Warning: Undefined array key "action" in /var/www/wp-content/themes/kicker-child/functions.php on line 2
บางสิ่งที่มีอิทธิพลนอกจากการเลี้ยงดูสั่งสอนของพ่อแม่ | motherandcare
Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

Tag: บางสิ่งที่มีอิทธิพลนอกจากการเลี้ยงดูสั่งสอนของพ่อแม่

เลี้ยงลูกไม่ให้ชินชากับความรุนแรง

เดี๋ยวนี้สื่อต่างๆ ในประเทศไทย เช่น ละคร ข่าว ถ้าอะไรที่มีความรุนแรงเข้ามาเกี่ยวข้อง มักจะเป็นที่สนใจสำหรับคนทั่วไปมากเป็นพิเศษ ถ้าพูดกันตามหลักจิตวิทยา ก็คงเป็นเพราะสัญชาตญาณในส่วนลึกของมนุษย์ก็มีความต้องการทำตามใจตัวเองและแนวโน้มจะรุนแรงอยู่ เพียงแต่ถูกขัดเกลาด้วยการเรียนรู้ หล่อหลอมด้วยกฎระเบียบของสังคม ศีลธรรมและมโนธรรมในใจ การขัดเกลาจึงมีความสำคัญ เริ่มที่จุดที่สำคัญที่สุดคือการเลี้ยงดู อบรมสั่งสอนของพ่อแม่ และ สิ่งแวดล้อมที่ไม่สนับสนุนในเรื่องความรุนแรง แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วง เพราะเราอยู่ในสังคมที่ความรุนแรงถูกมองเป็นเรื่องธรรมดา หรือตลกขบขัน เราเห็นได้จากในสื่อต่าง ๆ ทั้งในยูทูป ภาพยนตร์ รายการตลก จะเห็นบ่อย ๆ ว่า มุขตลกที่ถูกนำมาเล่นบ่อย ๆ คือ การที่คนคนหนึ่งกระทำความรุนแรงกับอีกคน ไม่ว่าจะเป็น การแกล้ง รังแก ทำให้อีกฝ่ายเจ็บตัว ที่หมอจำได้เลย เห็นบ่อย ๆ ตอนเด็ก ๆ คือ ภาพดาราตลกในรายการทีวีที่เอาถาดตีไปหัวอีกคน แล้วก็ขำกันไป หมอเคยคุยกับเด็กผู้ชายคนหนึ่ง พ่อแม่พามาตรวจเพราะเด็กชอบแกล้งเพื่อน เช่น ตบศีรษะ ผลักที่ตัว ใช้ขาขัดเวลาเพื่อนเดินผ่าน เพื่อนที่ถูกแกล้งมักจะมีอาการเจ็บเนื้อเจ็บตัว เพราะเด็กตัวใหญ่ แรงมาก ตอนที่คุยกับเด็ก ถามว่าทำไมถึงไปแกล้งเพื่อนล่ะ เด็กก็ตอบแบบไม่คิดอะไรว่า “ผมก็แค่อยากจะทำสนุก ๆ…

