Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

เด็ก 3 ขวบขึ้นไป

ลูกหกล้ม ปล่อยหรือปลอบ

เมื่อเกิดอุบัติเหตุเล็กๆ น้อยๆ ขึ้นกับลูกวัยกำลังซน เช่น หกล้ม เดินชนโต๊ะ ฯลฯ คุณพ่อคุณแม่ส่วนใหญ่มักแสดงปฏิกิริยาตกอกตกใจออกมาโดยอัตโนมัติ ตามสัญชาตญาณความห่วงใยที่มีต่อลูก ขณะเดียวกันเด็กๆ ก็มักจะมองหาคุณพ่อคุณแม่ทันทีที่รู้สึกเจ็บ กลัว หรือตกใจ ด้วยเหตุนี้ท่าทีที่ผู้ปกครองแสดงออก จึงเป็นสิ่งสำคัญที่กำหนดว่าเด็กน้อยจะตอบสนองต่อสถานการณ์นั้นอย่างไร หากคุณพ่อคุณแม่โวยวายเสียงดัง เด็กจะรู้สึกว่าการหกล้มเป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งนั่นอาจทำให้เขายิ่งร้องไห้จ้าเสียงดังลั่น ดังนั้น อันดับแรกผู้ปกครองจึงไม่ควรโวยวาย แม้จะรู้สึกใจหล่นลงไปอยู่ที่ตาตุ่มก็ต้องสงบสติอารมณ์ไว้ เพื่อแสดงออกให้ลูกรับรู้ว่าการหกล้มเป็นเรื่องปกติธรรมดาของชีวิต เมื่อล้มแล้วก็สามารถลุกขึ้นใหม่ได้ นอกจากนี้ คุณพ่อคุณแม่ ยังไม่ควรซ้ำเติมลูกด้วยการตำหนิว่าไม่ระมัดระวังหรือซุกซนเกินเหตุ เพราะเขาอาจสูญเสียความมั่นใจและรู้สึกไม่ดีกับตัวเอง ถ้าเด็กๆ ล้มโดยไม่ได้บาดเจ็บอะไรมากนัก คุณพ่อคุณแม่ควรยืนมองอยู่ห่างๆ และคอยให้กำลังใจ เมื่อเขาสามารถลุกขึ้นเองได้ ก็เอ่ยปากชมสักหน่อยว่า “เก่งมากๆ เลยนะลูก ที่ล้มแล้วลุกขึ้นเองได้” แต่ถ้าลูกร้องไห้ออกมาด้วยความรู้สึกเจ็บ ก็ไม่ควรไปโกหกว่า “ไม่เจ็บหรอก ไม่เห็นเป็นอะไรเลย” เพราะเด็กจะรู้สึกว่าเขาถูกปฏิเสธตัวตนและไม่ได้รับการยอมรับความรู้สึก อาจทำให้เขายิ่งร้องไห้และไม่กล้าบอกความรู้สึกที่แท้จริงกับคุณพ่อคุณแม่ในครั้งต่อๆ ไปที่เกิดปัญหา สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำคือการโอบกอดและปลอบโยนโดยไม่โอ๋มากเกินไป ไม่ต้องบอกเขาว่าจะตีพื้นหรือโต๊ะที่ทำให้หนูเจ็บ หรือกล่าวโทษพี่เลี้ยงที่ดูแลไม่ดี เพราะยิ่งจะเป็นการปลูกฝังนิสัยโทษคนอื่นเมื่อเกิดความผิดพลาดแค่ถามลูกว่าเขาโอเคไหม อธิบายให้ลูกเข้าใจว่าคุณพ่อคุณแม่รับรู้ถึงความเจ็บปวดของหนู และไม่นานความเจ็บนี้ก็จะหายไป เท่านี้ก็เพียงพอแล้ว ยิ่งถ้าไม่ได้บาดเจ็บรุนแรง ร้องไห้ไม่กี่นาทีเดี๋ยวเด็กๆ ก็กลับไปวิ่งปร๋อได้แล้ว สิ่งสำคัญในการประคับคองลูกน้อยยามหกล้ม คือการสอนให้เขาตระหนักว่าถ้าล้มแล้วจะเจ็บ ครั้งต่อไปต้องระมัดระวังมากขึ้น รวมถึงสร้างความมั่นใจให้ลูกรู้สึกว่าเขาเก่งพอที่จะลุกขึ้นใหม่ได้ด้วยตัวเอง ไม่ว่าในอนาคตจะต้องหกล้มอีกกี่ครั้ง หรือต้องเผชิญหน้ากับปัญหาที่ใหญ่กว่านี้ก็ตาม

