Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

เด็กแรกเกิดถึง 3 ขวบ

7 พฤติกรรมพ่อแม่ทำร้ายลูก

บางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจไม่รู้ตัวว่าสิ่งที่พูดหรือการแสดงออก เป็นการทำร้ายจิตใจลูก เมื่อเกิดขึ้นบ่อยครั้งก็ส่งผลต่อบุคลิกภาพของลูกน้อย มาสำรวจกันค่ะว่าพฤติกรรมไหนเข้าข่ายบ้าง 1.ไม่ให้ทำอะไรเอง พ่อแม่คือผู้จัดการ บริหารทุกสิ่งอย่าง โดยที่ลูกไม่ได้มีส่วนร่วมหรือได้ลงมือทำอะไรเลย การทำแบบนี้เท่ากับเป็นการตัดโอกาสการเรียนรู้ของเด็ก ทำให้โรคขาดทั้งทักษะการช่วยเหลือตัวเอง และความมั่นใจในตัวเอง 2. ไม่ปกป้อง เรื่องความปลอดภัย มีสถิติตัวเลขอุบัติเหตุสูงเพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดจากการไม่ทันระมัดระวัง เช่น ลืมปิดประตูบ้าน ไม่ได้เก็บสิ่งของเป็นอันตรายพ้นมือเด็ก คุยโทรศัพท์หรือใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คเพลินจนลืมดูลูก 3. ไม่ยืดหยุ่น เพราะต้องการให้ทุกอย่างเป๊ะเว่อร์ตลอด ลูกทำไม่ได้ดังใจก็โกรธ ตำหนิ เรื่องเล็ก ๆ ทำให้เป็นเรื่องใหญ่ ลูกจะรู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่า ไม่มีอะไรดี ไม่มีความสามารถ เพราะทำอะไรไม่เคยถูกใจพ่อแม่ 4.เลี้ยงลูกแบบไข่ในหิน การที่แม่ ๆ ปกป้องมากเกินไป วิตกกังวลเกินกว่าเหตุ ห่วงเรื่องอุบัติเหตุ กลัวจะถูกหลอก กลัวลูกไม่สบาย ลูกจึงไม่ค่อยได้ทำอะไร ลูกมักจะเป็นเด็กวิตกกังวลได้ง่าย หวาดกลัวจนไม่มีความสุข และขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง 5. ไม่มีขอบเขต ตามใจลูกทุกอย่าง โดยลืมนึกถึงอะไรควรไม่ควร ด้วยความคิดที่ว่าลูกยังเด็ก ผลคือ เมื่อลูกออกสู่สังคม อยู่ร่วมกับผู้อื่น ก็กลายเป็นเด็กปรับตัวยาก เอาแต่ใจตัวเอง ขาดความอดทน ความสัมพันธ์กับคนอื่นไม่ราบรื่น 6. ไม่ชื่นชม ถ้าคุณพ่อคุณแม่มีแต่คำตำหนิติเตียน ไม่เชื่อว่าลูกจะทำสำเร็จ นอกจากทำร้ายจิตใจลูกแล้วยังทำลายความคิดดี ๆ ของลูก ทำให้ขาดความมั่นใจ ความภูมิใจในตัวเอง 7. ไม่เข้าใจลูก ถ้าคิดว่าทำไมลูกไม่เก่งควรเปลี่ยนวิธีคิดค่ะ ความจริงแล้วเด็กแต่ละคนมีบุคลิก…

