Warning: Undefined array key "action" in /var/www/wp-content/themes/kicker-child/functions.php on line 2
Knowledge | motherandcare - Part 7
Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

Tag: Knowledge

สีอึลูกบอกอะไรบ้าง ?

คุณแม่ที่มีลูกคนแรกอาจกังวลใจในสีอึของลูกได้ค่ะ มีทั้งเหลือง เขียว น้ำตาล ดำ ฯลฯ สงสัยใช่มั้ยคะว่าสีแบบไหนปกติและแบบไหนไม่ปกติจะได้ดูแลแก้ไขทันท่วงที มาดูสีต่าง ๆ กันค่ะว่าหมายถึงอ ะไรบ้าง ดำหรือเขียวเข้ม หรือขี้เทา ในช่วง 1-3 วันแรกของทารกแรกเกิดอึจะมีลักษณะเหนียวหนืด สีเข้ม แต่ถ้าหลังจาก 3 วันไปแล้วยังเป็นสีนี้อยู่หรือกลับมาเป็นสีนี้อีกแสดงว่าไม่ปกติ น้ำตาลสีเขียวอมน้ำตาล เป็นสีอึปกติของลูก ถ้าลูกกินนมผสมอึจะเป็นสีเข้มและเหนียวกว่ากินนมแม่ เขียว หรือสีเขียวปนน้ำตาล ในช่วงวันที่ 4-7 หลังคลอดลูกจะมีสีนี้ได้ และอาจจะเป็นสีนี้ได้จากอาหารที่คุณแม่รับประทาน เช่น คุณแม่รับประทานผักสีเขียวมาก หรือลูกถึงวัยเริ่มอาหารเสริมนอกจากนม เหลือง สีเหลืองคล้ายฟักทอง หรือมัสตาร์ด เนื้อนุ่มเนียนมีลักษณะเหลว เป็นสีอึปกติของทารก เด็กที่ดื่มนมแม่เพียงอย่างเดียวจะมีอึสีนี้ ขาว สีขาวซีดคล้ายสีชอล์กเป็นสีที่ไม่ปกติแสดงถึงว่าตับและถุงน้ำดีของลูกอาจผิดปกติก็เป็นได้ ควรรีบพาไปพบแพทย์ แดง อาจเกิดจากท้องผูก หรือระคายเคืองในลำไส้ มีเลือดปนมากับอึหรือเกิดจากสาเหตุอื่น ควรรีบพาไปพบแพทย์ นอกจากสีแล้วคุณแม่สังเกตลักษณะของอึที่ไม่ปกติได้อีกค่ะ…

Read more

แม่ท้องทราบวิธีคาดเข็มขัดนิรภัยกันหรือยังคะ ?

แม่ท้องต้องปรับเปลี่ยนวิธีคาดเข็มขัดนิรภัยสักนิดค่ะ วิธีคาดเข็มขัดนิรภัยสำหรับคนท้อง จะต้องพาดผ่านระหว่างอกพอดีและพาดเลยต่อไปที่ด้านข้างของลำตัว ห้ามพาดผ่านส่วนท้อง ส่วนล่างจะต้องพาดผ่านบริเวณส่วนบนของขา ไม่เลยขึ้นไปพาดที่ท้องเด็ดขาด โดยจะต้องพาดยาวจากสะโพกข้างหนึ่งไปยังสะโพกอีกข้าง คาดเข็มขัดนิรภัยถูกวิธีปลอดภัยทั้งคุณแม่และคุณลูกค่ะ

Read more

ลูกวัย 4-5 ขวบให้กินเท่าไหร่ดี ?