Read more

สอนลูกยุค 4G ให้รวยกว่าพ่อแม่

คุณพ่อคุณแม่ที่มองว่า เรื่องของการปลูกฝังการใช้เงินในเด็กเป็นเรื่องไกลตัว ไว้โตค่อยสอนก็ได้ จะบอกว่าความคิดนี้ควรจะล้มเลิกโดยด่วน เพราะการสอนให้ลูกใช้เงินเป็น ตั้งแต่อายุยังน้อยนั้น ถือเป็นรากฐานการฝึกลูกให้ใช้เงินเป็นได้ตั้งแต่ยังเป็นเด็ก และเมื่อเค้าเติบใหญ่ขึ้น เค้าก็จะกลายเป็นผู้ใหญ่ ที่ใช้เงินยังชาญฉลาด จนรวยแซงหน้าพ่อแม่ไปโดยปริยาย1. สอนลูกให้ใช้เงินเป็น สอนให้ลูกหัดเก็บเงินที่เหลือจากค่าขนมในแต่ละวัน และไม่ตามลูกเด็ดขาด ในกรณีที่ลูกอยากได้ของที่ไม่จำเป็น ก็ต้องสอนให้เค้ารู้จักเก็บเงิน ถ้าอยากได้ ให้พยายามเก็บเงินให้ถึงเป้า แล้วพ่อกับแม่จะพามาซื้อ เพราะถึงตอนนั้น ลูกอาจจะลืมไปแล้วก็ได้ ว่าเคยอยากจะซื้อมัน2. ลูกต้องแยกแยะให้เป็นระหว่าง “ความจำเป็น” กับ “ความอยากได้” อย่ามองว่าเด็กไม่รู้เรื่องนะ เพราะเมื่อเค้าถึงวัยที่แสดงความอยากได้อยากมีเป็นแล้วล่ะก็ พ่อแม่ต้องฝึกให้ลูกมีตรรกะแยกให้ออก ว่าของที่ลูกจะซื้อนั้น ลูกจำเป็นต้องมีมันหรือไม่ ถ้ำเป็น พ่อเม่จะให้ซื้อ แล้วนิสัยแบบนี้จะติดตัวพวกเค้าไปจนโต3. บอกแนวทางเก็บเงินให้มีผลงอกเงย เค้าทำกันยังไง เนื่องจากสมัยนี้ เก็บเงินในบัญชีธนาคาร ได้ดอกเบี้ยมากินเป็นผลตอบแทน ปีนึงยังไม่ถึง 500 บาทเลย เราก็จะต้องพร่ำสอนลูกให้ฝึกลงทุนกับการเล่นหุ้นหรือซื้อกองทุนประกันต่างๆ แต่อย่างไรก็ตาม คุณพ่อคุณแม่ก็ต้องศึกษามาเป็นอย่างดีแล้วนะ ว่าลงทุนกับอะไร ถึงจะได้ผลเป็นกอบเป็นกำกลับมา จะได้มาเป็นไกด์นำทางให้ลูกได้…

