ม่อายเพจ Rockey Journey ทำเมนู สำหรับลูกรสชาติละมุน หอมหวานธรรมชาติ ของซุปข้าวโพด ผสมกับเนื้อปลาแซลม่อน รับรองว่าอร่อยฟินแน่นอนค่ะ
คลิกชมรายละเอียดกันเลยค่ะ >> ซุปข้นข้าวโพดแซลมอน
คุณแม่หลายคนเจอปัญหาลูกอมข้าว ส่วนใหญ่อมเสร็จคายทิ้ง ทำบ่อยอาจขาดอาหาร คุณแม่อย่าเพิ่งกังวลใจปัญหานี้มีทางแก้ค่ะ
1.ปรับอาหารให้เหมาะกับวัย ช่วงเริ่มกินอาหารใหม่ ๆ นอกจากนมคุณแม่บดอาหารละเอียดก่อน ต่อมาค่อยปรับเป็นอาหารชิ้นใหญ่ขึ้น จากบดละเอียดเป็นสับหยาบและหั่นชิ้นเล็ก ลูกมีฟันขึ้นแล้วอย่าให้แต่อาหารบดละเอียดอีก ถ้าลูกไม่ได้ฝึกเคี้ยวก็จะเคยชินกับการกลืน และอาจติดเป็นิสัยเพราะกินง่าย
2.อย่าให้นมแทนข้าว เวลาลูกอมข้าวคุณแม่อาจกังวลว่าลูกจะไม่โต ให้กินนมแทนดีกว่าไม่ได้กินอะไร นั่นเท่ากับคุณแม่กำลังฝึกให้ลูกกินนมแทนข้าว อย่าเพิ่งใจอ่อนตามใจ ให้ได้บ้างนิดหน่อยแต่อย่ามากจนอิ่ม
3.ไม่เล่นระหว่างกินข้าว ให้ลูกมุ่งความสนใจไปที่การกินอาหาร กินไปเล่นไปเด็กจะสนใจการเล่น เวลาลูกกินทุกคำที่ป้อนโดยไม่รู้ตัวเหมือนจะดี แต่ก็จะลืมเคี้ยว
4.ไม่ให้ดูโทรทัศน์ใช้แทบเล็ตหรือมือถือระหว่างกินข้าว สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะดึงดูดความสนใจของลูกออกไปจากการกิน
5.ชวนลูกให้สนใจการกิน อาจจะชวนคุยให้ลูกอารมณ์ดี หรือพูดคุยเกี่ยวกับอาหารเช่น อาจจะถามลูกว่าพรุ่งนี้ลูกอยากกินอะไร ชวนให้เขามีส่วนร่วมในการทำอาหารก็จะช่วยให้เขาสนใจการกิน
6.อย่าใช้เวลานานเกินไป ไม่เกินครึ่งชั่วโมง การพยายามให้ลูกกินหมดชามคุณแม่อาจเข้าใจว่าภารกิจประสบความสำเร็จ แต่ความจริงแล้วทำให้ลูกไม่มีวินัยในการกิน
7.จัดเวลามื้อของว่างให้เหมาะ ระหว่างมื้อ ลูกหิวขึ้นมาขอนมหรือขนมคุณแม่กลัวลูกหิวก็มักจะให้กิน ให้กินได้แต่ไม่ต้องมากจนอิ่มเกินไป และไม่ควรให้กินใกล้เวลาอาหาร
ถ้าลูกอมข้าวน้อยลงอย่าลืมชมนะคะ เขาจะได้มีกำลังใจและรู้สึกภูมิใจค่ะ
รับทราบมาบ่อย ๆ ว่าการกินเค็มหรือกินโซเดียมมากส่งผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพในระยะยาว ทั้งโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต กระดูกพรุน อัมพฤกษ์อัมพาต ฯลฯ
คุณพ่อคุณแม่อาจมั่นใจว่าลูกไม่ได้กินเค็มเกินไป ดูตัวเลขเหล่านี้แล้วอาจเปลี่ยนความคิดใหม่
มาดูปริมาณโซเดียมในอาหารจานเดียวกันก่อน
สุกี้น้ำ 1,560 มิลลิกรัม บะหมี่น้ำหมูแดง 1,480 มิลลิกรัม เส้นใหญ่เย็นตาโฟ 1,417 มิลลิกรัม ผัดซีอิ๊ว 1,352 มิลลิกรัม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 977 มิลลิกรัม
กระทรวงสาธารณสุขแนะนำว่าผู้ใหญ่ไม่ควรกินเกลือเกินวันละ 1 ช้อนชา (เกลือ 1 ช้อนชา =โซเดียม 2,000 มิลลิกรัม)
แล้วเด็กล่ะ ?
