Warning: Undefined array key "action" in /var/www/wp-content/themes/kicker-child/functions.php on line 2
ไมอีลินคืออะไร สำคัญอย่างไรกับพัฒนาการสมอง พร้อมเทคนิคกระตุ้นการสร้างไมอีลินตามช่วงวัยที่คุณแม่ยุคใหม่ห้ามพลาด
X

ไมอีลินคืออะไร สำคัญอย่างไรกับพัฒนาการสมอง พร้อมเทคนิคกระตุ้นการสร้างไมอีลินตามช่วงวัยที่คุณแม่ยุคใหม่ห้ามพลาด

คุณแม่รู้หรือไม่ว่า 1,000 วันแรกเป็นช่วงที่สมองของลูกสร้างไวที่สุด ซึ่งไมอีลินมีการสร้างมากตั้งแต่ทารกอยู่ในท้องแม่ช่วง 3 เดือนก่อนคลอดหรือในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสสุดท้าย และสร้างต่อเนื่องในช่วงวัยเด็ก ดังนั้นการสร้างไมอีลินจึงสำคัญในวัยเด็ก เพราะเมื่อเติบโตถึงวัยผู้ใหญ่ตอนต้นแล้ว กระบวนการสร้างนี้ก็จะลดลงเป็นอย่างมาก เรามารู้จักสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างสมองของลูกเพื่อให้ลูกฉลาดสมวัยกันเลยค่ะ

ไมอีลิน กับความสำคัญต่อพัฒนาการสมอง

เนื่องจากไขมันเป็นส่วนประกอบหลักของไมอีลินในสมอง1 เส้นใยประสาทที่มีไมอีลิน จะมีการส่งสัญญาณประสาทเร็วกว่าที่ไม่มีไมอีลินถึง 60 เท่า2 แม่ ๆ พอจะเห็นความสำคัญของไขมันต่อการสร้างไมอีลินบ้างแล้วหรือยังคะ?

คุณพ่อคุณแม่มีส่วนอย่างมากในการกระตุ้นการสร้างไมอีลิน ด้วยการให้ลูกรับประทานอาหารครบ5 หมู่และหลากหลายควบคู่กับการเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิด คอยฝึกฝนหรือกระตุ้นพัฒนาการทางประสาทสัมผัสทั้งห้าของลูกอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงอายุ ร่วมกับการดูแลให้ลูกได้รับสารอาหารครบถ้วนในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เช่น อาหารหลัก 5 หมู่ โปรตีน คาร์โบไฮเดตและไขมัน

สารอาหารกระตุ้นการสร้างไมอีลิน

สารอาหาร เช่น DHA, AA, Choline, Lutein และสฟิงโกไมอีลิน ล้วนมีส่วนช่วยกระตุ้นการสร้างไมอีลินทั้งสิ้น คุณแม่ควรให้ลูกได้รับสารอาหารที่หลากหลาย เพื่อพัฒนาการที่ดีสมวัย รวมถึงช่วยกระตุ้นการสร้างไมอีลินในสมองได้อย่างมีคุณภาพ

กระตุ้นการสร้างไมอีลินด้วยการเลี้ยงดูที่เหมาะสมตามช่วงวัย4

การสร้างปลอกไมอีลินเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นไม่พร้อมกันในสมองแต่ละตำแหน่ง ดังนั้นการจะกระตุ้นให้สมองมีการสร้างปลอกไมอีลินอย่างเต็มศักยภาพจึงแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงอายุ และควรจะกระตุ้นอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการตามวัยของลูก

