Warning: Undefined array key "action" in /var/www/wp-content/themes/kicker-child/functions.php on line 2
Knowledge | motherandcare - Part 2
Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

Tag: Knowledge

4 วิธีเปลี่ยนผักอี๋ ๆ เป็นผักเลิฟ ๆ

เพื่อให้ลูกเป็นเด็กรักผัก เรามีเคล็ดลับง่าย ๆ ที่จะช่วยให้มื้อผักที่เด็ก ๆ เอาแต่ส่ายหน้า มาเป็นอ้าปากอ้ำแต่โดยดีกันค่ะ การกินของลูกจะสนุกหากคุณแม่ไม่เคร่งครัดเกินไป ทำให้เป็นเรื่องท้าทาย น่าลอง ทำด้วยความสุขจาก 4 วิธีนี้ค่ะ 1.สร้างความสนุกกับเรื่องผัก สมมติให้ลูกเป็นฮีโร่ เป็นสัตว์ตัวน้อยที่กินผัก เช่น กระต่ายน้อยชอบแครอต เป็นต้น 2.ดัดแปลงรูปแบบการปรุง นำผักที่คุณแม่อยากให้ลูกลิ้มลอง มาปั่นเป็นเนื้อเดียวกับผลไม้ เช่น แคนตาลูป, แอปเปิ้ล แล้วเติมความสดชื่นด้วยน้ำแข็งค่ะ 3.สลับสับเปลี่ยนให้ลูกลองเมนูผัก ที่ไม่จำเจกับชนิดใดชนิดหนึ่ง เพื่อให้ลูกได้รู้จักกับผักหลากหลายชนิด 4.ให้คำชม แสดงความชื่นชม เป็นรางวัล ลูกจะยิ่งรู้สึกดีกับการกินและชื่นชอบเมนูผัก แรก ๆ ลูกอาจปฏิเสธเมนูที่คุณแม่ทำ อย่าเพิ่งท้อ ค่อย ๆ ให้ทีละนิดทีละหน่อย ทำบ่อยครั้ง สักพักลูกก็จะคุ้นเคยเริ่มถูกใจเมนูผักบ้างแล้วละค่ะ

Read more

5 Do ฝึกหนูให้รู้จักขับถ่าย

การฝึกลูกขับถ่ายต้องอาศัยเวลา ความเข้าใจ ความอดทนของคุณแม่เป็นหลัก มีเทคนิคดี ๆ ที่คุณแม่ควรทำมาฝาก 5 ข้อค่ะ 1.Do : เข้าใจพัฒนาการ การควบคุมการขับถ่าย ขึ้นอยู่กับความพร้อมของกล้ามเนื้อหูรูดและสมองส่วนที่ควบคุมประสาทสัมผัส นักจิตวิทยาเด็กพบว่าช่วงที่ประสบความสำเร็จ คือ ช่วงที่ลูกเริ่มให้ความสนใจในการขับถ่าย จึงจะสามารถฝึกได้ดี 2.Do : ชมเชยและให้กำลังใจ เมื่อลูกบอกความต้องการขับถ่าย ควรชมและให้กำลังใจลูกทุกครั้งที่ลูกบอกได้ก่อน หรือแม้แต่เมื่อลูกบอกหลังจากฉี่หรืออึไปแล้วก็ควรชม เพราะอย่างน้อยเหล่านี้ก็แสดงถึงความรับผิดชอบต่อตนเองของลูก 3.Do : ใส่ชุดถอดง่าย ใช้ผ้าอ้อมกับลูกให้น้อยที่สุด แล้วหันมาใส่กางเกงเอวยางยืดให้ลูกถอดได้ง่าย ลูกจะได้ถอดเองทันเวลา หรือจัดการเปลี่ยนได้เร็วขึ้น การหากางเกงที่ถอดใส่ได้ง่าย จะทำให้ลูกภูมิใจที่ช่วยเหลือตัวเองได้ในเรื่องนี้ค่ะ 4.Do : สังเกตอาการ คอยสังเกตอาการเวลาลูกต้องการขับถ่าย ลูกอาจแสดงสีหน้าท่าทางหรือคำพูด ส่วนใหญ่ลูกจะบอกว่าฉี่ไม่ค่อยทัน ปัสสาวะออกมาแล้วถึงค่อยบอกให้รู้ แต่ถ้าปวดอุจจาระจะบอกทัน 5.Do : ฝึกลูกพึ่งตัวเอง การฝึกให้ลูกเข้าห้องน้ำเอง กดชักโครกเอง ตักราดเอง ถอดเสื้อผ้ากางเกงเอง โดยเตรียมเสื้อผ้ากางเกงที่ใส่ได้ง่ายๆ ให้ลูกด้วย…