Read more

เตรียมลูกให้พร้อม..พึ่งพาตัวเอง

ไม่กี่เดือนก่อน หมอได้ดูละครเรื่องหนึ่ง ในละครเป็นฉากที่พ่อและลูกสาวกำลังพูดคุยกัน “ห๊า! รถราคาสิบล้าน” “ค่ะ ถูกมากนะคะ คุณพ่อซื้อให้พิมพ์นะคะ” “แต่ว่า พ่อเพิ่งออกรถให้หนูใหม่ไม่ถึงสามเดือนนี้เองนะ พ่อว่าอะไรที่ไม่จำเป็นอย่าเพิ่งซื้อเลย รถที่บ้านก็มีเยอะแยะ” “โธ่ คุณพ่อ พิมพ์อยากได้คันใหม่ นะคุณพ่อ” ด้วยความที่เป็นลูกสาวสุดที่รักยิ่งกว่าแก้วตา ในที่สุดพ่อก็ซื้อรถให้พิมพ์ แม้ว่าธุรกิจของพ่อจะมีปัญหาเรื่องการเงินอย่างหนัก ส่วนพิมพ์ก็ไม่เคยรู้ปัญหาของพ่อมาก่อนเลย แม่ของพิมพ์เสียไปตั้งแต่เด็ก เธอมีแต่พ่อที่เลี้ยงเธอมาตั้งแต่เล็กๆ ซึ่งเลี้ยงเธออย่างเอาใจและตามใจทุกอย่าง เพราะพ่อมีฐานะร่ำรวย พิมพ์อยากได้อะไรพ่อก็ไม่เคยขัดใจ ทำให้เธอโตมาอย่างเป็นคนที่เอาแต่ใจตัวเอง ยึดตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง ประมาณโลกต้องหมุนรอบตัว วีนเหวี่ยงไปทุกเรื่องที่ไม่ตรงตามใจเธอ โดยไม่สนใจว่าคนอื่นจะรู้สึกหรือเป็นอย่างไร ที่ผ่านมาพ่อเป็นที่พึ่งพาและเป็นทุกอย่างของพิมพ์ ทำให้พิมพ์ไม่เคยทุกข์ร้อนหรือผิดหวังจากเรื่องใดๆ เพราะมีพ่อคอยช่วยเหลืออุ้มชูเสมอมา จนวันหนึ่งที่พ่อจากเธอไปอย่างไม่มีวันกลับ พร้อมกับทิ้งหนี้สินไว้กับธุรกิจล้มละลาย ชีวิตของพิมพ์ จากที่เป็นเหมือนกับหงส์ที่เฉิดฉาย ก็กลายเป็นดั่งหงส์ปีกหัก มีคำพูดหนึ่งของพ่อที่พูดไว้ก่อนที่จะจากไป “พิมพ์ ชีวิตของคนเรามันไม่แน่นอน พ่ออยากให้ลูกจำไว้ว่า ถ้าวันหนึ่งพ่อไม่มีเงินให้ลูกใช้เหมือนทุกวันนี้ แต่พ่อก็ยังรักลูกที่สุด” แต่การที่เด็กคนหนึ่งจะเติบโตมาเป็นคนที่พึ่งพาตัวเองได้ ความรักของพ่อแม่อย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ คงจะต้องมีทักษะชีวิตอื่นๆ ที่พ่อแม่ต้องปลูกฝังให้เด็กคนหนึ่งเรียนรู้ เพราะในชีวิตจริง ไม่มีอะไรที่ได้มาง่ายๆ เวลาที่เป็นเด็กเล็กๆ สิ่งที่เด็กๆ อยากได้อาจจะเป็นของเล่น พอโตขึ้นมาเป็นวัยรุ่นอาจอยากได้เสื้อผ้าใหม่ๆ รองเท้าสวยๆ หรืออย่างพิมพ์ที่อยากได้รถราคาแพง สิ่งของเหล่านี้ เงินซื้อมาได้ ถ้าหากมีเงินพอก็คงไม่ยากที่จะทำตามความต้องการ แต่ในชีวิตเราของบางอย่างที่ปรารถนา เงินอาจซื้อหามาไม่ได้ เช่น เพื่อนที่จริงใจ ความรักที่ดี สิ่งเหล่านี้ต้องแลกมาด้วยความจริงใจ…

