Warning: Undefined array key "action" in /var/www/wp-content/themes/kicker-child/functions.php on line 2
เด็ก 3 ขวบขึ้นไป | motherandcare - Part 7
Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

เด็ก 3 ขวบขึ้นไป

6 วิธีแก้ปัญหาลูกไม่กินผัก

ลูกไม่กินผักเป็นปัญหาคลาสสิคทุกบ้าน เวลาลูกไม่กินผักคุณแม่มักจะกังวล กลัวลูกขาดสารอาหารอย่างวิตามินและเกลือแร่ต่าง ๆ ที่มักจะมีอยู่ในผักและผลไม้ การบังคับ ติดสินบน หลอกล่อ หรือพูดซ้ำซาก ปัญหาที่ตามมาคือลูกต่อต้าน แล้วเราจะทำยังไงดี มีข้อแนะนำมาฝาก 6 ข้อค่ะ 1.อย่าทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ อย่าให้ลูกรู้สึกว่าการไม่กินผักของเขาเป็นเรื่องซีเรียส การบังคับขู่เข็ญหรือการพยายามเชียร์ลูกมากเกินไป บ่อยไป อาจจะทำให้ลูกแอนตี้ผักไปเลย เพราะผักมาทีไรบรรยากาศเครียด 2.ฝึกตั้งแต่เล็ก ตั้งแต่ลูกยังไม่ถึงวัยปฏิเสธ พออายุลูกเลย 6 เดือนไปแล้ว เป็นเวลาที่คุณแม่จะเริ่มให้ลูกทำความรู้จักกับอาหารอย่างอื่นนอกเหนือจากการให้นมเพียงอย่างเดียว ระหว่างช่วง 6 เดือนถึง 1 ปีแรก ค่อย ๆ ให้เขาเริ่มทำความรู้จักกับผักทีละชนิดเลือกที่รับประทานง่าย พอคุ้นเคยแล้วค่อยให้เขาได้รับประทานผักหลากหลายชนิด 3.สร้างบรรยากาศการกินผัก บนโต๊ะอาหารต้องมีผักที่ผู้ใหญ่และเด็กรับประทานง่ายด้วย ให้ลูกนั่งโต๊ะอาหารพร้อมคุณพ่อคุณแม่ตั้งแต่เล็ก จัดเมนูผักต่าง ๆ สับเปลี่ยนหมุนเวียนให้เขาเห็นและทำความรู้จัก พอเขาโตหน่อยอาจให้เขาลองบ้างไม่บังคับ 4.เป็นตัวอย่างของคนรักผัก คุณพ่อคุณแม่ต้องกินผักด้วย ระหว่างมื้ออาหารคุณพ่อคุณแม่อาจพูดคุยกันเองถึงความอร่อยของผักเป็นการเชิญชวนเขาอย่างหนึ่งโดยไม่ต้องบังคับลูก 5.เมนูมัดใจ ทำอาหารหน้าตาน่ารักน่ารับประทาน ปรับเปลี่ยนเมนูหลาย ๆ…