Read more

สอนวินัย ทำได้..แค่แยกสองคำนี้ให้ออก

มีพ่อแม่บ้านไหนที่ทะเลาะกับลูกแทบทุกวันบ้าง คิดว่าคงมีหลายบ้านเลยที่ต้องพบเจอกับสภาวะแบบนี้ ลูกไม่ยอมไม่อาบน้า ลูกไม่ยอมไปทานข้าว เรียกแล้วเรียกอีกก็ทาเป็นไม่ได้ยิน สุดท้ายเรื่องราวมักจบลงที่คุณพ่อคุณแม่โมโหและต้องบังคับใช้มาตรการต่างๆ ทั้งข่มขู่ ทั้งตัดสิทธิ์ หรือบางบ้านอาจจะถึงกับลงไม้ลงมือตีกันไปเบาเบา แม้สุดท้ายลูกจะยอมทาตามที่พ่อแม่สั่งหรือบังคับ แต่เราก็ต้องสูญเสียบรรยากาศดีดีในบ้านไป สอนวินัย ให้เด็ก ถือเป็นสิ่งพื้นฐานที่พ่อแม่ทุกคนจะต้องสอนลูกแต่เล็กๆเลยค่ะ เคยได้ยินไหมคะคำว่า ‘ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แข็งดัดยาก’ เพราะจะทำให้วินัยเหล่านี้ติดตัวลูกๆไปยันโตจนแก่ได้เลยค่ะ แต่ปัญหาคือพ่อแม่ส่วนใหญ่มักมีอารมณ์ในสิ่งที่ลูกทำ ที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ชอบใจ วันนี้เราจะให้คุณพ่อคุณแม่มาเช็คกันค่ะว่าที่ทำอยู่เรียกว่าสอนวินัย หรือแค่อยากจะเอาชนะลูกกันแน่สอนวินัยคือ การควบคุมพฤติกรรมของคน โดยการใช้กฎ ระเบียบ หรือการสั่งสอน อบรมเอาชนะคือ การทำอะไรก็ได้ค่ะที่ต้องได้ดั่งใจเรา โดยไม่คำนึงว่าอีกฝ่ายจะรู้สึกอย่างไรสอวินัยให้เด็ก หรือ อยากเอาชนะ  กันแน่ ?.เราจะมายกตัวอย่างง่ายๆกันค่ะ ให้คุณพ่อคุณแม่ได้รู้ตัวว่าสิ่งที่ทำอยู่นั้นถูกต้องจริงๆ“คุณพ่อไม่ชอบให้ลูกเล่นเกมส์ เพราะกลัวจะเสียการเรียน พอเห็นลูกเล่นเกมส์ คุณพ่อก็โกรธ โมโห ยึดโทรศัพท์ ยึดคอม”จริงๆแล้ว คุณพ่อมีความหวังดีค่ะ กลัวลูกจะติดเกมส์จนเสียการเรียนไม่ได้อ่านหนังสือ แต่มันเป็นการเอาชนะมากกว่าสอนวินัยค่ะ เพราะพอคุณพ่อเห็นลูกเล่นเกมส์ก็เริ่มมีอารมณ์เหมือนลูกขัดใจในสิ่งที่พ่อไม่ชอบให้ทำจนยึดโทรศัพท์ ยึดคอม มันเป็นวิธีที่ผิดอย่างมากค่ะ เพราะยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ เราอาจจะมาปรับเป็นการกำหนดเวลาเล่นเกมส์ค่ะว่าหากเล่นได้ก็ต้องอ่านหนังสือตั้งใจเรียนได้ด้วยเหมือนกันตามอารมณ์ตัวเองทันหรือยัง .. ?ข้อนี้ถือว่าสำคัญมาก กอ.ไก่ล้านตัวเลยค่ะ หากเราจะตามอารมณ์ตัวเองให้ทันเราควรที่จะ ..ฝึกเข้าใจอารมณ์ของตัวเองให้มากขึ้น ฝึกการจัดการอารมณ์ของตัวเองเมื่อเกิด…

