Warning: Undefined array key "action" in /var/www/wp-content/themes/kicker-child/functions.php on line 2
เด็ก 3 ขวบขึ้นไป | motherandcare - Part 5
Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

เด็ก 3 ขวบขึ้นไป

7 วิธีป้องกันผิวแห้งให้ลูกในหน้าหนาว

หน้าหนาวมาเยือนทีไรลูกน้อยมักจะมีปัญหาผิวแห้งแตกเนื่องจากผิวเด็กอ่อนบางมีโอกาสแห้งแตกง่ายหากผิวลูกแห้งมากเป็นขุยแตกและรู้สึกคัน เมื่อคันลูกก็จะเกา ทำให้มีโอกาสเกิดปัญหาผิวหนังอักเสบติดเชื้อได้ mother&care มีเคล็ดลับดี ๆ ในการปกป้องผิวลูกน้อยมาฝากค่ะ ให้ลูกดื่มน้ำเพิ่มขึ้นเพื่อคงความชุ่มชื้นของผิวหนังเอาไว้ การใช้น้ำอุ่นอาบน้ำให้ลูกไม่ควรใช้น้ำอุ่นจัดเกินไปเพราะจะเป็นสาเหตุทำให้ผิวลูกแห้งมาก เลี่ยงการใช้ฟองน้ำหรือผ้าเช็ดตัวขัดถูผิวลูก หยดน้ำมันมะกอกลงในน้ำอาบให้ลูกเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น ทา Babyครีมเพิ่มความชุ่มชื้นให้ลูก หลังอาบน้ำ สวมเสื้อผ้าเพื่อความอบอุ่นและช่วยปกป้องผิวให้ลูก เลี่ยงการพาลูกออกไปสัมผัสกับแสงแดดจัดดูแลครบทุกข้อหนาวนี้ผิวลูกก็ไม่แห้งแตกแล้วค่ะ

Read more

ฟังลูกเล่านิทาน ส่งเสริมพัฒนาการ 5 ด้าน

เด็ก ๆ มักจะชอบฟังนิทานก่อนนอน และบางครั้งยังชอบเป็นคนเล่าให้คุณพ่อคุณแม่ฟัง การฟังลูกเล่านิทานดีต่อพัฒนาการของลูกในหลายด้านค่ะ มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง 1.พัฒนาทักษะด้านภาษา Dr. Frederick Zimmerman นักวิจัยจาก UCLA School of Public Health แห่ง California กล่าวว่าเด็กที่เล่าเรื่องราวต่าง ๆ ให้พ่อแม่ฟังจะมีพัฒนาการทางภาษาเร็วขึ้น 6 เท่า เมื่อเทียบกันการเป็นคนฟังนิทานเพียงอย่างเดียว 2.เสริมจินตนาการ การให้ลูกเล่านิทานด้วยตัวเขาเองจะช่วยเสริมทักษะด้านจินตนาการให้ลูก ให้ลูกเล่าอย่างอิสระ อาจจะแต่งเติมเนื้อหาตามใจชอบหรือแต่งเรื่องขึ้นเอง คุณแม่อาจจะกระตุ้นเขาด้วยกันซักถามระหว่างลูกเล่า 3.เรียบเรียงความคิด การที่เด็กคนนึงจะเล่าเรื่องราวออกมาเขาจะต้องเรียบเรียงความคิดให้เป็นระบบ ตั้งแต่การวางเรื่องว่าจะให้ดำเนินไปอย่างไร มีตัวละครกี่ตัว แต่ละตัวมีบทบาทอะไรบ้าง ฯลฯ 4.ฝึกความจำ การพูดออกมาจะช่วยกระตุ้นความจำได้มากขึ้น ในการเล่านิทานลูกจะได้ฝึกการจดจำเรื่องราวและคำศัพท์ต่าง ๆ 5.สร้างความมั่นใจ เมื่อคุณพ่อคุณแม่สนใจในสิ่งที่ลูกเล่าและชื่นชมเขา ลูกจะรู้สึกค่อย ๆ พัฒนาความมั่นใจในตัวเองขึ้นมา การเล่านิทานของเด็กอาจเป็นเรื่องเล็ก ๆ แต่มีประโยชน์เกินความคาดหมายทีเดียวค่ะ