Read more

5 เคล็ดลับเลี้ยงลูกให้รักผัก

คุณแม่คงเคยเห็นเด็กบางคนเพลิดเพลินกับการกินผักโดยไม่ต้องให้ผู้ใหญ่คอยกำกับเลยแม้แต่น้อย เห็นแล้วปลื้ม แต่พอย้อนกลับมามองลูกเราเอง คุณแม่หลายคนรู้สึกว่าการจะทำให้ลูกกินผักนั้นเป็นโจทย์ยากและโจทย์ใหญ่ในใจของคุณแม่มาตลอด อย่าเพิ่งท้อใจไปค่ะ ลองหลาย ๆ วิธีค่อย ๆ ทำทีละน้อยก็จะช่วยให้ลูกกินผักได้ มีเคล็ดลับดี ๆ มาฝากค่ะ 1.คุณพ่อคุณแม่ต้องเป็นต้นแบบที่ดีภายในบ้าน ให้ลูกนั่งร่วมโต๊ะอาหารกับคุณพ่อคุณแม่ตั้งแต่เด็กๆให้เขาเห็นว่าคุณพ่อคุณแม่เองก็กินผักเป็นเรื่องปกติและเอร็ดอร่อยไปกับผักต่าง ๆ 2.เมื่อลูกถึงวัยเริ่มต้นกินอาหารเสริม ไม่มีกลิ่นฉุนรถไม่ขมก่อน เพื่อสร้างความประทับใจในรสชาติของผัก ผักที่รับประทานง่ายอย่าง เช่น แคร์รอต ฟักทอง ตำลึง ผักกาดขาว ฯลฯ 3.ตกแต่งเมนูผักให้น่ารับประทาน ใช้สีเขียว แดง ส้ม เหลือง หรือม่วง ในอาหารเพื่อดึงดูดความสนใจของลูก เพราะเด็ก ๆ ชอบสีสันสดใสค่ะ 4.เด็ก ๆ มักจะชอบกินอาหารที่มีรสสัมผัสกรอบ คุณแม่ลองคิดค้นเมนูผักกรอบ อาจจะชุบแป้งทอด อบกรอบ หรือหั่นผักและผลไม้สดที่มีความกรอบแช่เย็นไว้ให้ลูกรับประทาน 5.ชวนลูกปลูกผักในกระถางน่ารัก ๆ เลือกผักที่โตง่าย จะเพาะเมล็ดหรือซื้อมาทั้งกระถางเลยก็ได้ ให้เขามีส่วนร่วมดูแล รดน้ำต้นไม้ และตัดมารับประทาน สู้ ๆ…

Read more

กรุบกรอบกินอย่างไรให้ได้ประโยชน์ ?

ในสายตาของแม่ ๆ และหลายคน ขนมกรุบกรอบมักจะเป็นผู้ร้ายทำลายสุขภาพลูก ความจริงแล้วขนมกรุบกรอบไม่ได้เป็นผู้ร้ายไปเสียทั้งหมด ขึ้นอยู่กับการเลือกด้วยค่ะและทุกวันนี้ก็มีขนมที่ดีกับเด็กให้เลือกอยู่มิใช่น้อย เพียงแค่คุณแม่มองหาเท่านั้นเองค่ะ ทำไมถึงแนะนำขนมกรุบกรอบ นั่นก็เพราะเมื่อเด็ก ๆ หรือแม้แต่ผู้ใหญ่ก็ตามถ้าได้กินอะไรกรอบ ๆ บ้างก็จะรู้สึกมีความสุข และความสุขนั้นก็ต้องมาพร้อมกับสุขภาพที่ดีด้วยค่ะ กรุบกรอบแบบนี้ควรเลี่ยง ไขมันสูง รสหวานจัดมีน้ำเป็นส่วนผสมมาก รสเค็มจัด มีแต่แป้งล้วน ๆ ใส่ผงชูรส ปรุงแต่งสารเคมี ไม่ว่าจะเป็นสีกลิ่นรสชาติสารกันบูด กรุบกรอบแบบนี้ OK ไขมันและน้ำตาลน้อย ใช้ผักหรือผลไม้แท้ ๆ หรือมีส่วนผสมของผักและผลไม้ไม่ใช่แป้งไม่ใช่แป้งผัดขาวล้วน ๆ ทำให้กรอบด้วยการอบแห้งหรือทอดกรอบด้วยน้ำมันน้อยหรือกำจัดน้ำมันออกไปแล้ว ธัญพืชต่าง ๆ เช่นถั่ว ลูกนัทต่าง ๆ เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง ฯลฯ ไม่ปรุงแต่งสีกลิ่นรส หรือสารเคมีต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่ให้ลูกกินขนมกรุบกรอบแล้วต้องควบคุมปริมาณการกินให้เหมาะสม และอย่าให้ใกล้มื้ออาหารเพราะลูกจะอิ่มไม่ยอมหม่ำข้าวค่ะ

Read more

เช็กสุขภาพพี่เลี้ยงหรือยังคะ ?