พัฒนาการวัย 0 – 1 ปี

ในช่วงขวบปีแรกของชีวิตเป็นวัยที่ลูกน้อยกำลังพัฒนาด้านการรับสัมผัส การมองเห็น การรับเสียง และเรียนรู้ด้านภาษา คุณพ่อคุณแม่สามารถส่งเสริมพัฒนาการลูกวัยนี้ได้โดยการกอดสัมผัสตัวลูกบ่อย ๆ ซึ่งก็คือการให้ความรักความอบอุ่นกับลูกนั่นเอง การเลือกของเล่นให้ลูกอย่างเหมาะสมกับพัฒนาการตามวัยอย่างของเล่นที่มีสีสันสดใสจะช่วยกระตุ้นวงจรประสาทการมองเห็น นอกจากนี้การพูดคุยกับลูกหรือใช้เสียงดนตรีเล่นกับลูกจะเป็นการกระตุ้นวงจรประสาทด้านการรับเสียงและภาษา

พัฒนาการวัย 1 – 3 ปี

ช่วงวัยนี้ลูกกำลังพัฒนาการด้านภาษา การทำงานระหว่างกล้ามเนื้อมือ และการเรียนรู้ขั้นพื้นฐาน เมื่อดูพัฒนาการตามวัยแล้ว วัยนี้ควรเน้นกระตุ้นวงจรประสาทด้านภาษาด้วยการคุยกับลูกบ่อย ๆ อาจชวนเล่นชี้สิ่งที่เขารู้จัก เช่นอวัยวะบนใบหน้า เรียกชื่อสิ่งของ ร้องเพลงหรือเล่านิทานให้ลูกฟัง ให้ลูกทำอะไรด้วยตัวเอง เพื่อฝึกทักษะการทำงานระหว่างกล้ามเนื้อมือกับสายตา เช่น ให้ตักอาหารเอง ชวนเก็บของเล่นเข้าที่ ให้เล่นบล็อกตัวต่อ ฝึกการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานด้วยการให้ลูกเล่นจับคู่สิ่งของที่มีรูปทรงหรือสีสันเหมือนกัน ชวนทำกิจกรรมที่ได้เลียนแบบผู้ใหญ่ เช่น ตบมือ ร้องเพลง ช่วยล้างผัก ฯลฯ

พัฒนาการวัย 3 ปีขึ้นไป

หลังจากอายุ 3 ปีขึ้นไปพัฒนาการทางสมองของลูกคือการทำงานขั้นสูงของสมอง เรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น วัยนี้เด็กสามารถเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนมากขึ้นแล้ว คุณพ่อคุณแม่จึงควรส่งเสริมเขาด้วยการสอนเรื่องของเหตุและผลของสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน ฝึกให้เขาคิดแก้ปัญหาเท่าที่วัยของเขาจะทำได้ อาจตั้งคำถามชวนให้เขาคิดหาคำตอบ เพื่อให้สมองลูกเรียนรู้สิ่งที่เป็นนามธรรม พัฒนาด้านการคิดวิเคราะห์ การวางแผน การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และควรฝึกให้ลูกรู้จักการอดทนและรอคอยเพื่อพัฒนาสมองด้านการควบคุมตนเอง สิ่งเหล่านี้เป็นกระบวนการปูพื้นฐานไปสู่พัฒนาการทางสติปัญญาในช่วงวัยเด็กโตและวัยรุ่นต่อไป

การกระตุ้นพัฒนาการลูกอย่างเหมาะสมตามช่วงอายุของลูกร่วมกับการได้รับสารอาหารครบถ้วนและพอเพียง ร่างกายจะสามารถสร้างเซลล์ในระบบประสาท สร้างสารสื่อประสาทและสารเคมีอื่น ๆ รวมทั้งการสร้างสฟิงโกไมอีลิน ซึ่งเป็นพื้นฐานในการส่งสัญญาณประสาท จะนำไปสู่การพัฒนาสมองของลูกอย่างมีประสิทธิภาพ

ขอบคุณข้อมูลจาก
นพ.วรสิทธิ์ ศิริพรพาณิชย์

Reference

  1. R. Douglas Fields. White matter in learning, cognition and psychiatric disorders. Trends Neurosci. 2008 July ; 31(7): 361–370.
  2. Susuki k.Nature Education 2010, 3(9):59
motherandcare:
Related Post