Read more

ระวังอุบัติเหตุ! ดูแลความปลอดภัยลูกน้อยวันลอยกระทง

เทศกาลวันลอยกระทงเป็นช่วงเวลาที่เด็กต่ำกว่าอายุ 15 ปีมักเกิดอุบัติจมน้ำเสียชีวิตบ่อยครั้ง และเกิดขึ้นทุกปี นอกจากการจมน้ำแล้วคุณพ่อคุณแม่ยังต้องระวังอุบัติเหตุและการพลัดหลงค่ะ ป้องกันอุบัติเหตุจมน้ำ ดูแลเด็กไม่ให้คลาดสายตา อุ้มหรือจูงมือไว้ตลอดเวลา เมื่อพาลูกไปยังจุดใกล้แม่น้ำ คลอง บึง ฯลฯ เพิ่มความระวังให้มากขึ้น ลูกโตแล้วก็ไม่ควรปล่อยให้เด็ก ๆ ไปลอยกระทงกันตามลำพัง ป้องกันลูกพลัดหลง เขียนชื่อที่อยู่เบอร์โทรศัพท์ให้ลูกติดตัวไว้ สอนว่าถ้าพลัดหลงอย่าเดินหายไปไหนให้อยู่กับที่ ให้ลูกจำเบอร์โทรศัพท์ของพ่อแม่ ถึงแม้จะถึงวัยที่คุณแม่ให้พกโทรศัพท์มือถือได้แล้วอาจมีโอกาสทำหายได้ จูงมือลูกอุ้มไว้ตลอดเวลาเมื่ออยู่ในบริเวณที่คนหนาแน่น ไม่ปล่อยลูกไว้กับพี่ที่ยังเป็นเด็กด้วยกัน ให้ลูกพกนกหวีดและสอนให้ใช้เพื่อขอความช่วยเหลือ ป้องกันอันตรายจากพลุ ประทัด ดอกไม้ไฟ ห้ามลูกเล่นพลุ ประทัด และดอกไม้ไฟ ผู้ใหญ่ก็ไม่ควรซื้อมาเล่นเองเพราะจะเป็นตัวอย่างให้เด็กทำตาม ห้ามลูกแอบเก็บพลุ ประทัด ดอกไม้ไฟ ไว้ในกระเป๋าเสื้อ กางเกง หรือที่มีอากาศร้อน แสงแดดส่องเพราะอาจเกิดการเสียดสีและระเบิดขึ้นได้

Read more

แน่ใจว่าลูกไม่ได้กินเค็มเกิน ?

รับทราบมาบ่อย ๆ ว่าการกินเค็มหรือกินโซเดียมมากส่งผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพในระยะยาว ทั้งโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต กระดูกพรุน อัมพฤกษ์อัมพาต ฯลฯ  คุณพ่อคุณแม่อาจมั่นใจว่าลูกไม่ได้กินเค็มเกินไป ดูตัวเลขเหล่านี้แล้วอาจเปลี่ยนความคิดใหม่ มาดูปริมาณโซเดียมในอาหารจานเดียวกันก่อน สุกี้น้ำ 1,560 มิลลิกรัม บะหมี่น้ำหมูแดง 1,480 มิลลิกรัม เส้นใหญ่เย็นตาโฟ 1,417 มิลลิกรัม ผัดซีอิ๊ว 1,352 มิลลิกรัม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 977 มิลลิกรัม กระทรวงสาธารณสุขแนะนำว่าผู้ใหญ่ไม่ควรกินเกลือเกินวันละ 1 ช้อนชา (เกลือ 1 ช้อนชา =โซเดียม 2,000 มิลลิกรัม) แล้วเด็กล่ะ ? 6-11 เดือน 175-550 มิลลิกรัม/วัน (ประมาณ ¼ ช้อนชา) 1-3…

Read more

ระวังสารกันบูดบ้างหรือเปล่า ?