6-11 เดือน 175-550 มิลลิกรัม/วัน (ประมาณ ¼ ช้อนชา) 1-3…
เตรียมอาหารให้ลูกเองก็ต้องสะอาดปลอดภัย เรามีวิธีล้างผักและผลไม้เพื่อลดสารเคมีมาฝากแม่ ๆ ค่ะ
วิธีที่ 1
แช่ผักไว้ในน้ำนาน 15 นาที จากนั้นยกผักขึ้นจากกะละมังแล้วนำไปรองใต้ก๊อก เปิดน้ำก๊อกให้ไหลผ่าน คลี่ใบผักให้โดนน้ำทั่วถึง ใช้มือถูผักผลไม้ และใช้เวลาล้างนานประมาณ 2 นาที
วิธีที่ 2
แช่ในน้ำผสมน้ำส้มสายชู 5% ในอัตราส่วน น้ำส้มสายชู 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 4 ลิตร แช่ทิ้งไว้นานประมาณ 15 นาที จากนั้นล้างออกด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง
วิธีที่ 3
ใช้เบกกิ้งโซดา ครึ่งช้อนโต๊ะผสมกับน้ำ 10 ลิตร แช่ผักทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที นาทีจากนั้นล้างออกด้วยน้ำสะอาด
การล้างผักทั้ง 3 วิธีนี้สามารถช่วยคุณแม่ลดสารเคมีตกค้างและยังช่วยล้างดิน และล้างเชื้อโรคที่ปนเปื้อนอยู่ออกไปจากผักได้ค่ะ
ข้อมูลอ้างอิง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
เส้นใยอาหารมีมากในผักและผลไม้ ทำอย่างไรจึงจะให้ลูกได้รับอย่างเพียงพอ มาฟังข้อแนะนำค่ะ
ใยอาหาร คือ อะไร
เป็นคาร์โบไฮเดรตโมเลกุลใหญ่ มีทั้งชนิดละลายน้ำและไม่ละลายน้ำ พบมากในผัก ผลไม้ และธัญพืช ใยอาหารจะไม่ถูกดูดซึมในระบบทางเดินอาหาร แต่จะเดินทางไปจนถึงลำไส้ ทำหน้าที่กวาดสิ่งที่ร่างกายไม่ต้องการขับถ่ายออกมา เพื่อไม่ให้มีสิ่งตกค้างในลำไส้
เส้นใยอาหารมีประโยชน์สูง
ร่างกายคนเราต้องการใยอาหาร ที่มีในผัก ผลไม้ ธัญพืช ถ้าได้รับพอเพียงสิ่งที่ได้แถมมาก็คือวิตามินเกลือแร่ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
การกินอาหารที่มีเส้นใยในปริมาณที่เพียงพอ จะช่วยให้การทำงานของลำไส้ดีขึ้น ช่วยกระตุ้นระบบทางเดินอาหาร กระตุ้นการขับถ่าย ช่วยกำจัดของเสียหรือสารพิษออกจากร่างกาย เส้นใยอาหารหรือไฟเบอร์นี้ยังช่วยป้องกันปัญหาท้องผูก โดยเฉพาะในเด็กที่กินผักผลไม้และน้ำน้อย
กินเส้นใยเท่าไหร่ดี
โดยทั่วไปใน 1 วัน เด็กควรได้รับอาหารหลัก 3 มื้อ โดย 1 มื้อควรประกอบด้วย ข้าวกล้อง หรือข้าวสวยนิ่ม ๆ 1 - 1.5 ทัพพี เนื้อสัตว์ต่างๆ สลับกับไข่หรืออาหารทะเล 1 ช้อนโต๊ะใยอาหารจากผักใบเขียว…
วัย 4-5 ขวบวัยกำลังซนกำลังโต ช่วงนี้เด็กแต่ละคนอาจจะโตไม่เท่ากัน คุณแม่อาจไม่แน่ใจว่าควรให้ลูกกินอาหารในปริมาณเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ในหลักการทางการแพทย์ บอกไว้ว่าลูกน้อยในวัย 4 - 5 ปี ต้องการพลังงานและสารอาหารใน 1 วัน ประมาณ 1,450 กิโลแคลอรี่
แบ่งสัดส่วนดังนี้
คาร์โบไฮเดรต 50-60%, โปรตีน 10-15% ไขมัน 25-30%
ปริมาณอาหารที่ลูกวัยนี้ควรได้รับในแต่ละวัน
คาร์โบไฮเดรตหรือแป้ง : 2 ½ – 3 ถ้วยตวง (ประมาณ 5 - 6 ทัพพีต่อวัน) เช่น ข้าวสวย ขนมปัง ก๋วยเตี๋ยว วุ้นเส้น มะกะโรนี
โปรตีน : 3 ½ – 4 ช้อนโต๊ะ…