Read more

เตรียมลูกเข้าโรงเรียน

ตั้งแต่คลอด เด็กๆ มักแวดล้อมไปด้วยพ่อแม่ ญาติพี่น้อง และสิ่งแวดล้อมที่คุ้นเคย หากพ่อแม่และบุคคลใกล้ชิดให้ความรักอย่างสม่ำเสมอ ตอบสนองอย่างเหมาะสม และสนับสนุนพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ลูกก็น่าจะเติบโตขึ้นเป็นเด็กที่มั่นใจและพร้อมจะเผชิญโลกกว้างได้ เมื่ออายุ 2-3 ปี เด็กส่วนใหญ่จะเริ่มเข้าโรงเรียน การปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมใหม่ก็ไม่น่ายากนัก แต่หากพ่อแม่ไม่ได้เตรียมพร้อมก็อาจทำให้การปรับตัวเป็นไปได้ยาก พ่อแม่สามารถช่วยให้ลูกประสบความสำเร็จ ในการปรับตัวกับการเข้าโรงเรียนได้โดยช่วยลูก เตรียมพร้อมในหลายๆ ประเด็น ดังต่อไปนี้ ให้ความสัมพันธ์ที่มั่นคง ความสัมพันธ์หรือความผูกพันที่มั่นคงเกิดจากการที่ลูกกับพ่อแม่มีปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง คาดการณ์ได้ และเหมาะสม เด็กเล็กต้องการการสัมผัส การโอบกอด การเล่น ที่เขารู้สึกได้ว่ามีความสนุกร่วมกัน มีความสนใจร่วมกัน รวมทั้งมีการชื่นชมด้วยหากมีโอกาส ความผูกพันที่มั่นคงนี้ จะช่วยให้ลูกรู้สึกมั่นคงในอารมณ์และมั่นใจในตนเองตามมา ให้ลูกช่วยเหลือตัวเอง พ่อแม่ควรเปิดโอกาสให้ลูกได้ช่วยเหลือตัวเองเท่าที่จะทำได้ในกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับตัวเขาเอง เช่น การอาบน้ำ การแต่งตัว การใส่รองเท้า การกินข้าว การเก็บของเล่น เป็นต้น แน่นอนในวัย 2-3 ปี ยังทำกิจวัตรเหล่านี้ได้ไม่สมบูรณ์ แต่พ่อแม่ก็ควรเปิดโอกาสให้ทำเองโดยไม่ต้องคาดหวังผลเลิศนัก ในการกินลูกอาจจะยังใช้ช้อนไม่คล่อง อาจใช้มือหยิบจับของเข้าปากบ้าง อาจหกเลอะเทอะบ้าง พ่อแม่ต้องยอมให้เกิดขึ้นได้โดยไม่หงุดหงิด พร้อมทั้งแสดงความชื่นชมหากลูกทำได้ดี ในการ แต่งตัวลูกอาจเก้ ๆ กัง ๆ พ่อแม่ก็คงต้องเข้าไปช่วยบ้างตามความเหมาะสม…

Read more

เมื่อคุณแม่ช่างวิตกจริต..