สารกันบูดมีอยู่ในอาหารหลายประเภท คุณแม่อาจนึกไม่ถึงหรือลืมนึกไปว่าอาหารประเภทนี้ก็ใส่สารกันบูดกับเขาด้วย สารกันบูดหรือสารกันเสียมีประโยชน์สำหรับผู้ที่ค้าขายอาหาร เพราะช่วยยืดอายุอาหารให้อยู่นาน บูดเสียช้า ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ต่าง ๆ ซึ่งมีข้อกำหนดเอาไว้ว่าไม่ให้ใส่เกิน 1,000 มิลลิกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม มีการใส่สารกันบูดในอะไรบ้าง อาหาร : เช่น ขนมจีน เส้นก๋วยเตี๋ยว ผักดอง หมูยอ อาหารประเภทแฮม ไส้กรอก น้ำพริก ฯลฯ ขนม : เช่น ขนมปัง โดนัท เยลลี่ แยม ผลไม้ดอง ผลไม้แช่อิ่ม ผลไม้อบแห้ง ข้าวเกรียบกุ้ง ขนมเปี๊ยะ โรตีสายไหม ขนมแบบแห้ง ฯลฯ เครื่องดื่ม : น้ำอัดลม น้ำหวาน *อาหารบางอย่างก็ใส่สารกันบูดมากกว่า 1 ชนิด รวมแล้วอาจจะเกินกำหนด *ถ้ารอบตัวลูกมีแต่อาหารที่ใส่สารกันบูดให้เลือกรับประทาน ก็เท่ากับว่ามีโอกาสรับปริมาณสารกันบูดเกิน อันตรายถ้ากินสารกันบูดเกิน เกิดอาการแพ้…

Read more

ระวังอันตรายถ้าลูกนอนกรน !

การนอนเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเจริญเติบโตของวัยเบบี๋ทั้งด้านร่างกาย สมอง อารมณ์ และจิตใจ แต่ถ้าลูกมีอาการนอนกรนจนเกิดภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น ทำให้หยุดหายใจขณะหลับจะเกิดปัญหาสุขภาพตามมาค่ะ นอนกรนจากภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea Syndrome : OSAS) มักเกิดจากช่องคอที่แคบลงและปิดในระหว่างหลับ ทำให้เด็กมีอาการหายใจเสียงดัง หายใจหอบ สะดุ้ง สำลัก เวลาหายใจเข้าหน้าอกจะบุ๋มขณะหลับ เด็กที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับกล้ามเนื้อจะหย่อนตัวมาก ทำให้ช่องคอแคบมากกว่าปกติจนกระทั่งช่องคอปิด อาจได้ยินเสียงหายใจเฮือกเสียงดัง เมื่อเริ่มกลับมาหายใจอีกครั้ง การหายใจเช่นนี้อาจกระตุ้นให้ตื่นเป็นช่วงสั้น ๆ  และอาจทำให้เป็นโรคหัวใจได้ เนื่องจากมีภาวะขาดออกซิเจน  อาการเป็นแบบนี้ เด็กจะนอนหลับในท่าทางที่ผิดปกติ กรนเสียงดังเป็นประจำ หยุดหายใจสั้น ๆ ขณะหลับแล้วตามด้วยเสียงกรน หายใจหอบ ตื่นกลางคืน เหงื่อออกมากขณะหลับ นอนกระสับกระส่าย ปลุกตื่นยาก หลังตื่นนอนอยากจะนอนหลับต่อ ปวดศีรษะระหว่างวันหรือหลังตื่นนอน หงุดหงิดง่าย โมโหง่าย ผลเสีย เมื่อโตจะมีปัญหานอนหลับยาก มักหลับขณะเรียน การเจริญเติบโตไม่ดี มีปัญหาพฤติกรรม ปัสสาวะรดที่นอน อาจมีสมาธิสั้น และซนกว่าปกติ เป็นต้น ถ้าลูกมีอาการดังกล่าวควรปรึกษากุมารแพทย์และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคจากการนอนหลับค่ะ  ข้อมูลอ้างอิง : ศูนย์นิทราเวช …