Read more

5 Don’t เพื่อการขับถ่ายที่ดี

การควบคุมการขับถ่ายเป็นความสามารถหนึ่งในพัฒนาการของเด็ก ซึ่งต้องอาศัยความพร้อมทางด้านร่างกายและจิตใจ การฝึกจากพ่อแม่ สิ่งแวดล้อมและประสบการณ์ของเด็กค่ะ เด็กแต่ละคนมีความพร้อมที่แตกต่างกัน ฉะนั้นถ้าจะฝึกลูกให้ขับถ่ายได้ดีคุณพ่อคุณแม่ไม่ควรทำ 5 ข้อนี้นะคะ 1.Don’t : อย่าเร่งรัดหรือบังคับ อย่าใจร้อนเร่งรัดให้ลูกขับถ่ายเร็ว ๆ เพราะถ้ากล้ามเนื้อส่วนที่ถูกควบคุมการขับถ่ายยังไม่พร้อม ก็จะไม่ประสบความสำเร็จยิ่งมีท่าทีบังคับ ลูกก็จะยิ่งกลั้นไว้ ทำให้ลูกเป็นทุกข์ และมีปัญหาในการขับถ่ายตามมา 2.Don’t : อย่าลงโทษ เพราะการลงโทษ การดุว่าหรือตีลูก มีแต่จะทำให้เกิดการต่อต้าน ดื้อรั้น เกิดความกลัว ความโกรธ ไม่ยอมขับถ่าย ควรใช้การให้รางวัล การชมเชย และให้กำลังใจจะดีกว่า 3.Don’t : อย่าคาดหวัง อย่าคาดหวังจริงจังกับการฝึกขับถ่ายจนกว่าลูกจะครบ 2 ขวบ เมื่อถึงวัยนี้เด็กจะควบคุมการขับถ่ายได้ค่อนข้างดี ขับถ่ายเป็นเวลาในช่วงกลางวัน บอกหรือแสดงอาการให้รู้ว่าต้องการขับถ่ายได้ ส่วนการควบคุมการปัสสาวะมักทำได้ในภายหลัง 4.Don’t : อย่าลืมเข้าห้องน้ำ เมื่อลูกดื่มนมก่อนนอน ควรพาเข้าห้องน้ำให้เคยชินเป็นนิสัย หรือไม่ว่าจะเวลาใดก็ตามเมื่อลูกปัสสาวะไปได้สัก 2 ชม. ควรพาเข้าห้องน้ำ เพื่อลดปัญหาปัสสาวะรดกางเกงหรือที่นอน 5.Don’t : อย่าสนใจแต่น้อง…

