Warning: Undefined array key "action" in /var/www/wp-content/themes/kicker-child/functions.php on line 2
อ่าน เขียน คิดเลขไม่เก่งหรือดิสเล็คเซีย?
X

อ่าน เขียน คิดเลขไม่เก่ง หรือดิสเล็คเซีย ?

[vc_row][vc_column][vc_column_text]เคียร่า ไนท์ลีย์ ดาราชื่อดัง แสดงหนังที่เราประทับใจมาหลายเรื่อง จะมีใครทราบบ้าง ว่าเธอเป็นแอลดี (Learning disorder) เคียร่าได้รับการวินิจฉัยเป็นดิสเล็คเซีย หรือ แอลดีด้านการอ่าน มาตั้งแต่เธอเป็นเด็กอายุหกขวบ เธออ่านหนังสือไม่ได้เหมือนเพื่อน ๆ โดยที่ไม่ทราบว่าเป็นอะไร เพราะเรื่องอื่น เธอก็ทำได้ดี ถ้าแม่ไม่ได้พาเธอไปตรวจ เธอก็คงไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้นกับตัวเอง

ต้องชื่นชมคุณแม่ของเคียร่าด้วยในเรื่องนี้ เพราะเคียร่าอยากเป็นนักแสดงมาตั้งแต่เด็ก แม่ของเคียร่า จึงใช้จุดนี้พยายามกระตุ้นความอยากอ่านหนังสือ และความพยายามในการต่อสู้กับภาวะดิสเล็คเซียของเธอ แม่ของเคียร่า ซึ่งทำงานในวงการบันเทิง วันหนึ่งเธอเอาบทภาพยนตร์เรื่อง Sense and sensibility ที่เอ็มม่า ทอมสันเขียน มาให้เคียร่าดู และบอกเธอว่า ถ้าเธออยากเป็นนักแสดง เธอต้องพยายามอ่านให้ออก เพราะนักแสดงจำเป็นต้องอ่านบท “แม่รู้ว่าหนูทำได้” แม่บอกกับเคียร่า

เพราะเอ็มม่า ทอมสันเป็นนักแสดงที่เคียร่าชอบมาก เธอจึงตั้งหน้าตั้งตาอ่านบทหนังเรื่อง Sense and sensibility ที่แม่เธอนำมาให้ด้วยความตั้งใจ ในช่วงปิดเทอมฤดูร้อน เคียร่าเคยให้สัมภาษณ์ว่า “คุณแม่กับบทภาพยนตร์เรื่องนั้นทำให้ฉันสามารถเอาชนะอุปสรรคที่ตัวเองอ่านหนังสือไม่ออก” เพราะหลังจากนั้น เคียร่าก็อ่านหนังสือได้มากขึ้นเรื่อย ๆ

เธอบอกว่า การที่เธอเป็นดิสเล็คเซีย ทำให้เธอเป็นคนที่เข้มแข็งมากขึ้น และรู้ว่าตัวเองสามารถอดทนกับความลำบาก เช่น การอ่านหนังสือไม่ออกได้ และเอาชนะมันได้ อะไรอย่างอื่นมันก็คงไม่ยากเกินไปนักสำหรับเธอ แอลดีทำให้เธอแกร่งขึ้นตอนที่เรียนจบ เคียร่าสอบผ่านและในการสอบ GCSE เธอทำคะแนนได้ดีทีเดียว

หลังจากนั้น ดิสเล็คเซียก็ไม่กลายเป็นอุปสรรคของเธอในการทำงาน เธอพอจะอ่านหนังสือได้ แม้จะช้าหน่อย และวันหนึ่งเธอได้เปิดเผยเรื่องที่เธอเป็นดิสเล็คเซียกับสังคม เธอบอกว่า ดิสเล็คเซีย ทำให้เธอมีวันนี้

แอลดีเป็นหนึ่งในภาวะที่เด็กมาหาหมอด้วยเรื่องปัญหาการเรียน เช่น อ่านเขียนไม่ได้ หรือ ไม่คล่อง หรือมีปัญหาในการคิดเลข โดยเด็กจะทำได้ช้ากว่าเด็กทั่วไป