วัย 4-5 ขวบวัยกำลังซนกำลังโต ช่วงนี้เด็กแต่ละคนอาจจะโตไม่เท่ากัน คุณแม่อาจไม่แน่ใจว่าควรให้ลูกกินอาหารในปริมาณเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ในหลักการทางการแพทย์ บอกไว้ว่าลูกน้อยในวัย 4 - 5 ปี ต้องการพลังงานและสารอาหารใน 1 วัน ประมาณ 1,450 กิโลแคลอรี่  แบ่งสัดส่วนดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 50-60%, โปรตีน 10-15% ไขมัน 25-30% ปริมาณอาหารที่ลูกวัยนี้ควรได้รับในแต่ละวัน คาร์โบไฮเดรตหรือแป้ง : 2 ½ – 3 ถ้วยตวง (ประมาณ 5 - 6 ทัพพีต่อวัน) เช่น ข้าวสวย ขนมปัง ก๋วยเตี๋ยว วุ้นเส้น มะกะโรนี โปรตีน : 3 ½ – 4 ช้อนโต๊ะ…

Read more

นกพิราบตัวนำโรคอันตราย !!!

ภาพเด็กให้อาหารท่ามกลางฝูงนกพิราบไม่ใช่ภาพน่ารักน่าเก็บความประทับใจอีกต่อไป เพราะนั่นหมายถึงการชักนำโรคร้ายที่น่าสะพรึงกลัวมาสู่ลูกตัวน้อยของเรา แต่ละโรคอันตรายมากค่ะ ในมูลนกพิราบมีเชื้อโรค Cryptococcus neoformans ทำให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบทั้งในเด็กและผู้ใหญ่สูงถึงร้อยละ 9.09 และยังมีโรคต่าง ๆ จากไวรัส เชื้อรา และแบคทีเรียอีกหลายโรค สัตว์เลี้ยงอย่างสุนัขและแมวสามารถรับเชื้อจากนกพิราบเช่นเดียวกับคนค่ะ ถ้านกอาศัยในบริเวณบ้านสุนัขหรือแม่อาจสัมผัสกับมูลนก หรือคาบนกมาเล่นก็จะรับเชื้อโรคได้ ขอแนะนำคุณพ่อคุณแม่หลีกเลี่ยงการให้ลูกเข้าไปใกล้ฝูงนกพิราบหรือบริเวณที่มีนกพิราบถึงแม้ว่าจะมีแค่ตัวเดียวหรือไม่กี่ตัวก็ตามค่ะ เสี่ยงหลายโรคอันตราย โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคไวรัสตับอักเสบซี โรคไข้หวัดนก โรคปอดอักเสบเฉียบพลัน โรคไข้กาฬหลังแอ่น โรคเชื้อราในปอด *นอกจากนี้ยังทำให้มีอาการท้องเสีย อุจจาระร่วง และยังมี ไรจากตัวนกพิราบที่ฟุ้งกระจายเมื่อนกกระพือปีกอันตรายต่อคนเป็นภูมิแพ้ ติดเชื้อง่ายมาก ๆ จากการสัมผัสสารคัดหลั่งในตัวนกโดยตรง เช่นอุจจาระน้ำมูกน้ำลาย จากการอยู่ใกล้ชิดกับนก อยู่กลางฝูงนกขณะที่โปรยอาหาร นกกระพือปีก นกบินไปมาเชื้อจะเข้าสู่จมูก ใครมีโอกาสเสี่ยงรับเชื้อโรคบ้าง เด็ก คนที่มีภูมิต้านทานต่ำ ผู้สูงอายุ ผู้ที่ป่วยเป็นโรคภูมิแพ้…

