขัดข้อง เช่น ลิฟต์ค้างต้องมีสติ สังเกตแผงวงจร (บริเวณที่กดปุ่มเลือกชั้น) จะมีปุ่ม Emergency Call บนแผงปุ่มกดภายในตัวลิฟต์ สอนลูกไม่ให้กระโดดโลดเต้น ไม่วิ่งเล่นในลิฟต์ หรือกดปุ่มขึ้นลงเล่น ไม่ยืนใกล้ประตูลิฟต์มากเกินขณะยืนรอ อาจถูกชนจากผู้โดยสารด้านในหกล้มได้ กฎเหล็กที่ต้องท่องจำคือ น้ำท่วม ฟ้าผ่า แผ่นดินไหว และไฟไหม้ ห้ามใช้ลิฟต์ 3. ประตูและพื้น เวลาเดินเข้าออกให้ลูกอยู่ตรงกลางประตู พ่อแม่จับมือยืนอยู่ข้าง ๆ ลูก หรืออุ้มลูก ระวังทางเดินในห้างฯ หรือลานกว้าง อาจมีสิ่งกีดขวาง มีน้ำ ทำให้ลูกสะดุดลื่นล้ม ไม่ปล่อยให้ลูกวิ่งเล่นตามลำพัง…

Read more

ปรุงเมนูผักยังไงให้โดนใจลูก ?

เด็กไม่ชอบกินผักอาจมาจากเหตุผลหลายหลายประการค่ะ เช่น เหนียว เคี้ยวยาก รสชาติไม่อร่อย มีกลิ่นฉุน ฯลฯ แต่ผักก็อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเสียด้วยสิ คุณแม่จึงต้องหาวิธีปรุงและค่อย ๆ หัดให้ลูกเริ่มต้นจากผักที่กินง่าย มีข้อแนะนำสำหรับการให้ลูกหม่ำผักแต่ละประเภทมาฝากค่ะ 1.ผักมีใบ สำหรับเด็กเล็ก นำมาต้มหรือตุ๋นให้สุกแล้วบดละเอียด โตหน่อยอาจซอยเป็นชิ้นเล็ก ๆ โรยหน้าหรือทำเป็นข้าวผัดก็ได้ต้องเลือกผักที่มีรสหวานใบนิ่มเป็นหลักเลยนะคะ 2.ผักมีก้าน หรือแบบเนื้อแข็งต้องทำให้เหมาะสม เช่น ถ้าลูกโตพอมีฟันบดหรือเคี้ยวอาหารได้ ก็ใช้วิธีนึ่งหรือต้ม หั่นเป็นแท่งก็ช่วยให้เด็ก ๆ หยิบจับ กัด ง่ายต่อการชวนลูกกินผัก 3.ผักมีกลิ่นฉุน เด็กหลายคนร้องยี้ ทำหน้าเบ้กับผักที่มีกลิ่น เช่น ผักชี ต้นหอม หรือขึ้นฉ่าย อาจไม่ชื่นชอบผักประเภทนี้มากนัก แนะนำว่า ยังไม่ควรนำมาปรุงอาหารในช่วงเริ่มต้นอาหารเสริมสำหรับเบบี๋ เพราะจะทำเกิดความรู้สึกติดลบกับการกินผัก ลองทำดูนะคะคุณแม่เผื่อเปลี่ยนใจคุณลูกให้เป็นเด็กรักผักค่ะ

Read more