Read more

ปัญหาที่พบบ่อยในเด็กแรกเกิด

เมื่อแรกคลอดเด็กทารกมักมีปัญหาที่พบได้บ่อยค่ะ คุณพ่อคุณแม่ศึกษาอาการต่าง ๆ เหล่านี้ไว้เพื่อเตรียมพร้อมในการดูแลลูกรักค่ะ ภาวะตัวเหลือง พบได้มากที่สุดในเด็กทารกโดยประมาณ 60-70% ทั้งในทารกอายุครรภ์ครบกำหนดและคลอดก่อนกำหนดทุกราย ทั้งนี้จะเห็นสารตัวเหลืองที่ผิวหนังหรือเยื่อบุตาขาว สาเหตุ เกิดก่อนกำหนด <37 สัปดาห์ หมู่เลือดแม่และลูกไม่เข้ากัน เหลืองจากเม็ดเลือดแดงแตกตัว เช่น พร่องเอนไซม์ G6PD ภาวะเม็ดเลือดแดงมากเกินไป มีรอยฟกช้ำจากการคลอด มีจุดจ้ำแดงที่ผิวหนัง หรือมีการติดเชื้อ มีภาวะลำไส้อุดตัน ท่อน้ำดีอุดตันแต่กำเนิด ฯลฯ การดูแล ควรป้อนนมบ่อยขึ้นทุก 3 ชั่วโมง ประมาณ (8 มื้อ/วัน) เพื่อให้ลูกน้อยได้ขับถ่ายสารตัวเหลืองออกจากร่างกาย ประเมินภาวะตัวเหลือง โดยสามารถใช้นิ้วกดดูสีผิวที่อยู่ใต้ผิวหนังหรือกดตรงปุ่มกระดูก ทำในห้องที่แสงสว่างเพียงพอ ถ้าพบว่า ลูกมีอาการตัวเหลืองมากหรือเพิ่มมากขึ้นให้มาพบหมอทันที เพื่อตรวจดูสารตัวเหลืองในร่างกาย การรักษาตัวเหลือง ในทารกแรกเกิดทำได้ 3 แบบคือ การส่องไฟ, การเปลี่ยนถ่ายเลือด และการใช้ยา อาการแหวะนม สาเหตุ ที่ลูกน้อยชอบแหวะนมบ่อย ๆ เนื่องจากระบบการย่อยยังไม่สมบูรณ์ กล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่อยู่ระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหารอาจยังปิดไม่สนิท ประกอบกับการกินนมเยอะก็จะทำให้เกิดอาการได้มาก…

Read more

7 วิธีฝึกให้ลูกเก็บของเล่นเอง

ของเล่นของลูกกระจัดกระจายทั่วบ้านราวกับระเบิดลงทุกวัน การเก็บของเล่นกลายเป็นอีกงานหนึ่งที่คุณแม่ต้องจัดการ การสอนให้ลูกเก็บของเล่นเองเป็นการสอนให้เขาเรียนรู้หลายด้านค่ะ ทั้งระเบียบวินัย การดูแลรักษาของ ความรับผิดชอบ การทำอะไรเองเป็นยังช่วยให้ลูกพึ่งพาตัวเองได้ตอนโตการสอนลูกไม่ยากค่อย ๆ ฝึกเขาค่ะ 1.ช่วยกันเก็บก่อน เด็กเล็กอาจเก็บคนเดียวไม่ไหว เพราะยากเกินความสามารถ คุณแม่ชวนลูกเก็บก่อนค่ะ ทำให้การเก็บของเล่นเป็นเรื่องสนุก เป็นเกมอย่างหนึ่งที่ต้องเล่นปิดท้ายเสมอ 2.จัดเก็บเป็นหมวดหมู่ ไม่ต้องแยกหลายหมวดหมู่เกินไปลูกจะงง การแยกเก็บเป็นหมวดหมู่ทำให้ไม่ต้องเก็บของเล่นคราวละมาก ๆ เพราะลูกมักจะเลือกชิ้นที่ตัวเองชอบ นอกจากนี้ยังฝึกการแยกแยะให้ลูก คุณแม่ใช้ลิ้นชัก ลังพลาสติก หรือถังพลาสติกก็ได้ค่ะ แยกสีแต่ละลังให้ชัดเจนตกแต่งหรือแปะสติ๊กเกอร์ อาจสมมติแต่ละถังเป็นพี่ฮิปโป พี่ปลาวาฬ พี่จระเข้ ฯลฯ หิวข้าวแล้วต้องป้อนของเล่นให้หม่ำก่อน 3.เก็บของเล่นเป็นเวลา ตอนเย็นก่อนลูกอาบน้ำหม่ำข้าวเย็น พยายามให้ลูกเก็บในเวลาเดิมทุกวัน เพื่อสร้างความคุ้นเคย และเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวัน ความเคยชินช่วยให้ลูกทำได้โดยอัตโนมัติ 4.หลอกล่อด้วยกิจกรรมสนุก ลูกกำลังสนุกกับการเล่น แต่คุณแม่มักจะให้เขาเก็บของเพื่อไปทำกิจกรรมน่าเบื่อ ไม่มีใครอยากทำหรอกค่ะ เพราะฉะนั้นกิจกรรมต่อจากการเก็บของเล่นควรมีความสนุกเพื่อกระตุ้นให้ลูกเก็บค่ะ 5.เล่านิทาน คุณแม่อาจจะหาซื้อหนังสือนิทานหรือแต่งนิทานเล่าให้ลูกฟัง มีตัวเอกเป็นตัวละครหรือสัตว์น่ารักที่ลูกชอบ เล่าถึงตัวละครตัวโปรดนิสัยดี มีระเบียบ เล่นของเล่นแล้วเก็บก็ได้ค่ะ 6. บ้านต้องเป็นระเบียบด้วย ลูกเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว มองไปทางไหนทุกอย่างเข้าที่เข้าทาง คุณแม่ใช้ของแล้วเก็บเข้าที่ ลูกก็จะเรียนรู้สิ่งนี้ไปเอง 7.ให้รางวัลเมื่อลูกทำได้ดี บางครั้งใช้รางวัลล่อใจได้บ้างค่ะ ถ้าเขาทำได้ดี อาจจะเป็นการชมเชยหรือให้ตามข้อเรียกร้องบางอย่างเป็นพิเศษ เวลาเจอคนอื่นคุณแม่พูดชมเขาให้คนอื่นฟังด้วยนะคะ ลูกจะภูมิใจและพยายามทำดีต่อไป อดทนใช้เวลาสักนิด ฝึกลูกอย่างสม่ำเสมอ เขาจะเรียนรู้การเก็บของเล่นให้เป็นระเบียบได้ในที่สุดค่ะ