Read more

5 วิธีรับมือวัยกรี๊ด

วัย 1-3 ปีเป็นวัยที่ลูกกำลังพัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง และพฤติกรรมหนึ่งที่คุณแม่ไม่ชอบใจเลยก็คือการกรี๊ดของลูกน้อย รวมทั้งอาการเอาแต่ใจลงไปร้องดิ้น พระคุณลูกกรี๊ดคุณแม่โกรธบรรยากาศก็จะตึงเครียด มาดูวิธีรับมือกับลูกวัยกรี๊ดกันค่ะ 1.เตรียมใจลูกก่อนเจอกับสถานการณ์ คุณแม่สังเกตดูว่าลูกมักจะกรี๊ดเมื่อไหร่ด้วยเหตุผลอะไร เช่น พาไปเที่ยวห้างแล้วไม่ซื้อของเล่นให้จะร้องดิ้น ควรทำความตกลงกันก่อน 2.เบี่ยงเบนความสนใจ หรือหาสิ่งที่สนุกกว่ามาหลอกล่อ เช่น พาลูกออกไปเล่นที่สนามเด็กเล่น แล้วลูกเล่นเพลินไม่ยอมเลิก อาจจะบอกเขาว่าน่าเสียดายจัง ถ้าไปช้าอดกินขนมร้านโปรด 3.ฝึกให้ลูกสื่อสารอย่างเหมาะสม อาการกรี๊ดเกิดจากไม่ได้ดั่งใจและยังเกิดจากการที่เด็กไม่รู้ว่าจะพูดหรือจะบอกอย่างไร คุณแม่ค่อย ๆ สอนเขาค่ะ ว่าถ้าต้องการอะไรให้พูดอย่างไร สอนให้เขาบอกความรู้สึกต่าง ๆ เสียใจ โกรธ ไม่ชอบ ไม่อยากทำ กลัว ฯลฯ 4.ทำใจให้สงบ ไม่โกรธ อาจจะนับ 1-10 หรือนับไปเรื่อย ๆ ค่ะคุณแม่ การที่คุณแม่ไม่โกรธ สถานการณ์จะดูคล้ายกับว่าคนหนึ่งโกรธและหาคนทะเลาะด้วยไม่ได้ก็จะสงบลงไปเองคุณแม่ยิ่งโกรธยิ่งบานปลายเพราะฉะนั้นสงบนิ่งเลยค่ะ 5.ปล่อยให้กรี๊ด ถ้าลูกร้องกรี๊ดหรือลงไปร้องดิ้นเพราะความเอาแต่ใจ คุณแม่ปล่อยเขาเต็มที่เลยค่ะ เมื่อลูกเห็นว่าวิธีนี้ไม่ได้ผลก็จะเลิกไปในที่สุด แต่คุณแม่ต้องคอยดูให้อยู่ในสายตาด้วยนะคะ นอกจากใช้เทคนิคต่าง ๆ เพื่อลดอาการกรี๊ดของลูกแล้ว…

Read more

ก่อน 3 ขวบลูกต้องทำได้ !

ก่อนลูก 3 ขวบ คุณพ่อคุณแม่ต้องตั้งเป้าค่ะ ต้องฝึกให้ลูกช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ ได้นะคะ ทำไมต้องฝึกในวัยนี้ ? นั่นก็เพราะลูกกำลังจะถึงวัยเข้าเรียนอนุบาลแล้ว ถ้าเขาดูแลตัวเองได้ดีก็จะปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมและเพื่อนใหม่ได้ง่าย มีความมั่นใจในตัวเอง ลูกจะมีความสุขเมื่อไปโรงเรียนค่ะ เรื่องง่าย ๆ ที่ใกล้ตัวที่พ่อแม่ต้องคอยฝึกให้ลูกมีอะไรบ้าง คุณพ่อคุณแม่ต้องเตรียมความพร้อมให้ลูก ก่อน 3 ขวบลูกต้องทำได้ 1.เลิกขวดนมได้แล้ว ยิ่งเร็วยิ่งดี ควรฝึกลูกดื่มนมจากแก้วหรือดูดจากหลอด การดูดขวดนมนานเกินไปฟันไม่สวย หรือนอนดูดขวดนมหลับคาปากโอกาสฟันผุมีสูงแน่นอน การดูดนมจากขวดอาจทำให้เด็กดื่มนมมากเกินไป นำไปสู่โรคอ้วนได้ กี่ขวบดี ? สามารถเลิกใช้ขวดนมได้ตั้งแต่ 1 ขวบค่ะ จะง่ายกว่าตอน 2 ขวบ ดูความพร้อมของลูกซักนิด ดูดหลอดได้ ลูกก็จะจับแก้วถนัด ยกแก้วดื่มเอง พยายามให้ลูกได้เล่นได้ใช้กล้ามเนื้อมือเพื่อให้เขามีพัฒนาการที่ดี 2.บอกลาผ้าอ้อม ฝึกให้เข้าห้องน้ำ คุณพ่อคุณแม่ควรฝึกลูกให้ใช้ห้องน้ำเป็น เลิกให้ใช้กางเกงผ้าอ้อมสำเร็จรูป เริ่มฝึกจากช่วงกลางวันก่อน แล้วค่อยฝึกเลิกกางเกงผ้าอ้อมตอนกลางคืน ค่อย ๆ ฝึกกันไปค่ะจนฝึกสำเร็จ (ผ้าซับฉี่ รองฉี่ กันฉี่ ที่ลูกเคยใช้ตอนเป็นเบบี๋ นำกลับมาใช้ใหม่อีกครั้งตอนฝึกค่ะ)…

