Warning: Undefined array key "action" in /var/www/wp-content/themes/kicker-child/functions.php on line 2
ลูกนอนกรน ระวัง…!!! ภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น
X

ลูกนอนกรน ระวัง…!!! ภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น

การนอน เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเจริญเติบโตทุกด้านของวัยเบบี๋ ทั้งด้านร่างกาย สมอง อารมณ์ และจิตใจ แต่การนอนจะกลายเป็นปัญหาทันทีถ้าลูกมีอาการนอนกรน จนเกิดภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น

ลูกนอนกรน ระวัง…!!! ภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น

การนอน เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเจริญเติบโตทุกด้านของวัยเบบี๋ ทั้งด้านร่างกาย สมอง อารมณ์ และจิตใจ แต่การนอน

จะกลายเป็นปัญหาทันทีถ้าลูกมีอาการนอนกรน จนเกิดภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น ทำให้หยุดหายใจได้ ต้องระวังให้ดีค่ะ

ลูกคุณมีปัญหานอนกรนหรือไม่ อย่างไร

• ถ้ายังไม่แน่ใจ ควรสังเกตการนอนของลูกด้วย ดูว่ามีอาการนอนหลับเป็นอย่างไร นอนกรนหรือไม่ เพราะจากการศึกษาพบว่า 20% ของเด็กมีอาการนอนกรน โดย 7-10% มีอาการนอนกรนทุกคืน มีเด็กหลายคนนอนกรนแต่ก็มีสุขภาพดี แต่มีอยู่ราว 2% พบว่ามีปัญหาขณะหลับ คือ มีปัญหาหายใจลำบาก อาจเกิดภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นได้ค่ะ

รู้จักภาวะทางเดินหายใจอุดกั้น

(Obstructive Sleep Apnea Syndrome : OSAS)

• เป็นภาวะที่ทั้งเด็กชายหญิงสามารถเป็นได้ มักเกิดจากช่องคอที่แคบลงและปิดในระหว่างหลับ ทำให้เด็กมีอาการหายใจเสียงดัง หายใจหอบ สะดุ้ง สำลัก เวลาหายใจเข้าหน้าอกจะบุ๋มโดยปกติขณะหลับกล้ามเนื้อจะหย่อนตัวมากกว่าตอนตื่น รวมทั้งกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจด้วย แต่เด็กที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น กล้ามเนื้อจะหย่อนตัวมาก ทำให้ช่องคอแคบมากกว่าปกติ จนกระทั่งช่องคอปิด เด็กจะพยายามหายใจ อาจได้ยินเด็กหายใจเฮือกเสียงดังเมื่อเด็กเริ่มกลับมาหายใจอีกครั้ง การหายใจเช่นนี้อาจกระตุ้นให้ตื่นเป็นช่วงสั้นๆ ได้ และอาจทำให้เป็นโรคหัวใจได้ เนื่องจากมีภาวะขาดออกซิเจน

อาการโดยทั่วไปเป็นอย่างไร

• เด็กจะนอนหลับในท่าทางที่ผิดปกติ กรนเสียงดังและกรนเป็นประจำ จะหยุดหายใจขณะหลับในระยะเวลาสั้นๆ แล้วตามด้วยเสียงกรน หายใจหอบ หรือตื่นกลางคืน เหงื่อออกมากขณะหลับ นอนกระสับกระส่าย ปลุกตื่นยาก หลังตื่นนอนอยากจะนอนหลับต่อ ปวดศีรษะระหว่างวันหรือหลังตื่นนอน หงุดหงิดง่าย โมโหง่าย เมื่อโตขึ้นจะมีปัญหานอนหลับยาก มักหลับขณะเรียนหนังสือ อาจเกิดปัญหาเกี่ยวกับการเรียน การเจริญเติบโต มีปัญหาพฤติกรรมปัสสาวะรดที่นอน อาจมีปัญหาสมาธิสั้นและซนกว่าปกติ เป็นต้น

การดูแลรักษา

• ถ้าหากสังเกตว่าลูกมีอาการดังกล่าวข้างต้น ควรปรึกษากุมารแพทย์และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคจากการนอนหลับ เพื่อวินิจฉัยว่าลูกมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นหรือไม่

• ผู้เชี่ยวชาญอาจแนะนำให้ตรวจการนอนหลับ ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยบอกว่ามีภาวะนี้หรือไม่ หรือเป็นเพียงนอนกรนธรรมดา ซึ่งการตรวจการนอนหลับจะช่วยให้คุณหมอสามารถพิจารณาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

ขอบคุณข้อมูล : ศูนย์นิทราเวช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ www.sleepcenterchula.org

Mother&Care:
Related Post