Read more

พาลูกไปเรียนว่ายน้ำเมื่อไหร่ดี

สาเหตุอันดับ 1 ของการเสียชีวิตในเด็กก็คืออุบัติเหตุจมน้ำ คุณพ่อคุณแม่หลายคนทราบดีจึงต้องการให้ลูกว่ายน้ำเป็นเพื่อความปลอดภัยของลูก แต่อายุเท่าไหร่จึงจะเหมาะสมในการเรียนว่ายน้ำ ควรจะเริ่มตั้งแต่วัยเบบี๋เลยหรือเปล่า เพราะเรามักจะเห็นภาพหรือคลิปหนูน้อยในวัยทารกเริ่มหัดว่ายน้ำกันแล้ว เริ่มตอน 4 ขวบ The American Academy of Pediatrics หรือสมาคมกุมารแพทย์สหรัฐฯ มีคำแนะนำว่า เด็กในวัย 4 ขวบขึ้นไปจึงเหมาะกับการเริ่มต้นเรียนว่ายน้ำเนื่องจากในวัยนี้พัฒนาการของเด็กจะมีความพร้อม สำหรับเด็กในวัยเบบี๋หรืออายุน้อยกว่า 4 ขวบก็ไม่ถึงกับห้ามเรียนว่ายน้ำ เพียงแต่น่าเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัยของลูก เพราะว่าเด็กเล็กมีโอกาสจมน้ำได้ง่าย หมอนอกจากพัฒนาการทางร่างกายยังไม่โตเพียงพอแล้ว การตัดสินใจช่วยเหลือตัวเองก็ยังไม่ดีนัก และยังเป็นวัยที่ยังสื่อสารได้ไม่ดีพอจึงอาจไม่มีความเข้าใจในการเรียนได้เท่ากับเด็กที่โตกว่า นอกจากนี้เด็กเล็กก็มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายเนื่องจากภูมิต้านทานยังต่ำอยู่ค่ะ ก่อน 4 ขวบฝึกความคุ้นเคย เด็กเล็กก่อนวัย 4 ขวบสามารถสร้างความคุ้นเคยให้ลูกเมื่ออยู่ในน้ำได้ค่ะ อาจไม่ใช่การสอนว่ายน้ำแบบจริงจังแต่เป็นการสร้างบรรยากาศให้ลูกสนุกกับการเล่นน้ำ และสอนเรื่องความปลอดภัยให้เขา อาจจะชวนลูกเล่นน้ำ ให้ลูกใส่ห่วงยางหรือเสื้อชูชีพลอยตัวเล่นในน้ำ หรือสอนให้ลูกเล่นเล่นตีขาในน้ำ ในขณะเล่นถึงแม้ว่าจะอยู่ในชูชีพแล้วก็ตาม ลูกต้องอยู่ในสายตาตลอดเวลา และต้องอยู่ในระยะที่คุณพ่อคุณแม่สามารถคว้าจับตัวเขาได้ทันเท่านั้น อย่าปล่อยให้ลูกอยู่ห่างตัวเกินกว่านี้ เพราะอุบัติเหตุสามารถเกิดได้ในชั่วพริบตาค่ะ มีอีกข้อหนึ่งที่ควรระวังก็คือ อย่าปล่อยให้พี่ที่อายุโตกว่าดูแลน้องเล็กกันเองนะคะ เพราะความสามารถในการช่วยเหลือของเด็กเมื่อเกิดอุบัติเหตุจมน้ำจะไม่ดีเท่าผู้ให ญ่ ไม่ว่าในวัยไหนก็ตาม คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับความปลอดภัยมาเป็นอันดับแรกเสมอค่ะ

Read more

1 ขวบแล้วไม่ยอมกินข้าวทำอย่างไรดี ?

