Warning: Undefined array key "action" in /var/www/wp-content/themes/kicker-child/functions.php on line 2
ความปลอดภัย | motherandcare
Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

Tag: ความปลอดภัย

child-seat

Child Seatใช้อย่างไรให้ปลอดภัย

จากสถิติขององค์การอนามัยโลกพบว่า ประเทศไทยมีอัตราการเสียชีวิตของเด็กที่เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนมากสุดเป็นอันดับ 2 ของโลก และแต่ละปีมีเด็กกว่า 140 คนที่เสียชีวิตจากรถยนต์ส่วนบุคคลโดยเฉพาะช่วงเทศกาลมีอัตราสูงขึ้นทุกปี การติดตั้งที่นั่งนิรภัย อาจเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับลูกน้อยของคุณ

Read more

3 วิธีล้างผักลดสารเคมี

เตรียมอาหารให้ลูกเองก็ต้องสะอาดปลอดภัย เรามีวิธีล้างผักและผลไม้เพื่อลดสารเคมีมาฝากแม่ ๆ ค่ะ วิธีที่ 1 แช่ผักไว้ในน้ำนาน 15 นาที จากนั้นยกผักขึ้นจากกะละมังแล้วนำไปรองใต้ก๊อก เปิดน้ำก๊อกให้ไหลผ่าน คลี่ใบผักให้โดนน้ำทั่วถึง ใช้มือถูผักผลไม้ และใช้เวลาล้างนานประมาณ 2 นาที วิธีที่ 2 แช่ในน้ำผสมน้ำส้มสายชู 5% ในอัตราส่วน น้ำส้มสายชู 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 4 ลิตร แช่ทิ้งไว้นานประมาณ 15 นาที จากนั้นล้างออกด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง วิธีที่ 3 ใช้เบกกิ้งโซดา ครึ่งช้อนโต๊ะผสมกับน้ำ 10 ลิตร แช่ผักทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที นาทีจากนั้นล้างออกด้วยน้ำสะอาด การล้างผักทั้ง 3 วิธีนี้สามารถช่วยคุณแม่ลดสารเคมีตกค้างและยังช่วยล้างดิน และล้างเชื้อโรคที่ปนเปื้อนอยู่ออกไปจากผักได้ค่ะ ข้อมูลอ้างอิง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

Read more

7 เหตุผลใช้คาร์ซีทแบบพกพา

ขณะโดยสารรถยนต์ ผู้ใหญ่คาดเข็มขัดนิรภัยเพื่อความปลอดภัย ลูกตัวโตอายุเกิน 12 ขวบมักจะใช้เข็มขัดนิรภัยของผู้ใหญ่ แล้วลูกเล็กล่ะมีอะไรปกป้องเขาได้หากเกิดอุบัติเหตุขณะเดินทาง การอุ้มเด็กนั่งเบาะหลังดูเหมือนว่าจะปลอดภัยดี แต่มักพบว่าเมื่อเกิดอุบัติเหตุเด็กจะได้รับอันตรายรุนแรงจากการกระแทกกับตัวรถหรือกระเด็นออกนอกตัวรถ คาร์ซีทจึงมีความจำเป็นและมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับเด็กค่ะ รายงานจาก WHO หรือองค์การอนามัยโลกกล่าวว่าการใช้เบาะนิรภัยสำหรับเด็กสามารถลดอันตรายจากการเกิดอุบัติเหตุ และช่วยลดโอกาสเกิดการสูญเสียชีวิตของเด็กได้ถึง 70 % จะดีแค่ไหนถ้าความปลอดภัยพกพาได้ คาร์ซีทที่พบเห็นโดยทั่วไปมีลักษณะเป็นเก้าอี้นั่งบุนวมติดตั้งในรถยนต์ แต่คาร์ซีทแบบพกพามีขนาดเล็กมาก สามารถพกติดตัวไปได้ทุกที่ นั่นก็คือ Mifold นวัตกรรมนี้คิดค้นขึ้นมาจากไอเดียของ Mr. Jon Sumroy คุณพ่อที่เป็นห่วงสวัสดิภาพยามเดินทางของลูก ๆ ทั้ง 4 คนของเขา จุดเด่นของคาร์ซีทแบบพกพา 1.มีมาตรฐานความปลอดภัยสูง ผลิตด้วยวัสดุเดียวกับที่ใช้ในการผลิตเครื่องบิน จึงมีความแข็งแรง ทนทาน และน้ำหนักเบา เมื่อเกิดอุบัติเหตุสามารถปกป้องความปลอดภัยให้ลูกได้ และได้รับการรับรอง Regulatory Approval จาก US & EU 2.ได้รับ 14 รางวัลระดับสากลจากนานาประเทศทั้งรางวัลด้านความปลอดภัยและการดีไซน์ที่เหมาะสม…