การวินิจฉัยคือเมื่อตรวจความสามารถในการอ่าน เขียน คำนวณ จะพบว่าความสามารถต่ำกว่าเด็กที่อายุเท่ากัน 2 ชั้นเรียน และไอคิวปกติหรือไม่ต่ำกว่าปกติมาก เพราะหากไอคิวต่ำกว่าปกติ เช่นปัญญาอ่อน หมอจะวินิจฉัยว่าสาเหตุที่เด็กมีปัญหาการเรียนนั้นเกิดจากปัญญาอ่อนไม่ใช่ แอลดี

เด็กแอลดีจะดูปกติในเรื่องอื่น ๆ ยกเว้นเรื่องที่เขาบกพร่อง บางทีพ่อแม่จะบอกว่า เห็นลูกเก่งทุกเรื่อง แต่ถ้าอ่านหนังสือนี่หน้าบูดเบี้ยวทีเดียว การที่เป็นแอลดีไม่ได้หมายความว่าชีวิตจะไม่ประสบความสำเร็จ ในสังคมพบว่ามีคนที่ประสบความสำเร็จหลายคนเป็นโรคแอลดี อย่าง เคียร่า ไนท์ลีย์ ทอม ครูซ เป็นต้น

เพราะฉะนั้นเรียกได้ว่าเด็กแอลดี ไม่ใช่เด็กโง่ ไม่ใช่ปัญญาอ่อน เพียงแต่เขาบกพร่องในจุดที่คนทั่วไปมองว่าไม่ใช่เรื่องยาก ทำไมทำไม่ได้ แต่หากเราดูดี ๆ ว่าเด็กที่เป็นแอลดีเหล่านี้ถนัดในด้านอะไร และส่งเสริมเขาไปในด้านนั้น เช่น แม้ว่าจะคิดเลขไม่ได้ แต่ชอบวาดรูป ก็ส่งเสริมด้านศิลปะ บางคนชอบดนตรี กีฬา เป็นต้น

การดูแลรักษาเด็กที่เป็นแอลดีนั้น อย่างแรกที่สำคัญมากคือ ความเข้าใจจากคนรอบข้าง เพราะเด็กแอลดีหลายคนมักถูกตีตราว่าเป็นเด็กโง่ คงจะช่วยอะไรไม่ได้ ทำให้เด็กสูญเสียคุณค่าในตัวเองไปมาก เด็กที่เป็นแอลดีบางคน มาหาหมอด้วยปัญหาซึมเศร้า วิตกกังวล เด็กที่เป็นแอลดีรุนแรง สอบตกมาก ๆ เข้า สุดท้าย ถูกให้ออกจากโรงเรียน เมื่อออกจากระบบการศึกษา มีเด็กจำนวนมากที่หลังจากนั้นก็ไปเข้าแก๊ง มีปัญหาติดยา ติดเกมส์

ความเข้าใจของคนรอบข้างมีความสำคัญ ผู้ปกครองควรยอมรับว่าลูกมีปัญหาเรื่องนี้ ไม่คาดหวังเด็กจนเกินไป ให้เวลาในการให้เด็กค่อย ๆ อ่านเขียนหรือคิดเลข ส่วนครู ถ้าเข้าใจและพยายามช่วยเหลือด้านการเรียน เช่น ถ้าเด็กเป็นแอลดี การอ่าน ก็อนุญาตให้สอบปากเปล่า หรืออ่านโจทย์ให้ฟัง เด็กที่เป็นแอลดี การเขียนสะกดคำ อาจให้เด็กทำข้อสอบเป็นกากบาทมากกว่าให้เขียนตอบ

จะพบว่าจริง ๆ เด็กก็ทำได้ดี ควรให้การช่วยเหลือด้านการเรียนเป็นรายเฉพาะ ควรให้เด็กได้รับการสอนพิเศษ ถ้าให้ดีควรเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ที่พื้นฐานเหมือนกัน เพราะหากเรียนกับเพื่อนที่ปกติชั้นเดียวกันในวิชาที่เด็กบกพร่อง ก็จะยิ่งตามไม่ทัน ต้องค่อย ๆ สอนจากพื้นฐานที่เด็กทำได้ และสุดท้ายอย่าลืมส่งเสริมเด็กในด้านที่เขาชอบและถนัด เช่น ดนตรี กีฬา ศิลปะ บางทีเด็กก็ทำได้ดี จะได้ทำให้เขาภูมิใจในตัวเองมากขึ้นด้วย

 

 

บทความโดย หมอมินบานเย็น

จากคอลัมน์ Doctor’s note นิตยสาร Mother&Care[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row]

motherandcare:
Related Post