Read more

5 วิธีดูแลสะดือเบบี๋ง่ายมาก ๆ

สะดือของเด็กแรกเกิดเป็นสิ่งที่ต้องดูแลอย่างพิถีพิถัน ต้องหมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลง และทำความสะอาดอย่างถูกวิธีค่ะ สะดือแฉะ : สะดือไม่แห้งหรือมีน้ำหยดจากสะดือเวลาทารกร้องหรือเบ่ง เป็นน้ำสีเหลืองหรือเขียวและอาจมีเลือดออกซิบ ๆ สะดืออักเสบ : บริเวณรอบๆ ขั้วสะดือบวมแดงและร้อนและเด็กร้องกวน เมื่อดมดูจะได้กลิ่นเหม็นผิดปกติ เลือดออกทางสะดือ : เมื่อเอาสำลีซับจะมีเลือดติดออกมา อาจจะมีก้อนเนื้อแดงเรื่อขนาดเท่าถั่วแดงอยู่ในสะดือ สะดือโป่ง สะดือจุ่น : เด็กบางคนเมื่ออายุใกล้จะ 1 เดือน สะดือจะโป่งออกมา โดยเฉพาะเด็กร้องเก่ง การร้องจะเป็นตัวเร่งทำให้สะดือโป่งมากขึ้น ถ้าขนาดที่โป่งออกมาไม่ใหญ่จนเกินไป อาการนี้จะหายไปเองตามธรรมชาติ ตามปกติสะดือจะยุบไปเองภายใน 2-3 เดือน แต่บางคนอาจถึง 1 ปี สะดือโป่ง สะดือจุ่น : เด็กบางคนเมื่ออายุใกล้จะ 1 เดือน สะดือจะโป่งออกมา โดยเฉพาะเด็กร้องเก่ง การร้องจะเป็นตัวเร่งทำให้สะดือโป่งมากขึ้น ถ้าขนาดที่โป่งออกมาไม่ใหญ่จนเกินไป อาการนี้จะหายไปเองตามธรรมชาติ ตามปกติสะดือจะยุบไปเองภายใน…