“ต๊าย..ตาย..รองเท้าเปื้อนโคลนหมดแล้วลูก” เสียงคุณแม่ยังสาววัยสามสิบต้นๆ ในชุดกีฬาดูทะมัดทะแมงพูดกับลูกชายวัยสามขวบ ยังไม่ทันสิ้นเสียงของคุณแม่ เสียงของลูกชายอีกคนก็ดังลั่นมาจากอีกด้านที่อยู่ไม่ไกลนัก “มดกัด มดกัด....” เด็กชายวัยห้าขวบร้องพลางขยับเท้าไปมาพลาง มองเผินๆ เหมือนเต้นเบรคแด้นซ์ฝีมือใกล้เคียงมืออาชีพ ไม่กี่วินาทีถัดจากนั้นเสียงคุณแม่ก็ประสานรับ “แย่แล้ว...แย่แล้ว มดกัด มดกัด แตนไปดูน้องบอมหน่อยซิ” คุณแม่หันไปสั่งพี่เลี้ยงให้เข้าไปช่วยเหลือบอมเด็กชายวัยห้าขวบโดยด่วน ภาพที่เห็นในขณะนี้ก็คือ มีนักเต้นอยู่สองคนคือเด็กชายวัยห้าขวบและสาวใหญ่วัยสามสิบกว่า แต่ที่ดูตื่นตระหนกมากกว่า น่าจะเป็นสาวใหญ่วัยสามสิบกว่าครับ เหตุการณ์ข้างต้นเกิดขึ้นที่สวนรถไฟซึ่งเป็นสวนสาธารณะยอดนิยมสำหรับครอบครัวคนกรุงเทพฯ ในปัจจุบัน และเหตุการณ์นี้ก็น่าจะทำให้คาดเดาได้ว่าผู้เป็นแม่คงมีความกังวล ความกลัว ความไม่แน่ใจ และความตื่นตระหนกอยู่กับตัวจนกลายเป็นบุคลิกที่พร้อมจะแสดงออกให้ได้รับรู้อยู่เสมอ เพราะขนาดผมเองที่กำลังขี่รถจักรยานผ่านกับลูกสาวเพียงไม่กี่นาทียังเป็นพยานรู้เห็นอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ลูกสาววัยเจ็ดขวบของผมยังเผลอแสดงสีหน้าวิตกกังวลร่วมด้วยอยู่พักใหญ่ ลูกชายสองคนของคุณแม่ซึ่งอยู่กับคุณแม่ที่วิตกจริตเช่นนี้ เห็นท่าจะน่าเป็นห่วงไม่ใช่น้อย แม้ว่าครอบครัวนี้จะไม่ได้มาปรึกษากับผมโดยตรง แต่ก็เริ่มเห็นเด่นชัดว่าอาการตื่นตระหนกเริ่มปรากฏที่บอม ลูกชายคนโตแล้วเพราะโดนมดกัดนิดเดียวแต่ร้องโวยวายราวกับโดนสุนัขตัวใหญ่ขย้ำ ทำไมลูกจึงเป็นเช่นนี้? ประการแรกลูกเลียนแบบปฏิกิริยาจากสิ่งที่เห็น เขาไม่ได้ตั้งใจเลียนแบบแต่เป็นการทำงานของสมอง เลียนแบบปฏิกิริยาตื่นตระหนกของคุณแม่ แม่ทนุถนอมลูกเกินไป ด้วยเพราะแม่กังวลกับสิ่งรอบตัว ลูกจึงไม่เรียนรู้ที่จะอดทนกับสิ่งที่เกิดขึ้น แม่ไม่อนุญาตให้ลูกได้จัดการแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ไม่แม่ก็พ่อหรือพี่เลี้ยงจะคอยช่วยเหลือ เข้าทำนองเพลงของพี่เบิร์ดเขา “.....จะไปในทันใดจะตรงไปจะใกล้ไกล ถ้าหากเป็นเธอจะรีบไป ให้เธอได้ความสบายใจ....” แม่ได้ส่งสารบางอย่างว่า โลกนี้ไม่น่าปลอดภัย โลกนี้น่ากลัว โลกนี้น่าระแวงสงสัย ผมไม่มีโอกาสได้พูดคุยกับคุณแม่ท่านนี้โดยตรง ได้แต่คาดเดาจากโหงวเฮ้ง และประสบการณ์ที่เคยพบคุณแม่ลักษณะนี้มาบ้าง คาดว่าที่บ้านคุณแม่คงสั่งสอนและห้ามปรามลูกอยู่เสมอ แม่กับลูกมีแถบเส้นของความผูกพันที่ถ่ายทอดไปมาซึ่งไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าอยู่ ลูกจึงซึมซับความรู้สึกที่แม่มีได้ง่าย ดังนั้นหากแม่กังวลลูกก็จะรู้สึกได้โดยง่าย แม่ควรช่วยลูกอย่างไรดีหากลูกเข้าข่ายขี้กลัว ขี้กังวล ขี้ตระหนก ประการแรกควรพิจารณาที่ตัวคุณแม่ก่อนว่าตัวเรามีลักษณะที่ขี้กังวลหรือไม่ ท่าทีของเราเป็นไปในลักษณะที่ตื่นตระหนก หรือสติแตกโดยง่ายหรือไม่ หากใช่ก็ควรมองหาสาเหตุและรีบแก้ไข ถัดมาคงต้องรีบปรับการเลี้ยงดูให้ลูกได้มีโอกาสเผชิญโลกมากขึ้นโดยที่ไม่มีความกังวลของแม่มาเป็นข้อจำกัดของการเล่นและเรียนรู้ อนุญาตให้ลูกได้เล่นอย่างหลากหลาย อย่างสม่ำเสมอ เพราะโลกของการเล่น ช่วยให้ลูกได้ยืดหยุ่น เป็นตัวของตัวเอง ได้หัดแก้ไขปัญหา…

