Warning: Undefined array key "action" in /var/www/wp-content/themes/kicker-child/functions.php on line 2
งีบแบบไหนเติมพลังสมองดีที่สุด ? | motherandcare
Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

Tag: งีบแบบไหนเติมพลังสมองดีที่สุด ?

7 วิธียกกระชับอกแม่หลังคลอด

คุณแม่อาจเป็นกังวลว่าหน้าอกจะหย่อนคล้อยหลังคลอด เพราะน้ำหนักที่ลดลงก็จะรวมเอาขนาดหน้าอกให้ลดลงมาเท่ากับขนาดเดิมเท่ากับก่อนคลอดด้วย ส่วนการให้นมลูกไม่ได้ทำให้หน้าอกหย่อนคล้อยนะคะสำหรับการดูแลให้อกคุณแม่ยกกระชับเป๊ะเรามี 5 เคล็ดลับดี ๆ มาบอกต่อค่ะ 1.บริหารกล้ามเนื้อรอบเต้านม อยู่ว่าง ๆ ทำได้เลยค่ะ โดยประกบฝ่ามือทั้ง 2 ข้างเข้าหากันคล้ายกับท่าพนมมือ แต่เหยียดข้อศอกทั้ง 2 ข้างออกให้สุดเท่าที่จะทำได้ นับ 1 - 5 แล้วผ่อนคลาย ทำซ้ำ 5 ครั้ง 2.โยคะท่าธนู ท่างูเห่า และท่าหน้าวัว เป็นท่าที่ได้บริหารกล้ามเนื้อหน้าอกรวมทั้งผ่อนคลายความตึงเครียดได้ดี คุณแม่เลือกท่าที่สามารถทำได้ อย่าฝืนค่ะเพื่อป้องกันการบาดเจ็บ 3.การว่ายน้ำโดยเฉพาะท่าผีเสื้อและการกระโดดเชือก ช่วยให้กล้ามเนื้อหน้าอกแข็งแรง กระชับกล้ามเนื้อหน้าอกที่อยู่ด้านหลังของเต้านม 4.การหายใจเข้าออกอย่างถูกต้อง จะช่วยบริหารกล้ามเนื้ออกไม่ให้หย่อนยาน ขณะหายใจเข้าเต็มที่กล้ามเนื้อกะบังลมควรลดตัวลงไปในช่องท้อง ส่วนไหล่ควรยกขึ้น 5.งดอาหารรสเค็มจัด ช่วยลดการคั่งของน้ำในเต้านม ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของอาการคัดเต้านม 6.กินผักและผลไม้สดให้มาก เพื่อรับวิตามินอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะวิตามินบี 6 ที่ช่วยลดการคั่งของน้ำ และยังช่วยปรับฮอร์โมนเอสโตรเจนให้สมดุลอีกด้วย 7.ชุดชั้นในพอดีตัว ช่วยโอบอุ้มทรวงอกให้กระชับและป้องกันการหย่อนยานของเต้านมได้

Read more

Checklist 5 สัญญาณเตือนซึมเศร้าหลังคลอด

อาการซึมเศร้าหลังคลอดมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายคุณแม่ ร่วมกับปัจจัยอื่นมากระตุ้น เช่น ความเครียด ความกังวลในการเลี้ยงลูก พักผ่อนน้อย และการเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เมื่อมีลูก คุณแม่มีสัญญาณเตือนเหล่านี้หรือเปล่าคะ 1.อารมณ์เปลี่ยนแปลงไป จากเคยร่าเริงสนุกสนาน เปลี่ยนเป็นขี้กังวล หดหู่ รู้สึกเศร้า หรือเครียดมากขึ้น หรือจากคนใจเย็นกลายเป็นหงุดหงิดขี้โมโหได้ง่ายขึ้น 2.ขี้น้อยใจ ร้องไห้แบบไม่มีเหตุผล หรือกับเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ 3.ความคิดเปลี่ยน เช่น คิดช้าลง หรือคิดไปในทางลบ 4.ขี้หลงขี้ลืมบ่อยขึ้น เนื่องจากขาดสมาธิความจำจึงไม่ดีตามไปด้วย 5.ความสัมพันธ์กับคนอื่นถดถอยลง ไม่อยากพูดคุยกับใคร บางครั้งแยกตัว ไม่สนใจทำงานการอะไรก็ตาม ระยะเวลาของอาการซึมเศร้าหลังคลอดอาจแค่สัปดาห์เดียวหรือนานเป็นเดือน หากไม่รุนแรงมากอาการจะค่อย ๆ หายไป คุณแม่พยายามหาสิ่งผ่อนคลายจิตใจทำ และพักผ่อนนอนหลับให้พอเพียง คนรอบข้างเข้าใจและคอยเป็นกำลังใจ ก็จะช่วยให้ผ่านพ้นไปด้วยดี หรือถ้ารู้สึกว่าเป็นมากอาจปรึกษาคุณหมอค่ะ

Read more