Read more

ปัญหาที่พบบ่อยในเด็กแรกเกิด

เมื่อแรกคลอดเด็กทารกมักมีปัญหาที่พบได้บ่อยค่ะ คุณพ่อคุณแม่ศึกษาอาการต่าง ๆ เหล่านี้ไว้เพื่อเตรียมพร้อมในการดูแลลูกรักค่ะ ภาวะตัวเหลือง พบได้มากที่สุดในเด็กทารกโดยประมาณ 60-70% ทั้งในทารกอายุครรภ์ครบกำหนดและคลอดก่อนกำหนดทุกราย ทั้งนี้จะเห็นสารตัวเหลืองที่ผิวหนังหรือเยื่อบุตาขาว สาเหตุ เกิดก่อนกำหนด <37 สัปดาห์ หมู่เลือดแม่และลูกไม่เข้ากัน เหลืองจากเม็ดเลือดแดงแตกตัว เช่น พร่องเอนไซม์ G6PD ภาวะเม็ดเลือดแดงมากเกินไป มีรอยฟกช้ำจากการคลอด มีจุดจ้ำแดงที่ผิวหนัง หรือมีการติดเชื้อ มีภาวะลำไส้อุดตัน ท่อน้ำดีอุดตันแต่กำเนิด ฯลฯ การดูแล ควรป้อนนมบ่อยขึ้นทุก 3 ชั่วโมง ประมาณ (8 มื้อ/วัน) เพื่อให้ลูกน้อยได้ขับถ่ายสารตัวเหลืองออกจากร่างกาย ประเมินภาวะตัวเหลือง โดยสามารถใช้นิ้วกดดูสีผิวที่อยู่ใต้ผิวหนังหรือกดตรงปุ่มกระดูก ทำในห้องที่แสงสว่างเพียงพอ ถ้าพบว่า ลูกมีอาการตัวเหลืองมากหรือเพิ่มมากขึ้นให้มาพบหมอทันที เพื่อตรวจดูสารตัวเหลืองในร่างกาย การรักษาตัวเหลือง ในทารกแรกเกิดทำได้ 3 แบบคือ การส่องไฟ, การเปลี่ยนถ่ายเลือด และการใช้ยา อาการแหวะนม สาเหตุ ที่ลูกน้อยชอบแหวะนมบ่อย ๆ เนื่องจากระบบการย่อยยังไม่สมบูรณ์ กล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่อยู่ระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหารอาจยังปิดไม่สนิท ประกอบกับการกินนมเยอะก็จะทำให้เกิดอาการได้มาก…

Read more

7 วิธีฝึกให้ลูกเก็บของเล่นเอง

ของเล่นของลูกกระจัดกระจายทั่วบ้านราวกับระเบิดลงทุกวัน การเก็บของเล่นกลายเป็นอีกงานหนึ่งที่คุณแม่ต้องจัดการ การสอนให้ลูกเก็บของเล่นเองเป็นการสอนให้เขาเรียนรู้หลายด้านค่ะ ทั้งระเบียบวินัย การดูแลรักษาของ ความรับผิดชอบ การทำอะไรเองเป็นยังช่วยให้ลูกพึ่งพาตัวเองได้ตอนโตการสอนลูกไม่ยากค่อย ๆ ฝึกเขาค่ะ 1.ช่วยกันเก็บก่อน เด็กเล็กอาจเก็บคนเดียวไม่ไหว เพราะยากเกินความสามารถ คุณแม่ชวนลูกเก็บก่อนค่ะ ทำให้การเก็บของเล่นเป็นเรื่องสนุก เป็นเกมอย่างหนึ่งที่ต้องเล่นปิดท้ายเสมอ 2.จัดเก็บเป็นหมวดหมู่ ไม่ต้องแยกหลายหมวดหมู่เกินไปลูกจะงง การแยกเก็บเป็นหมวดหมู่ทำให้ไม่ต้องเก็บของเล่นคราวละมาก ๆ เพราะลูกมักจะเลือกชิ้นที่ตัวเองชอบ นอกจากนี้ยังฝึกการแยกแยะให้ลูก คุณแม่ใช้ลิ้นชัก ลังพลาสติก หรือถังพลาสติกก็ได้ค่ะ แยกสีแต่ละลังให้ชัดเจนตกแต่งหรือแปะสติ๊กเกอร์ อาจสมมติแต่ละถังเป็นพี่ฮิปโป พี่ปลาวาฬ พี่จระเข้ ฯลฯ หิวข้าวแล้วต้องป้อนของเล่นให้หม่ำก่อน 3.เก็บของเล่นเป็นเวลา ตอนเย็นก่อนลูกอาบน้ำหม่ำข้าวเย็น พยายามให้ลูกเก็บในเวลาเดิมทุกวัน เพื่อสร้างความคุ้นเคย และเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวัน ความเคยชินช่วยให้ลูกทำได้โดยอัตโนมัติ 4.หลอกล่อด้วยกิจกรรมสนุก ลูกกำลังสนุกกับการเล่น แต่คุณแม่มักจะให้เขาเก็บของเพื่อไปทำกิจกรรมน่าเบื่อ ไม่มีใครอยากทำหรอกค่ะ เพราะฉะนั้นกิจกรรมต่อจากการเก็บของเล่นควรมีความสนุกเพื่อกระตุ้นให้ลูกเก็บค่ะ 5.เล่านิทาน คุณแม่อาจจะหาซื้อหนังสือนิทานหรือแต่งนิทานเล่าให้ลูกฟัง มีตัวเอกเป็นตัวละครหรือสัตว์น่ารักที่ลูกชอบ เล่าถึงตัวละครตัวโปรดนิสัยดี มีระเบียบ เล่นของเล่นแล้วเก็บก็ได้ค่ะ 6. บ้านต้องเป็นระเบียบด้วย ลูกเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว มองไปทางไหนทุกอย่างเข้าที่เข้าทาง คุณแม่ใช้ของแล้วเก็บเข้าที่ ลูกก็จะเรียนรู้สิ่งนี้ไปเอง 7.ให้รางวัลเมื่อลูกทำได้ดี บางครั้งใช้รางวัลล่อใจได้บ้างค่ะ ถ้าเขาทำได้ดี อาจจะเป็นการชมเชยหรือให้ตามข้อเรียกร้องบางอย่างเป็นพิเศษ เวลาเจอคนอื่นคุณแม่พูดชมเขาให้คนอื่นฟังด้วยนะคะ ลูกจะภูมิใจและพยายามทำดีต่อไป อดทนใช้เวลาสักนิด ฝึกลูกอย่างสม่ำเสมอ เขาจะเรียนรู้การเก็บของเล่นให้เป็นระเบียบได้ในที่สุดค่ะ