Q : ลูกอายุ 1 ปี 1 เดือน กินแต่นม เวลาป้อนข้าวก็ไม่กินเลยค่ะ เคยใช้วิธีให้กินนมน้อยลง แต่ก็จะร้องงอแงมากไม่ยอมกินข้าวอยู่ดี จะมีวิธีแก้ไขอย่างไรคะ A : ปัญหาลูกไม่กินข้าวเป็นปัญหาสำคัญที่พบในเด็กวัยตั้งแต่ 1 ปี ไปจนถึง 3 – 4 ปี หรือช่วงวัยก่อนเข้าโรงเรียน ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องอาศัยความเข้าใจในพฤติกรรมเด็ก ความอดทน และความร่วมมือของคุณพ่อ คุณแม่ในการแก้ปัญหา โดยการแก้ปัญหานั้นเริ่มต้นที่คุณแม่ไม่ควรเครียด กังวลกับการกินของลูกมากเกินไป ควรสร้างบรรยากาศการกินให้สบายๆ โดยให้นั่งกินร่วมโต๊ะกับสมาชิกในครอบครัว ไม่มีสิ่งใดมาดึงความสนใจ เช่น ทีวี ของเล่น ชวนลูกพูดคุยให้เพลิน ไม่บังคับขู่เข็ญ ไม่ยัดเยียด ไม่เดินตามป้อนอาหาร หรือติดสินบนลูกเพื่อให้กิน เพราะลูกจะต่อต้านไม่ยอมกิน หรือ ในบางรายจะจับจุดได้ว่า การที่เขาไม่กินข้าว จะได้รับความสนใจจากคุณแม่มากขึ้น แล้วนำมาเป็นข้อต่อรองในคราวหลังได้ ควรให้ลูกได้เลือก และ ควบคุมการกินของเขาเอง ตักกินเอง จะเลอะเทอะไปบ้างก็ไม่เป็นไรค่ะ แต่อย่าใช้เวลากินบนโต๊ะอาหารนานเกินไป ไม่ควรเกิน 30 นาที เพราะจะทำให้ลูกมีความรู้สึกว่าช่วงเวลามื้ออาหารเป็นช่วงที่น่าเบื่อ และ มีความรู้สึกว่าตนเองกำลังถูกบังคับอยู่ ในแต่ละมื้อนั้นควรจัดให้อาหารมีลักษณะสีสัน…

Read more

ไมอีลินคืออะไร สำคัญอย่างไรกับพัฒนาการสมอง พร้อมเทคนิคกระตุ้นการสร้างไมอีลินตามช่วงวัยที่คุณแม่ยุคใหม่ห้ามพลาด