Read more

5 จุดเสี่ยงเมื่อพาลูกเที่ยวห้างฯ

อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในห้างสรรพสินค้าส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นกับเด็กค่ะ การสอนลูกให้รู้จักระวังจึงเป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุด มาดูกันว่าเมื่อพาเด็ก ๆ ไปห้างต้องระวังในจุดไหนบ้าง  1. บันไดเลื่อน จูงมือลูกตลอดขณะอยู่บนบันได ให้ลูกยืนหันหน้าไปทิศเดียวกับการเลื่อนของบันได ดูความเรียบร้อยของเสื้อผ้า ชายเสื้อกางเกง กระโปรง เชือกผูกรองเท้าไม่ให้มีส่วนไหนเข้าไปติดในบันไดเลื่อน ไม่ให้ลูกนั่งหรือเล่นขณะที่อยู่บนบันไดเลื่อน แม้แต่การยืนหันหลังก็ไม่ควรทำ เลี่ยงใช้รถเข็นเด็กขึ้นบันไดเลื่อน ใช้ลิฟต์แทนเพราะอาจเกิดอุบัติเหตุรถหลุดมือหรือลื่นไถล 2. ลิฟต์ ต่อคิวรอลิฟต์หากคนแน่นมาก รอรอบต่อไป สอนลูกไม่ให้ยืนพิงประตูลิฟต์ เมื่อเกิดเหตุขัดข้อง เช่น ลิฟต์ค้างต้องมีสติ สังเกตแผงวงจร (บริเวณที่กดปุ่มเลือกชั้น) จะมีปุ่ม Emergency Call บนแผงปุ่มกดภายในตัวลิฟต์ สอนลูกไม่ให้กระโดดโลดเต้น ไม่วิ่งเล่นในลิฟต์ หรือกดปุ่มขึ้นลงเล่น ไม่ยืนใกล้ประตูลิฟต์มากเกินขณะยืนรอ อาจถูกชนจากผู้โดยสารด้านในหกล้มได้ กฎเหล็กที่ต้องท่องจำคือ น้ำท่วม ฟ้าผ่า แผ่นดินไหว และไฟไหม้ ห้ามใช้ลิฟต์ 3. ประตูและพื้น เวลาเดินเข้าออกให้ลูกอยู่ตรงกลางประตู พ่อแม่จับมือยืนอยู่ข้าง ๆ ลูก หรืออุ้มลูก ระวังทางเดินในห้างฯ หรือลานกว้าง อาจมีสิ่งกีดขวาง มีน้ำ ทำให้ลูกสะดุดลื่นล้ม ไม่ปล่อยให้ลูกวิ่งเล่นตามลำพัง…

Read more

ปรุงเมนูผักยังไงให้โดนใจลูก ?

เด็กไม่ชอบกินผักอาจมาจากเหตุผลหลายหลายประการค่ะ เช่น เหนียว เคี้ยวยาก รสชาติไม่อร่อย มีกลิ่นฉุน ฯลฯ แต่ผักก็อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายเสียด้วยสิ คุณแม่จึงต้องหาวิธีปรุงและค่อย ๆ หัดให้ลูกเริ่มต้นจากผักที่กินง่าย มีข้อแนะนำสำหรับการให้ลูกหม่ำผักแต่ละประเภทมาฝากค่ะ 1.ผักมีใบ สำหรับเด็กเล็ก นำมาต้มหรือตุ๋นให้สุกแล้วบดละเอียด โตหน่อยอาจซอยเป็นชิ้นเล็ก ๆ โรยหน้าหรือทำเป็นข้าวผัดก็ได้ต้องเลือกผักที่มีรสหวานใบนิ่มเป็นหลักเลยนะคะ 2.ผักมีก้าน หรือแบบเนื้อแข็งต้องทำให้เหมาะสม เช่น ถ้าลูกโตพอมีฟันบดหรือเคี้ยวอาหารได้ ก็ใช้วิธีนึ่งหรือต้ม หั่นเป็นแท่งก็ช่วยให้เด็ก ๆ หยิบจับ กัด ง่ายต่อการชวนลูกกินผัก 3.ผักมีกลิ่นฉุน เด็กหลายคนร้องยี้ ทำหน้าเบ้กับผักที่มีกลิ่น เช่น ผักชี ต้นหอม หรือขึ้นฉ่าย อาจไม่ชื่นชอบผักประเภทนี้มากนัก แนะนำว่า ยังไม่ควรนำมาปรุงอาหารในช่วงเริ่มต้นอาหารเสริมสำหรับเบบี๋ เพราะจะทำเกิดความรู้สึกติดลบกับการกินผัก ลองทำดูนะคะคุณแม่เผื่อเปลี่ยนใจคุณลูกให้เป็นเด็กรักผักค่ะ

Read more

แก้ปัญหาพี่น้องแย่งของเล่นยังไงดี ?