การเลือกพี่เลี้ยงเด็กซักคนไม่ใช่เรื่องง่าย นอกจากดูนิสัยใจคอว่าน่าไว้วางใจ ใจเย็น ใจดี อดทนกับการดูแลเด็กได้จะไม่ทำร้ายลูกเราแล้ว คุณแม่อย่าลืมดูเรื่องความสะอาดและสุขภาพของคนที่จะมาเป็นพี่เลี้ยงด้วยนะคะ มีโรคติดต่ออะไรบ้าง เด็กเล็กโดยเฉพาะเด็กที่อายุน้อยกว่า 1 ขวบภูมิต้านทานยังอ่อนจึงมีโอกาสรับเชื้อได้ง่าย เป็นแล้วอาการอาจรุนแรง โรคต่าง ๆ ที่พบว่ามีโอกาสติดได้บ่อยเช่น วัณโรค HIV ซิฟิลิส เริม กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ โลหิตเป็นพิษ ไข้ไทฟอยด์ อหิวาต์ ไวรัสตับอักเสบ โรคติดเชื้อทางผิวหนัง เหา และพยาธิ ฯลฯ ถ้าเป็นพี่เลี้ยงต่างด้าวปรึกษาคุณหมอว่าประเทศนั้น ๆ มักจะมีโรคติดเชื้ออะไรบ้าง แล้วจะทำยังไงดี ในศูนย์พี่เลี้ยงบางแห่งอาจมีใบรับรองการตรวจสุขภาพของพี่เลี้ยง แต่ถ้าไม่มีหรือคุณแม่ไม่มั่นใจก็พาไปตรวจสุขภาพได้ โรงพยาบาลบางแห่งมีแพกเกจตรวจสุขภาพพี่เลี้ยง ถ้าไม่มีลองปรึกษาคุณหมอว่าควรตรวจอะไรบ้าง รวมทั้งรับวัคซีนป้องกันโรค เช่น วัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ บี ซี และวัคซีนป้องกันวัณโรค สอนเรื่องความสะอาด มาตรฐานความสะอาดของคุณแม่และพี่เลี้ยงอาจไม่เท่ากันค่ะ สอนให้พี่เลี้ยงเรื่องสุขอนามัยและความสะอาด เช่น ความสะอาดร่างกาย การล้างมือ ไม่กินของร่วมกัน ไอจามปิดปาก…

Read more

14 วิธีบอกรักให้ลูกรู้

พ่อแม่รักลูกทุกวันทุกเวลา รักแบบไร้เงื่อนไขด้วยใช่มั้ยคะ ในวันวาเลนไทน์นี้ก็เป็นโอกาสอันดีที่เราจะย้ำเตือนถึงความรักความผูกพันที่มีต่อลูก คุณพ่อคุณแม่ที่แสดงออกน้อยหรือไม่ค่อยพูดตรง ๆ เรามีตั้ง 14 วิธีในการบอกรักลูกเอามาฝากกันค่ะ 1.กอด การกอดเป็นพลังมหัศจรรย์แทนคำบอกรัก เป็นการสื่อสารบอกรักไร้คำพูดจากคุณแม่ การกอดเพียงอย่างเดียวให้ทั้งความรัก ความอบอุ่น ความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย ช่วยปลอบโยนให้สงบ และให้กำลังใจลูก การกอดสร้างความผูกพันระหว่างกัน งานวิจัยหลายชิ้นบอกว่าเด็กที่ไม่ได้รับการกอดจะขาดความมั่นคงทางอารมณ์ ไม่มั่นใจปรับตัวเข้ากับสังคมยาก และมีพัฒนาการช้า กอดลูกบ่อย ๆ นะคะ 2.เล่นกับลูก ไม่ว่าเขาจะเป็นเบบี๋หรือโตแค่ไหนก็ตาม คุณพ่อคุณแม่เล่นกับลูกได้ตั้งแต่วัยแรกเกิด ดูตามพัฒนาการของเขา การเล่นกับลูกสร้างความรักความผูกพันและสร้างบรรยากาศดี ๆ ต่อกัน ลูกยังเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ดีผ่านการเล่นด้วยค่ะ อาจจะไม่ต้องอบรมสั่งสอนเขามากนัก ใช้สอนด้วยกิจกรรมสนุกสนานนี่แหละเวิร์ค 3.คุยกับลูก การคุยกันเป็นการสื่อสารสองทาง คุณพ่อคุณแม่พูดกับเขาเขาโต้ตอบหรือเขาเล่าเรื่องให้คุณแม่ฟัง จริง ๆ แล้วผู้ใหญ่คุยกับเด็กได้หลายเรื่องนะคะ เล่าให้เขาฟังถึงเรื่องการทำงานเรื่องความรู้รอบตัวข่าวคราวความเคลื่อนไหวความเป็นไปของโลก เรื่องใกล้ไกลตัวแค่ไหนก็คุยได้ค่ะ เพียงแต่เราเลือกเรื่องที่เหมาะสมกับเด็กในแต่ละวัย เลือกวิธีการพูดคุยให้เป็นเรื่องง่าย ๆ สบาย ๆ ไม่ซีเรียสว่าจะต้องให้องค์ความรู้สาระกันอยู่ตลอดเวลา ลูกจะเบื่อแล้วไม่อยากฟัง 4.ฟังลูกให้มาก การฟังและรับฟังลูกจะช่วยให้ลูกรู้สึกว่าพ่อแม่เข้าใจเขา ให้โอกาสลูกได้พูดหรือเล่าในสิ่งที่ตัวเองอยากจะเล่า เล่าถึงเรื่องที่โรงเรียน…