Read more

ทำไมต้องดูแลตั้งแต่ฟันซี่แรกของลูก ?

การดูแลสุขภาพฟันของลูกตั้งแต่ฟันซี่แรกขึ้นเพื่อสร้างนิสัยการดูแลฟันตั้งแต่เขายังเล็ก และป้องกันปัญหาในระยะยาวที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ฟันผุ เหงือกอักเสบ ฯลฯ ฟันแท้สำคัญเพราะลูกต้องใช้ไปจนตลอดชีวิต และสุขภาพฟันที่ดีมีผลต่อการกินอาหารเป็นอย่างมากค่ะ ดูแลฟันสำคัญสุด ๆ เด็กเล็กเป็นวัยที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาฟันผุสูง โดยเฉพาะช่วงขวบปีแรก ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กยังมีการดูดนมค่อนข้างบ่อย จึงมีความถี่ที่น้ำนมจะสัมผัสกับเนื้อฟันได้สูง หากพ่อแม่ ผู้ปกครองไม่สามารถทำความสะอาดฟันให้ลูกได้ จะมีโอกาสเกิดฟันผุได้ง่าย กว่าจะรู้ก็ผุแล้ว ฟันผุในระยะเริ่มแรกมักไม่แสดงอาการ พ่อแม่จึงไม่ทราบว่า ลูกเริ่มมีฟันผุแล้ว จนกระทั่งรอยผุลุกลามใหญ่ขึ้นจนทะลุโพรงประสาทฟัน ส่งผลให้ติดเชื้อที่ฟันและมีอาการปวดฟัน หรือมีตุ่มหนองที่เหงือก รักษายากและแพง การรักษาฟันที่มีการผุลุกลามมากแล้วนั้นมักต้องฉีดยาชาร่วมกับการถอนฟัน หรือรักษารากฟัน ซึ่งเป็นการรักษาที่ต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูง นอกจากนี้ยังทำให้เด็กเกิดทัศนคติที่ไม่ดีต่อการทำฟันและเข้าพบทันตแพทย์อีกด้วย วิธีดูแลฟันลูก 1.พาลูกไปพบทันตแพทย์เพื่อตรวจช่องปาก และป้องกันฟันผุด้วยการเคลือบฟลูออไรด์หรือเคลือบหลุ่มร่องฟัน หากคุณหมอพบรอยผุตั้งแต่ระยะแรกก็จะทำการอุดฟันแบบที่ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด นอกจากนี้หากพบความผิดปกติอื่น ๆ จะได้รักษาเร็วก่อนลุกลาม 2.พาลูกไปพบทันตแพทย์ตั้งแต่ฟันซี่แรกขึ้น หรืออย่างช้าอายุไม่เกิน 1 ปี เพื่อรับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพปากและฟันเหมาะสม ลูกเล็กไม่ยอมแปรงฟันทำยังไงดี 1.ฝึกให้ลูกเคยชินกับการแปรงสีฟัน เช่นให้ถือเล่น หรือลองใช้แปรงสีฟันเข้าปาก แต่ต้องเป็นแปรงที่เหมาะสมกับช่วงวัย รวมถึงการเลือกแปรงสีฟันที่มีสีสันสดใส 2.ควรทำเป็นลักษณะของกิจกรรมครอบครัวโดยการที่คุณพ่อ คุณแม่ทำให้ลูกเห็นและให้ลูกทำตามไปพร้อมๆกัน 3.สร้างบรรยากาศสนุกสนาน ร้องเพลงขณะแปรงฟันด้วยกัน เด็กเล็กมักเป็นวัยที่ไม่ค่อยให้ความร่วมมือในเรื่องแปรงฟัน คุณพ่อคุณแม่พยายามสักนิด ใช้หลาย…

Read more

ดูแลลูกสมาธิสั้นอย่างไร ?