Q : ลูกชอบแย่งของเล่นชิ้นเดียวกัน พอพี่หยิบของเล่นชิ้นไหนน้องก็จะแย่งชิ้นเดียวกัน มีวิธีแก้ปัญหายังไงไม่ให้ลูกทะเลาะกัน ? A : ความจริงแล้วมนุษย์เรามีความเคยชินอย่างหนึ่งนั่นก็คือการเปรียบเทียบฉันมีอันนี้เธอมีอันนี้ ของเธอใหญ่กว่า ของเธอสวยกว่า กรณีที่มีของเล่นชิ้นหนึ่งพี่หรือน้องได้ไป ก็เกิดการเปรียบเทียบชัดเจนเลยว่าทำไมเขามีชิ้นนี้แต่เราไม่มี ถ้าคุณพ่อคุณแม่ไม่ได้ให้คำแนะนำ หรือใช้วิธีการแก้ปัญหาผิดจุด เช่น ลูกแย่งลูกบอลกันคุณพ่อคุณแม่บอกว่าให้น้องไปก่อน เดี๋ยวซื้ออันใหม่ให้พี่ นี่คือการแก้ปัญหาที่ผิดจุด เราห้ามเด็กไม่ให้เปรียบเทียบกันไม่ได้ แต่วิธีที่จะแก้ไขสถานการณ์นั้นเรากำหนดได้ ต้องดูตามสถานการณ์ว่าของชิ้นนั้นเล่นร่วมกันได้หรือไม่ ถ้าของชิ้นนั้นเล่นร่วมกันได้อย่างเช่น ฟุตบอล ไม่น่าแก้ไขด้วยกันให้ใครคนใดคนหนึ่งก่อน อาจพูดคุยกับลูกว่าการเล่นคนเดียวแค่เดาะบอล แต่เล่นด้วยกันมีการรับส่งจะสนุกกว่าไหม แบบนี้พี่น้องก็จะไม่ทะเลาะกัน ถ้าเป็นของเล่นที่จะต้องเล่นคนเดียว เช่น รถแทรกเตอร์ น้องเล่นอยู่พี่มาแย่ง คุณแม่ลองชวนลูกสร้างเรื่องราวจินตนาการเช่น ชวนให้พี่เล่นเป็นเจ้าของบริษัท จ้างรถแทรกเตอร์ให้ไปขุดดิน ลูกก็จะเล่นด้วยกันได้ คุณพ่อคุณแม่ต้องรู้จักปรับเปลี่ยนอารมณ์ลูก หรือเบี่ยงเบนความสนใจ และคิดหากิจกรรมเพื่อให้ลูกเล่นด้วยกันโดยไม่ต้องทะเลาะกันค่ะ เรียบเรียงจาก : สัมภาษณ์ ครูเคท - ดร.เนตรปรียา มุสิกไชย ชุมไชโย พิธีกร : แม่แอร์ Thelovelyair.com Facebook :…

Read more

5 Tips ฝึกลูกหม่ำเอง

ในวัย 8-9 เดือนลูกเริ่มสนใจจับทุกอย่างเข้าปาก ! เป็นโอกาสดี ๆ ที่คุณแม่จะฝึกให้ลูกหยิบจับอาหารหม่ำเอง มีเทคนิคง่าย ๆ มาแนะนำค่ะ 1.เตรียมอาหารที่ดีต่อสุขภาพลูก อย่างผักหรือผลไม้รสอ่อน เริ่มต้นด้วยอาหารชิ้นเล็ก ๆ นิ่ม ๆ เพื่อป้องกันการสำลักหรือติดคอ 2.เตรียมอาหารไว้น้อย ๆ ก็พอ แล้วปล่อยให้ลูกตัดสินใจเองว่าจะกินหรือไม่ ลองปล่อยให้ลูกหยิบ จับ เล่นกับอาหารเพื่อทำความคุ้นเคย ต้องยอมให้เลอะเทอะบ้าง แรก ๆ คุณแม่ยังคงป้อนอยู่นะคะ เพื่อให้ลูกได้อาหารพอเพียงกับความต้องการของร่างกาย 3.ถ้าลูกอยากถือช้อนเองปล่อยตามใจเขาค่ะ โดยคุณแม่สอนวิธีการกิน อาจการจับมือลูกให้แน่นแล้วค่อย ๆ ป้อนเข้าปากลูกช้า ๆ 4.ถ้าลูกเริ่มเล่นอาหาร ให้ลูกหยุดกิน โดยคุณแม่ทำสีหน้าปกติ ไม่ดุหรือแสดงอาการตื่นเต้นร้อนรนให้ลูกเห็น เพราะจะยิ่งทำให้ลูกเล่นอาหารไม่เลิก และจะทำเช่นนี้อีกในครั้งต่อไป พยายามควบคุมเวลากินของลูกแต่ละมื้อให้อยู่ในราว ๆ 30 นาทีค่ะ 5.ใช้ชามพลาสติกก้นกว้างที่หกยากไม่แตกง่าย และช้อนขอบมน ขนาดเหมาะกับปากของลูก ด้ามช้อนให้จับได้ง่าย เพื่อให้ลูกตักอาหารป้อนตัวเองได้ มีการศึกษาพบว่าในช่วงอายุ 11 เดือน…