Read more

Checklist ลูกเป็นสมาธิสั้นหรือเปล่า ?

หากสงสัยว่าลูกจะเป็นสมาธิสั้นหรือเปล่าลองสังเกตอาการดูค่ะ อาการของเด็กสมาธิสั้น ตามเกณฑ์วินิจฉัยของ DSM-5 (Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders) 1.อาการขาดสมาธิ ไม่สามารถทำงานที่ครูหรือพ่อแม่สั่งจนสำเร็จ ขาดสมาธิในขณะทำงานหรือทำกิจกรรมอื่น ดูเหมือนไม่ค่อยฟังเวลาพูดด้วย ไม่สามารถตั้งใจฟังและเก็บรายละเอียดได้ ทำให้ทำงานผิดพลาดบ่อยๆ ไม่ค่อยเป็นระเบียบ พยายามหลีกเลี่ยงงานที่ต้องใช้ความคิดหรือสมาธิ วอกแวกง่าย ทำของใช้ส่วนตัวหรือของใช้ที่จำเป็นหายอยู่บ่อยๆ ขี้ลืม 2. อาการซน อยู่ไม่นิ่ง และอาการหุนหันพลันแล่น ยุกยิก อยู่ไม่สุข นั่งไม่ติดที่ ลุกเดินบ่อยๆ ชอบวิ่ง ปีนป่าย เล่นเสียงดัง ตื่นตัวตลอดเวลา พูดมาก พูดโพล่งโดยยังฟังไม่จบ รอคอยไม่เป็น มักจะขัดจังหวะหรือแทรกเวลาผู้อื่นพูด หากมีอาการในข้อ 1 หรือ 2 มากกว่า 6 อาการขึ้นไป โดยที่อาการเกิดก่อนอายุ 12 ปี  ซึ่งอาจมีลักษณะเด่นเฉพาะ 1 หรือข้อ 2 หรือทั้งสองข้อ มีโอกาสที่จะเป็นโรคสมาธิสั้นได้ค่ะ ข้อมูลจาก…