Read more

1 ขวบแล้วไม่ยอมกินข้าวทำอย่างไรดี ?

Q : ลูกอายุ 1 ปี 1 เดือน กินแต่นม เวลาป้อนข้าวก็ไม่กินเลยค่ะ เคยใช้วิธีให้กินนมน้อยลง แต่ก็จะร้องงอแงมากไม่ยอมกินข้าวอยู่ดี จะมีวิธีแก้ไขอย่างไรคะ A : ปัญหาลูกไม่กินข้าวเป็นปัญหาสำคัญที่พบในเด็กวัยตั้งแต่ 1 ปี ไปจนถึง 3 – 4 ปี หรือช่วงวัยก่อนเข้าโรงเรียน ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องอาศัยความเข้าใจในพฤติกรรมเด็ก ความอดทน และความร่วมมือของคุณพ่อ คุณแม่ในการแก้ปัญหา โดยการแก้ปัญหานั้นเริ่มต้นที่คุณแม่ไม่ควรเครียด กังวลกับการกินของลูกมากเกินไป ควรสร้างบรรยากาศการกินให้สบายๆ โดยให้นั่งกินร่วมโต๊ะกับสมาชิกในครอบครัว ไม่มีสิ่งใดมาดึงความสนใจ เช่น ทีวี ของเล่น ชวนลูกพูดคุยให้เพลิน ไม่บังคับขู่เข็ญ ไม่ยัดเยียด ไม่เดินตามป้อนอาหาร หรือติดสินบนลูกเพื่อให้กิน เพราะลูกจะต่อต้านไม่ยอมกิน หรือ ในบางรายจะจับจุดได้ว่า การที่เขาไม่กินข้าว จะได้รับความสนใจจากคุณแม่มากขึ้น แล้วนำมาเป็นข้อต่อรองในคราวหลังได้ ควรให้ลูกได้เลือก และ ควบคุมการกินของเขาเอง ตักกินเอง จะเลอะเทอะไปบ้างก็ไม่เป็นไรค่ะ แต่อย่าใช้เวลากินบนโต๊ะอาหารนานเกินไป ไม่ควรเกิน 30 นาที เพราะจะทำให้ลูกมีความรู้สึกว่าช่วงเวลามื้ออาหารเป็นช่วงที่น่าเบื่อ และ มีความรู้สึกว่าตนเองกำลังถูกบังคับอยู่ ในแต่ละมื้อนั้นควรจัดให้อาหารมีลักษณะสีสัน…

Read more