Read more

7 เคล็ดลับแก้ปัญหาลูกอมข้าว

คุณแม่หลายคนเจอปัญหาลูกอมข้าว ส่วนใหญ่อมเสร็จคายทิ้ง ทำบ่อยอาจขาดอาหาร คุณแม่อย่าเพิ่งกังวลใจปัญหานี้มีทางแก้ค่ะ 1.ปรับอาหารให้เหมาะกับวัย ช่วงเริ่มกินอาหารใหม่ ๆ นอกจากนมคุณแม่บดอาหารละเอียดก่อน ต่อมาค่อยปรับเป็นอาหารชิ้นใหญ่ขึ้น จากบดละเอียดเป็นสับหยาบและหั่นชิ้นเล็ก ลูกมีฟันขึ้นแล้วอย่าให้แต่อาหารบดละเอียดอีก ถ้าลูกไม่ได้ฝึกเคี้ยวก็จะเคยชินกับการกลืน และอาจติดเป็นิสัยเพราะกินง่าย 2.อย่าให้นมแทนข้าว เวลาลูกอมข้าวคุณแม่อาจกังวลว่าลูกจะไม่โต ให้กินนมแทนดีกว่าไม่ได้กินอะไร นั่นเท่ากับคุณแม่กำลังฝึกให้ลูกกินนมแทนข้าว อย่าเพิ่งใจอ่อนตามใจ ให้ได้บ้างนิดหน่อยแต่อย่ามากจนอิ่ม 3.ไม่เล่นระหว่างกินข้าว ให้ลูกมุ่งความสนใจไปที่การกินอาหาร กินไปเล่นไปเด็กจะสนใจการเล่น เวลาลูกกินทุกคำที่ป้อนโดยไม่รู้ตัวเหมือนจะดี แต่ก็จะลืมเคี้ยว 4.ไม่ให้ดูโทรทัศน์ใช้แทบเล็ตหรือมือถือระหว่างกินข้าว สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะดึงดูดความสนใจของลูกออกไปจากการกิน 5.ชวนลูกให้สนใจการกิน อาจจะชวนคุยให้ลูกอารมณ์ดี หรือพูดคุยเกี่ยวกับอาหารเช่น อาจจะถามลูกว่าพรุ่งนี้ลูกอยากกินอะไร ชวนให้เขามีส่วนร่วมในการทำอาหารก็จะช่วยให้เขาสนใจการกิน 6.อย่าใช้เวลานานเกินไป ไม่เกินครึ่งชั่วโมง การพยายามให้ลูกกินหมดชามคุณแม่อาจเข้าใจว่าภารกิจประสบความสำเร็จ แต่ความจริงแล้วทำให้ลูกไม่มีวินัยในการกิน 7.จัดเวลามื้อของว่างให้เหมาะ ระหว่างมื้อ ลูกหิวขึ้นมาขอนมหรือขนมคุณแม่กลัวลูกหิวก็มักจะให้กิน ให้กินได้แต่ไม่ต้องมากจนอิ่มเกินไป และไม่ควรให้กินใกล้เวลาอาหาร ถ้าลูกอมข้าวน้อยลงอย่าลืมชมนะคะ เขาจะได้มีกำลังใจและรู้สึกภูมิใจค่ะ