Read more

9 วิธีสร้างลูกฉลาดอารมณ์ดี

สร้างลูกฉลาดมีหลากหลายวิธี ลองมาดู 9 วิธีต่อไปนี้ค่ะ 1.มองตา…ส่งยิ้ม เมื่อลูกลืมตาตื่นขึ้นปุ๊บ คุณพ่อคุณแม่คอยสบสายตาลูกน้อยสักพัก ทำบ่อย ๆ ลูกจะจดจำใบหน้าพ่อแม่ได้ ซึ่งก็เป็นใบหน้าที่ลูกอยากเห็นอยากจำมากที่สุด 2.กินนมแม่..ลูกฉลาดแน่มาตอกย้ำกันอีกสักครั้งกับประโยชน์ของนมแม่ ยิ่งให้ลูกกินนานที่สุดเท่าที่จะทำได้ ยิ่งทำให้ลูกมีไอคิวและอีคิวสูงกว่าเด็กที่ไม่ได้กินนมแม่ แล้วที่สำคัญทั้งลูกและแม่ยังรู้สึกอบอุ่น รักกันมากที่สุดอีกด้วย 3.ทำตลก..ลูกคึกคัก อย่าคิดว่าทารกแรกเกิดมองเห็นไม่ชัดหรือไม่รู้จักสีหน้าของคนที่อยู่ใกล้ชิดนะคะ ลองทำหน้าตลก ๆ ให้ลูกดู รับรองว่าไม่กี่ทีลูกน้อยเลียนแบบได้แน่ ๆ ค่ะ 4.ส่องกระจก..เพิ่มเสียงหัวเราะเด็กเล็ก ๆ ชอบเล่นกับกระจกเงาทุกคน เขาจะสนุกกับการเห็นหน้าตัวเอง หน้าพ่อแม่ที่ยิ้ม หัวเราะ โบกมือ เพราะภาพข้างหน้าจะทำตอบกลับมาให้ทุกครั้งนั่นเอง 5.จั๊กจี๋..เรียกเสียงหัวเราะเริ่มต้นจากปูไต่ ลูกน้อยฝึกการคาดเดาจากการสัมผัส รู้สึกจั๊กจี๋ก็ทำให้อารมณ์ดี หัวเราะออกมา เป็นการเสริมสร้างเรื่องอีคิวให้ลูกได้อีกทาง 6.เดินเล่นนอกบ้าน..สบายอารมณ์เช้าหรือเย็น แดดอ่อนลมโชยเบา ๆ พาลูกน้อยสำรวจรอบบ้าน จะเป็นต้นไม้ใบหญ้า นกบินผ่าน แมวกระโดด เสียงหมาเห่า คุณพ่อคุณแม่ชี้ให้ลูกมองตาม…

Read more

4 เมนูเด็ดบำบัดอาการลูก : ไอ เจ็บคอ มีเสมหะ

อาหารมีส่วนช่วยฟื้นฟูร่างกายให้แข็งแรงได้แม้ในยามเจ็บป่วย  ขอแนะนำ 4 เมนูช่วยบำบัดอาการ ไอ เจ็บคอ และมีเสมหะค่ะ 1.ซุปฟักทอง หรือผัดฟักทอง สีเหลืองนวลของเนื้อฟักทองนั้นมีสารเบต้าแคโรทีนที่จะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอ ซึ่งช่วยทำให้เนื้อเยื่อของเมือกบุในลำคอและทางเดินหายใจมีความแข็งแรง และช่วยเพิ่มภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย 2.ปลาแซลมอนอบผักรวม วิตามินดีจากไขมันปลาแซลมอนจะช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อในลำคอ นอกจากนี้ยังเต็มไปด้วยผักสารพัด คุณแม่อาจปรุงด้วยซูกินี สควอชเหลือง และมะเขือเทศ เพิ่มความเปรี้ยวด้วยน้ำเลมอนก็จะทำให้ไม่เลี่ยนได้ 3.สลัดกรีกอะโวคาโด วิตามินอีในผลอะโวคาโดและอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมันพืช เช่น น้ำมันมะกอก จะช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อที่ถูกเชื้อโรคทำลายให้แข็งแรง 4.ผลไม้อุดมวิตามินซี ช่วยลดอาการเจ็บคอ เช่น ส้ม สับปะรด เสาวรส มะละกอ แคนตาลูป เงาะ แอปเปิ้ล สตรอเบอร์รี ลิ้นจี่ พุทรา ส่วนเครื่องดื่ม เช่น น้ำมะตูมแก้ร้อนใน ดับกระหาย ชุ่มคอ น้ำมะนาวผสมน้ำผึ้งบรรเทาอาการไอ เจ็บคอ ช่วยขับเสมหะ อาหารควรเลี่ยงอาหารประเภททอด หรือของหวาน เช่น กะทิ โค้ก โดนัท ช็อกโกแลต จะกระตุ้นให้ยิ่งมีเสมหะและอาการไอเพิ่มขึ้น

Read more

ทำไมต้องเลี้ยงลูกให้ซน ?