Read more

ค้นหาสาเหตุทำไมลูกไม่อยากไปโรงเรียน ?

โรงเรียนเป็นสถานที่สำคัญในการฟูมฟักเด็กทั้งในเรื่องการศึกษา พัฒนาการ นิสัยใจคอ ตลอดจนคุณธรรมต่างๆ หากเด็กสามารถปรับตัวและเข้ากับโรงเรียนได้ดีก็จะเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญที่ช่วยให้สามารถพัฒนาด้านต่าง ๆ ได้อย่างราบรื่น แต่หากปรับตัวไม่ได้ ไม่ชอบโรงเรียนหรือปฏิเสธโรงเรียนก็เป็นเรื่องยากที่จะช่วยให้เด็กรับประโยชน์ในการไปโรงเรียนได้อย่างเต็มที่ มดเป็นเด็กหญิงวัย 11 ปี อยู่ชั้นป.6 โรงเรียนแห่งหนึ่ง ในรอบ 3 ปีนี้ย้ายโรงเรียนมา 3 แห่ง พูดง่าย ๆ คือ ปีละแห่ง พ่อแม่ตระหนักถึงความสำคัญของโรงเรียนและมองว่า การที่มดปฏิเสธโรงเรียนเป็นเพราะโรงเรียนแต่ละแห่งอาจไม่เหมาะกับลูก ในเดือนสองเดือนแรกของการเปลี่ยนโรงเรียนดูเหมือนจะได้ผล แต่พอเข้าเดือนที่สามอาการเดิม ๆ ก็ปรากฏขึ้น คือ ตอนเช้า บ่นกระปอดกระแปดไม่อยากไปโรงเรียน ร้องไห้ ทุกเช้าแม่ไปส่ง ก็ต้องใช้เวลานานกว่าจะยอมลงจากรถ และยิ่งในปีนี้อาการต่าง ๆ ดูรุนแรงมากขึ้น มดขอโทรศัพท์เพื่อที่จะคุยกับแม่ได้ทุกเวลาที่รู้สึกไม่สบายใจขณะอยู่โรงเรียน ซึ่งก็ได้ผล แม่ให้โทรศัพท์ และมด ก็โทรหาแม่หลายครั้งในช่วงเวลากลางวัน ในที่สุดแม่รู้สึกว่า การย้ายโรงเรียนอาจไม่ใช่ทางแก้ปัญหาอีกต่อไป แม่จึงพามดมาพบหมอ มดเป็นลูกคนแรกในลูกทั้งหมดสามคนของครอบครัว อีกสองคนเป็นลูกชายฝาแฝดวัย 9 ปี น้องชายทั้งสองอยู่โรงเรียนชายล้วนแห่งหนึ่ง ตั้งแต่เล็ก มดมีความสนใจแตกต่างจากน้อง น้องทั้งสองมักเล่นด้วยกันและสนใจ อะไรคล้ายกัน ญาติพี่น้องปู่ย่าตายายรอบตัวสนใจน้องฝาแฝดเป็นพิเศษ มดรับรู้ความแตกต่างนี้มาตลอดแต่ก็ไม่ถึงขั้นอิจฉาหรือทะเลาะกับน้องมากนัก…