Read more

6 เรื่องเสี่ยงช่วงปิดเทอมลูกวัยซน

วันหยุดช่วงปิดเทอมเด็ก ๆ ได้เที่ยวหรือทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ บางครั้งลูกซุกซนไม่รู้ถึงภัยอันตรายใกล้ตัว คุณแม่ควรระวังเรื่องความปลอดภัยด้วยค่ะ จุดเสี่ยงมีอะไรบ้าง 1.คลอง บึง สระน้ำ เป็นสถานที่เกิดอุบัติเหตุและเสียชีวิตบ่อยในเด็กเล็กกและเด็กโตของบ้านเรา พบว่าเด็กอายุระหว่าง 5-6 ปี มักจมน้ำเสียชีวิตจากบ่อ หนอง คลอง บึง และสระว่ายน้ำในชุมชนหรือหมู่บ้าน และเกิดจากการไปวิ่งเล่นบริเวณใกล้แหล่งน้ำแล้วพลัดตกและจมน้ำ 2.ยานพาหนะ ข้อมูลเด็กที่เสียชีวิตจากการจราจรโดยเฉพาะช่วงปิดเทอมยอดพุ่งเพิ่มขึ้นกว่าปกติ เป็นอุบัติเหตุที่เกิดจากการรถจักรยานยนต์ สาเหตุที่พบคือการให้เด็กนั่งซ้อนท้ายจักรยานยนต์ หรือแม้แต่การให้ขับขี่เอง 3.นอกบ้าน สถานที่ เช่น ห้างสรรพสินค้าฯ ร้านเกม คือสถานที่ที่มีเด็กพลัดหลงหรือหาย และถูกลักพาตัวเป็นอันดับต้น ๆ วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ ไม่ควรปล่อยลูกอยู่ตามลำพัง และสอนลูกเรียนรู้เรื่องคนแปลกหน้า การช่วยเหลือตัวเองในกรณีพลัดหลง เป็นต้น 4.ในบ้าน บ้านไหนมีเด็กวัยซนต้องใส่ใจให้มาก ในจุดเสี่ยงเหล่านี้ เช่น ระเบียงบ้าน บานหน้าต่างห้อง บันได ห้องครัว ควรกั้นไม่ให้เข้าถึง รวมทั้งปลั๊กไฟ อุปกรณ์อันตราย…

Read more

7 วิธีป้องกันผิวแห้งให้ลูกในหน้าหนาว

หน้าหนาวมาเยือนทีไรลูกน้อยมักจะมีปัญหาผิวแห้งแตกเนื่องจากผิวเด็กอ่อนบางมีโอกาสแห้งแตกง่ายหากผิวลูกแห้งมากเป็นขุยแตกและรู้สึกคัน เมื่อคันลูกก็จะเกา ทำให้มีโอกาสเกิดปัญหาผิวหนังอักเสบติดเชื้อได้ mother&care มีเคล็ดลับดี ๆ ในการปกป้องผิวลูกน้อยมาฝากค่ะ ให้ลูกดื่มน้ำเพิ่มขึ้นเพื่อคงความชุ่มชื้นของผิวหนังเอาไว้ การใช้น้ำอุ่นอาบน้ำให้ลูกไม่ควรใช้น้ำอุ่นจัดเกินไปเพราะจะเป็นสาเหตุทำให้ผิวลูกแห้งมาก เลี่ยงการใช้ฟองน้ำหรือผ้าเช็ดตัวขัดถูผิวลูก หยดน้ำมันมะกอกลงในน้ำอาบให้ลูกเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น ทา Babyครีมเพิ่มความชุ่มชื้นให้ลูก หลังอาบน้ำ สวมเสื้อผ้าเพื่อความอบอุ่นและช่วยปกป้องผิวให้ลูก เลี่ยงการพาลูกออกไปสัมผัสกับแสงแดดจัดดูแลครบทุกข้อหนาวนี้ผิวลูกก็ไม่แห้งแตกแล้วค่ะ

Read more