การเล่นซนมีความสำคัญกับเด็กมากกว่าที่คิดค่ะ เด็ก ๆ สมัยนี้อาจมีโอกาสออกกำลังกายหรือวิ่งเล่นซนน้อยลงเพราะอยู่หน้าจอมากขึ้น ถ้าลูกยังเล็กคุณพ่อคุณแม่อย่าเพิ่งให้เขาเล่นโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต หรือดูโทรทัศน์ นอกจากจะดึงเขาออกมาจากหน้าจอยากแล้ว ลูกยังไม่ได้ทำกิจกรรมที่สร้างความแข็งแรงและเติบโตตามวัย เด็กเล็กโดยเฉพาะวัย 1- 3 ขวบความจริงแล้วเป็นวัยที่เขาจะต้องวิ่งเล่นสำรวจโลกและซน เพื่อเจริญเติบโต แขนขามีกล้ามเนื้อ เมื่อร่างกายแข็งแรงจะมีภูมิต้านทานโรค ไม่เจ็บป่วยบ่อย การได้วิ่งเล่นภายใต้แสงแดดอ่อนยังช่วยให้รับวิตามินดีเพื่อดูแลกระดูกและกล้ามเนื้อ การที่เด็ก ๆ ได้เล่นซนจะช่วยให้เรียนรู้โลกรอบตัว เรียนรู้การป้องกันตัวว่าจะทำยังไงไม่ให้หกล้มแล้วก็แก้ปัญหาทักษะชีวิตเป็น เขาได้อยู่ในโลกจริงไม่ใช่อยู่ในโลกเสมือน เวลาลูกซนหรือป่วนคุณแม่อาจจะรู้สึกว่าไม่ไหวแล้วยื่นมือถือหรือแท็บเล็ตให้ลูกดีกว่าจะได้อยู่นิ่งบ้าง ลองหาตัวช่วยอื่นดีกว่าค่ะ ที่จะทำให้ลูกมีพัฒนาการทางร่างกายแและพัฒนาการด้านต่าง ๆ ควรเลี่ยงให้ลูกอยู่กับมือถือแท็บเล็ตทีวีตั้งแต่ยังเล็ก เพราะจะทำให้ลูกขาดพัฒนาการหลายด้าน ทั้งด้านสังคม ภาษา การเจริญเติบโต ความแข็งแรง การอยู่นิ่งของลูกไม่คุ้มกับสิ่งที่เขาเสียไปค่ะ

Read more

สังเกต 10 อาการลูกแพ้กลูเตน

กลูเตนคือโปรตีนชนิดหนึ่งที่พบในข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และข้าวไรย์ ค่ะ ซึ่งผู้ที่แพ้มักจะรับประทานกลูเตนจากขนมปัง และอาหารอื่น ๆ เช่น บะหมี่ พาสต้า อาการต้องสงสัย  ท้องผูก ท้องอืด หรือท้องเสีย หลังกินอาหารที่มีกลูเตน มีปัญหาผิวหนัง สมองตื้อ เหนื่อย อ่อนเพลีย เป็นโรคแพ้ภูมิแพ้ตัวเอง เช่น ต่อมไทรอยด์เรื้อรังเรื้อรัง โรคไขข้ออักเสบ โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง ฯลฯ เวียนศรีษะ หรือ เสียการทรงตัว ปวดศีรษะ โรคไมเกรน ปวดกล้ามเนื้อ อักเสบ บวม และปวดบริเวณข้อต่อ เช่น ข้อนิ้ว หัวเข่า หรือสะโพก อารมณ์แปรปรวน วิตกกังวล ซึมเศร้า สมาธิสั้น ขาดสารอาหาร โลหิตจาง น้ำหนักลดทั้งที่กินได้ วิธีป้องกัน หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำจากแป้งที่มีกลูเตน แม้กินเพียงนิดก็ทำให้แพ้ได้ บางรายเพียงแค่สัมผัสอาหาร หรือสิ่งที่มีกลูเตนก็ก่อให้เกิดอาการได้ แจ้งทางโรงเรียน…

Read more