Read more

ช่วยให้ลูกมีความคิดเชิงบวก

พ่อแม่ทุกคนย่อมปรารถนาให้ลูกมีความสุขและประสบความสำเร็จด้วยกันทั้งสิ้น ปัจจัยสำคัญอันหนึ่งในหลาย ๆ ปัจจัยก็คือการส่งเสริมให้ลูกมีความคิดเชิงบวก ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันให้เกิดอีกหลายคุณลักษณะในตัวเด็ก ทั้งความมั่นใจในตัวเอง ความรู้สึกไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค สุขภาพจิตที่ดี รวมทั้งมนุษยสัมพันธ์และความมีเสน่ห์ในตนเอง แล้วพ่อแม่จะช่วยลูกได้อย่างไร ใช้ภาษาเชิงบวก บ่อยครั้งที่พ่อแม่ชินกับการใช้ คำสั่งห้าม หรือการพูดตำหนิ ต่อว่าลูก นั่นถือเป็นการตอกย้ำ กับความคิดหรือพฤติกรรมเชิงลบ เช่น “ทำไมถึงสะเพร่าอย่างนี้” “อย่าเกเร และดื้อกับคุณตาคุณยายนะลูก” “อย่ากระโดดเป็นลิงเป็นค่างอย่างนี้” “ทำไมถึงขี้เกียจกันจริง” ตัวอย่างเหล่านี้มักเกิดขึ้นจากความผิดหวังหรือไม่พอใจของพ่อแม่ แต่การพูดเชิงลบเช่นนั้น นอกจากโอกาสที่ลูกจะเชื่อฟังหรือ ทำตามน้อยแล้ว ยังอาจส่งผลในเชิงลบต่อตัวลูกคือลูกเชื่อว่าตนเองเป็นเช่นนั้นจริง ๆ เพราะพ่อแม่ ที่เขารัก บอกเขาหรือตอกย้ำเสมอว่าเขามีลักษณะเช่นนั้น นอกจากนั้นแล้วในเด็กบางคนที่พ่อแม่ไม่ใคร่ใส่ใจในเชิงบวกนัก ลูกอาจทำพฤติกรรมเชิงลบเพื่อเรียกร้องความสนใจ หรือในเด็กบางราย อาจค่อย ๆ พัฒนาเป็นลักษณะการต่อต้านและทำในสิ่งที่พ่อแม่ไม่ประสงค์ในที่สุด พ่อแม่คงต้องหันมาพิจารณาตนเองในแต่ละสถานการณ์ก่อนว่าเราต้องการอะไรจากลูก แล้วพูดในสิ่งที่อยากเห็นหรือต้องการจากลูกแทน เช่น จากตัวอย่างข้างต้นแทนที่จะพูดว่า “ทำไมถึงสะเพร่าอย่างนี้” พ่อแม่อาจพูดว่า “ตรวจทานหลังทำเสร็จด้วยนะลูก” และแทนที่จะพูดว่า “อย่าเกเร และดื้อกับคุณตาคุณยายนะลูก” พ่อแม่อาจพูดว่า “เชื่อฟังคุณตาคุณยายนะลูก” เป็นต้น อย่างไรก็ตามในบางโอกาสพ่อแม่อาจใช้การพูดโดยใช้ ‘I-message’ เมื่อพ่อแม่เกิดความรู้สึกเชิงลบ หรือเมื่อพิจารณาแล้วว่าลูกไม่เห็นว่าเป็นปัญหาอะไรของลูกเองแต่สิ่งที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่ออารมณ์ของพ่อแม่และเป็นปัญหาของพ่อแม่เองมากกว่า เช่น “แม่รู้สึกหงุดหงิดที่เห็นของเล่นทิ้งเกลื่อนบนพื้นเพราะแม่อาจสะดุดล้มลงได้” “แม่รู้สึกกังวลที่สี่ทุ่มแล้วลูกยังไม่นอน…

Read more