โรคสมาธิสั้นมีสาเหตุและวิธีดูแลรักษาอย่างไรมาดูกันค่ะ สาเหตุของสมาธิสั้น โรคสมาธิสั้นเกิดจากความผิดปกติของสมอง คือ มีปริมาณสารเคมีบางตัวในสมอง (Dopamine, Noradrenaline) น้อยกว่าเด็กปกติ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับหลายปัจจัย เช่น กรรมพันธุ์ การได้รับพิษสารตะกั่ว การสูบบุหรี่ของมารดาระหว่างตั้งครรภ์ การคลอดก่อนกำหนด ภาวะแทรกซ้อนอื่นระหว่างตั้งครรภ์ เป็นต้น ส่วนการเลี้ยงดู การดูทีวี การเล่นเกมส์ไม่ได้เป็นสาเหตุโดยตรงของโรคสมาธิสั้น แต่อาจส่งผลให้อาการสมาธิสั้นมากขึ้นได้ การดูแลรักษาเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น เป้าหมายของการรักษาโรคสมาธิสั้นคือการช่วยให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมตัวเองให้มีความตั้งใจเรียนและทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งอาจต้องได้รับการรักษาหลายด้านร่วมกัน 1.การรักษาด้วยยา 2.การปรับพฤติกรรมและการช่วยเหลือด้านจิตใจสำหรับเด็กและครอบครัว เช่น จัดทำตารางเวลากิจกรรมในแต่ละวัน สั่งงานทีละขึ้นตอน ให้เด็กพูดทวนคำสั่ง จัดหาสถานที่ที่เหมาะสมในการทำการบ้านโดยไม่มีสิ่งรบกวน ลดการลงโทษหากพฤติกรรมที่ไม่ดีเกิดจากอาการของโรค และเพิ่มการชื่นชมเมื่อเด็กมีพฤติกรรมดี เป็นต้น 3.การดูแลจากทางโรงเรียน เช่น จัดที่นั่งใกล้โต๊ะครู ห่างจากประตู หน้าต่าง เขียนการบ้านบนกระดานให้ชัดเจน หลีกเลี่ยงการสั่งงานด้วยวาจา ตรวจสมุดจดงานว่าทำงานได้ครบถ้วนหรือไม่ หากเด็กหมดสมาธิอาจจัดกิจกรรมเพื่อเปลี่ยนอิริยาบท เช่น ช่วยลบกระดานดำ หรือแจกหนังสือ เป็นต้น หากสงสัยว่าเด็กมีโอกาสเป็นโรคสมาธิสั้นควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมค่ะ ข้อมูลจาก : พญ.กุลนิดา เต็มชวาลา จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น…

Read more

ป้องกันเด็กถูกล่วงละเมิดทางเพศ !