Read more

6 ความสำคัญของคาร์ซีทกับชีวิตลูก

คนเป็นพ่อเป็นแม่ทุกคนเป็นห่วงความปลอดภัยของลูกในทุกเรื่อง รวมทั้งขณะเดินทางโดยรถยนต์ด้วยใช่ไหมคะ คำถามก็คือ…เราปกป้องลูกให้ปลอดภัยจากอันตรายหากเกิดอุบัติเหตุแล้วหรือยัง หากไม่แน่ใจหรือคิดว่าลูกปลอดภัยในยามเดินทางเพียงพอแล้ว มาดูข้อเท็จจริง 6 ข้อนี้กันค่ะ 1.การที่ในรถไม่มีที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กหรือคาร์ซีท หากเกิดอุบัติเหตุรถชน โอกาสเกิดอันตรายจะมีสูง ทั้งจากตัวเด็กกระแทกกับตัวรถหรือกระเด็นออกนอกรถ 2.WHO องค์การอนามัยโลกให้ข้อมูลว่า การใช้คาร์ซีทช่วยลดอันตรายจากอุบัติเหตุและลดโอกาสเสียชีวิตได้ถึง 70 % 3.เด็กอายุต่ำกว่า 13 ปีควรนั่งเบาะหลังเท่านั้น และใช้คาร์ซีท หากตัวโตพอจะใช้เข็มขัดนิรภัยที่ติดมากับรถยนต์ สายรัดจะต้องอยู่ในจุดที่ไม่เป็นอันตรายกับตัวเด็ก 4.การอุ้มเด็กนั่งเบาะหลังไม่ปลอดภัยเพียงพออย่างแน่นอน หากเกิดอุบัติเหตุรถชนรุนแรงรถจะหยุดกะทันหัน มักพบอุบัติเหตุที่เด็กไม่ได้อยู่ในที่นั่งนิรภัยจึงไม่มีสิ่งยึดตัวไว้ จะกระแทกกับตัวรถ หรือหลุดกระเด็นออกนอกรถ 5.ไม่ควรให้เด็กอายุไม่ถึง 13 ปีหรือตัวยังไม่โตพอคาดเข็มขัดนิรภัยที่ติดมากับรถยนต์ เพราะเป็นของที่ทำขึ้นมาเพื่อให้พอดีกับขนาดตัวของผู้ใหญ่ หากเกิดอุบัติเหตุสายเข็มขัดนิรภัยอาจบาดหน้าหรือคอเด็ก เสี่ยงต่อการบาดเจ็บและชีวิตของเด็ก 6.เด็กทุกวัยควรใช้คาร์ซีท ซึ่งควรเลือกให้เหมาะสมกับขนาดตัวของเด็ก เด็กแรกเกิดถึง 2 ขวบควรใช้คาร์ซีทแบบหันหน้าไปทางท้ายรถ เพราะเด็กวัยนี้ศีรษะใหญ่กระดูกคออ่อนอยู่ การนั่งหันไปข้างหน้าเวลาเกิดอุบัติเหตุศีรษะจะสะบัดไปด้านหน้าและกลับมาข้างหลังกระดูกต้นคอหักได้ง่าย ควรปรับเปลี่ยนขนาดคาร์ซีทให้เหมาะกับตัวลูกเมื่อโตขึ้น คาร์ซีทพกพาเหมาะกับเด็กวัย 4-12 ขวบ เพราะเป็นการใช้ร่วมกับสายคาดนิรภัยที่ติดอยู่กับรถยนต์สามารถปรับขนาดสายให้เหมาะกับตัวเด็ก ทั้ง 6 ข้อนี้น่าจะเป็นตัวช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ประเมินได้ว่าดูแลความปลอดภัยให้ลูกยามเดินทางเพียงพอแล้วหรือยัง ถ้ายังควรเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยให้ลูกโดยด่วนค่ะ

Read more