คุณแม่รู้หรือไม่ว่า 1,000 วันแรกเป็นช่วงที่สมองของลูกสร้างไวที่สุด ซึ่งไมอีลินมีการสร้างมากตั้งแต่ทารกอยู่ในท้องแม่ช่วง 3 เดือนก่อนคลอดหรือในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสสุดท้าย และสร้างต่อเนื่องในช่วงวัยเด็ก ดังนั้นการสร้างไมอีลินจึงสำคัญในวัยเด็ก เพราะเมื่อเติบโตถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้นแล้ว กระบวนการสร้างนี้ก็จะลดลงเป็นอย่างมาก เรามารู้จักสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างสมองของลูกเพื่อให้ลูกฉลาดสมวัยกันเลยค่ะ ไมอีลิน กับความสำคัญต่อพัฒนาการสมอง เนื่องจากไขมันเป็นส่วนประกอบหลักของไมอีลินในสมอง1 เส้นใยประสาทที่มีไมอีลิน จะมีการส่งสัญญาณประสาทเร็วกว่าที่ไม่มีไมอีลินถึง 60 เท่า2 แม่ ๆ พอจะเห็นความสำคัญของไขมันต่อการสร้างไมอีลินบ้างแล้วหรือยังคะ? คุณพ่อคุณแม่มีส่วนอย่างมากในการกระตุ้นการสร้างไมอีลิน ด้วยการให้ลูกรับประทานอาหารครบ5 หมู่และหลากหลายควบคู่กับการเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิด คอยฝึกฝนหรือกระตุ้นพัฒนาการทางประสาทสัมผัสทั้งห้าของลูกอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงอายุ ร่วมกับการดูแลให้ลูกได้รับสารอาหารครบถ้วนในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เช่น อาหารหลัก 5 หมู่ โปรตีน คาร์โบไฮเดตและไขมัน สารอาหารกระตุ้นการสร้างไมอีลิน สารอาหาร เช่น DHA, AA, Choline, Lutein และสฟิงโกไมอีลิน ล้วนมีส่วนช่วยกระตุ้นการสร้างไมอีลินทั้งสิ้น คุณแม่ควรให้ลูกได้รับสารอาหารที่หลากหลาย เพื่อพัฒนาการที่ดีสมวัย รวมถึงช่วยกระตุ้นการสร้างไมอีลินในสมองได้อย่างมีคุณภาพ กระตุ้นการสร้างไมอีลินด้วยการเลี้ยงดูที่เหมาะสมตามช่วงวัย4 การสร้างปลอกไมอีลินเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นไม่พร้อมกันในสมองแต่ละตำแหน่ง ดังนั้นการจะกระตุ้นให้สมองมีการสร้างปลอกไมอีลินอย่างเต็มศักยภาพจึงแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงอายุ และควรจะกระตุ้นอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการตามวัยของลูก 
 พัฒนาการวัย 0 - 1 ปี ในช่วงขวบปีแรกของชีวิตเป็นวัยที่ลูกน้อยกำลังพัฒนาด้านการรับสัมผัส การมองเห็น การรับเสียง และเรียนรู้ด้านภาษา คุณพ่อคุณแม่สามารถส่งเสริมพัฒนาการลูกวัยนี้ได้โดยการกอดสัมผัสตัวลูกบ่อย ๆ ซึ่งก็คือการให้ความรักความอบอุ่นกับลูกนั่นเอง การเลือกของเล่นให้ลูกอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการตามวัยอย่างของเล่นที่มีสีสันสดใสจะช่วยกระตุ้นวงจรประสาทการมองเห็น นอกจากนี้การพูดคุยกับลูกหรือใช้เสียงดนตรีเล่นกับลูกจะเป็นการกระตุ้นวงจรประสาทด้านการรับเสียงและภาษา พัฒนาการวัย 1 -…

Read more

3 ที่ควรปลอดเทคโนโลยี

ปัจจุบันเด็ก ๆ เข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายมาก ทำให้พ่อแม่ควบคุมระยะเวลาและความถี่ในการใช้ได้ยาก แล้วเราจะทำอย่างไรให้สามารถจำกัดเวลาใช้ของลูกได้ องค์กรไม่แสวงหากำไรที่ทำงานด้านสื่ออย่าง common sense media เสนอแนะว่า สถานที่ 3 แห่งนี้ควรปลอดเทคโนโลยีค่ะ 1.โต๊ะอาหาร ก่อนจะรับประทานอาหาร ทุกคนทั้งพ่อแม่และเด็ก ๆ ควรหยุดใช้โทรศัพท์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ปิดหรือเก็บให้เรียบร้อย บนโต๊ะอาหารเราจะพูดคุยกัน ใช้เวลาร่วมกัน แทนการหมกมุ่นอยู่กับหน้าจอ 2.ห้องนอน งานวิจัยหลายชิ้นพบว่า การนอนที่ดีต่อสุขภาพควรจะอยู่ในสภาวะที่ปลอดแสง สี เสียง การให้เด็ก ๆ นอนหลับสนิทจะส่งผลให้สมองปลอดโปร่ง พร้อมสำหรับการเรียนรู้ในวันรุ่งขึ้น ฉะนั้นก่อนนอนก็ควรงดดูแท็บเล็ตหรือโทรศัพท์มือถือ หันมาอ่านนิทานก่อนนอนกับลูกดีกว่าค่ะ 3.รถยนต์ การใช้โทรศัพท์ในรถสำหรับพ่อแม่ที่เป็นคนขับอาจทำให้เกิดอันตรายได้ ส่สวนลูกก็ควรได้ใช้เวลาในรถไปกับการพูดคุยกับพ่อแม่ มากกว่าการเล่นเกมหรือดูการ์ตูน ข้อสำคัญประการหนึ่งก็คือ การเป็นตัวอย่างที่ดีจะช่วยให้ลูกปฏิบัติตามได้ง่ายกว่าการอบรมสั่งสอนเพียงอย่างเดียวค่ะ

Read more