เมื่อไม่กี่วันมานี้ ข่าวพ่อของเด็กที่ถูกวัยรุ่น 5 คนรุมโทรมระงับอารมณ์ไม่อยู่ทำร้ายร่างกายผู้ก่อเหตุ  เนื่องจากญาติผู้ก่อเหตุที่อ้างตัวว่าเป็นอบต.พยายามจ่ายเงินโดยไม่ต้องแจ้งความ ยังมีมีตำรวจช่วยไกล่เกลี่ยเพื่อให้เรื่องจบ สร้างความโกรธแค้นให้กับคนในสังคม และรู้สึกสะใจเมื่อผู้ทำผิดโดนพ่อเหยื่อทำร้ายเอาคืนบ้าง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นทุกครั้งที่มีข่าวคราวเด็กถูกล่วงละเมิดทางเพศ ถูกข่มขืน สะเทือนความรู้สึกคนเป็นพ่อเป็นแม่และทุกคนในสังคม  มีคำถามว่าเมื่อไหร่ปัญหานี้จะหมดไป แล้วเราจะปกป้องเด็ก ๆ ของเราอย่างไร ไทยติดอันดับ 10 โลกคดีข่มขืน ไทยติดอันดับ 10 ของโลกจากการคำนวณจำนวนคดี แต่ถ้าคำนวณจากอัตราเฉลี่ยคดีต่อประชากรหญิงจะติดอันดับ 29 ของโลก รายงานจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติล่าสุด สถิติคดีข่มขืนในไทย พ.ศ. 2552-2556 เฉลี่ยปีละ 4,000 คดี ซึ่งหมายความว่ามีเหตุเกิดขึ้นทุก 2 ชั่วโมง ตำรวจจับได้ปีละ 2,400 คดี แต่ข้อมูลจากศูนย์พัฒนาข้อมูลกระบวนการยุติธรรมสำนักงานกิจการยุติธรรมรายงานว่าคดีข่มขืนเกิดขึ้นจริงมากกว่า 30,000 ดีต่อปี เท่ากับว่าเกิดขึ้นทุก ๆ 15 นาที คดีข่มขืนที่ไม่ได้แจ้งความมีถึง 87% สถิติเรื่องราวร้องทุกข์ข่มขืนอนาจารผ่านมูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี  ปี 2558 มี 658 ราย …

Read more

เลี้ยงลูกสตรองสู้ฝุ่นพิษ

สถานการณ์ของหมอกควันฝุ่นพิษ PM 2.5 ดีขึ้นเป็นพัก ๆ แต่ก็ยังไม่หมดสิ้นไปซักที เดี๋ยวมีรายงานว่าจังหวัดโน้นจังหวัดนี้ประกันมีฝุ่นหนาตึ้บเด็กเล็ก โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคทางเดินหายใจ โรคภูมิแพ้ โรคเยื่อบุตาอักเสบ โรคผิวหนัง ยิ่งน่าเป็นห่วงเพราะมีโอกาสได้รับอันตรายจากฝุ่นพิษได้มากที่สุด การให้ลูกสวมหน้ากากป้องกันฝุ่น ไม่ออกไปอยู่กลางแจ้งในวันที่มีฝุ่นหนาแน่น การใช้เครื่องกรองอากาศ และปิดประตูหน้าต่างบ้านเป็นวิธีป้องกันเด็ก ๆ จากฝุ่นพิษที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนทำได้ แต่หมดที่ว่ามานี้เป็นการป้องกันจากภายนอกค่ะ การดูแลสุขภาพลูกให้แข็งแรงก็เป็นอีกทางหนึ่งในการสร้างเกราะป้องกันอันแข็งแกร่งเพื่อต่อสู้กับฝุ่นพิษในอากาศ คุณพ่อคุณแม่สามารถดูแลร่างกายของร่างกายของลูกให้แข็งแรงอย่างไรได้บ้างมาฟังกันค่ะ 1.กินอาหารเพิ่มภูมิคุ้มกัน นอกจากการให้ลูกกินอาหารครบทั้ง 5 หมู่แล้ว เลือกอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหารเหล่านี้ วิตามินซี : ผักผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินซี เช่น บร็อคโคลี คะน้า ปวยเล้ง ฝรั่ง ลิ้นจี่ สตรอว์เบอร์รี ส้ม กีวี มะละกอสุก ฯลฯ วิตามินอี : อาหารที่มีวิตามินอีสูง เช่น ผักโขม เมล็ดทานตะวัน น้ำมันคาโนล่า มะเขือเทศ มะม่วง…

Read more