Read more

8 วิธีแก้นิสัยลูกก้าวร้าว

ความก้าวร้าวของลูกไม่ใช่ปัญหาเล็กค่ะ เพราะพฤติกรรมดังกล่าวจะทำให้เด็กไม่เป็นที่ต้อนรับในสังคมค่ะ ผลเสียก็จะกลับมาสู่ตัวลูกเอง ไม่มีเพื่อนคนไหนอยากเล่นด้วย ผู้ใหญ่ก็จะไม่เอ็นดูเขาคุณพ่อคุณแม่ช่วยลูกสลายความก้าวร้าวได้ค่ะ มีคำแนะนำดี ๆ มาฝาก 8 ข้อ1.เลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้ลูกก้าวร้าว ถ้าเริ่มทะเลาะกับพี่กับน้องให้เบี่ยงเบนความสนใจ หรือแยกลูกออกมาก่อน2.อย่าใช้การดุว่าแรง ๆ หรือการตีลงโทษเขา ใช้วิธีแยกตัวให้เขาสงบอารมณ์คนเดียวก่อนแล้วค่อยมาคุยกัน3..เวลาสงบใจดีแล้ว พูดคุยถามความรู้สึกลูก บอกเขาว่าคุณแม่เข้าใจ แต่ลูกต้องแสดงอารมณ์อย่างเหมาะสมด้วย4.เลี่ยงการรับสื่อที่ก้าวร้าว ทั้งทาง วิทยุ เกม คลิป ฯลฯ5.คุณพ่อคุณแม่เป็นต้นแบบที่ดีไม่ก้าวร้าว ไม่ใช้อารมณ์ ความอบอุ่นอ่อนโยนช่วยสยบความก้าวร้าว6.อย่างเลี้ยงลูกแบบเผด็จการหรือตามใจมากเกินไป7.ชมหรือให้รางวัลเวลาเขาม่ความพยายามลดความก้าวร้าวเอาแต่ใจลง8.ให้ลูกเล่นซนออกกำลังกายเต็มที่ จะช่วยลดพลังความก้าวร้าวลงไปได้ถ้าพฤติกรรมของลูกน่าจะเข้าข่ายไม่ธรรมดาคงต้องปรึกษาคุณหมอ อาจพบปัญหาอื่นซ่อนอยู่ เช่น โรคสมาธิสั้น ไฮเปอร์แอคทีฟ หรือโรคทางสมองบางอย่างค่ะ จะได้แก้ไขถูกจุดค่ะ

Read more

เรื่องต้องรู้..ปฐมพยาบาลเด็กจมน้ำ

สถิติเด็กไทยเสียชีวิตกว่าปีละ 1,400 คนต่อปี การปฐมพยาบาลที่ถูกวิธีจะช่วยเหลือเด็กจมน้ำได้ เพราะเด็กจมน้ำจะขาดอากาศหายใจและหมดสติ น้ำที่สำลักเข้าไปในปอดจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายอย่างรวดเร็วในเวลาไม่กี่วินาทีอย่าทำ !อย่าพยายามที่จะเอาน้ำออก เช่น การอุ้มพาดบ่าเพื่อกระทุ้งเอาน้ำออก หรือวางคว่ำบนกระทะใบบัวแล้วรีดน้ำออก ไม่มีความจำเป็นและอาจก่อให้เกิดผลเสียได้ เพราะน้ำที่ไหลออกมาจากการกระทุ้งหรือรีดท้องนั้นเป็นน้ำจากกระเพาะอาหาร ไม่ใช่น้ำจากปอดหลักการปฐมพยาบาลเด็กจมน้ำที่สำคัญที่สุด คือการช่วยให้เด็กหายใจได้ให้เร็วที่สุดการปฐมพยาบาลเด็กจมน้ำที่รู้สึกตัวหากเด็กรู้สึกตัวหายใจได้เอง การปฐมพยาบาลคือการเช็ดตัว เปลี่ยนเสื้อผ้าแห้งให้แก่เด็ก และนำส่งโรงพยาบาลเพื่อตรวจสอบอาการแม้เด็กจะหายใจได้ดีในระยะแรก แต่อาจมีอาการหายใจลำบากได้ในภายหลัง สาเหตุจากถุงลมในปอดถูกทำลายจากการสำลักน้ำการปฐมพยาบาลเด็กจมน้ำที่ไม่หายใจ และ/หรือ หัวใจไม่เต้น1.ขอความช่วยเหลือจากผู้ที่อยู่ใกล้ และรีบโทรขอความช่วยเหลือหน่วยฉุกเฉินที่ 16692.เปิดทางเดินหายใจ โดยให้เด็กนอนราบกดหน้าผากลงและเชยคางขึ้นเบา ๆ3.ตรวจการหายใจในเวลา 3-5 วินาที โดยมองหน้าอกหรือท้องว่ามีการเคลื่อนไหวหรือไม่ ฟังดูว่ามีเสียงหายใจหรือไม่ สัมผัส โดยแนบใบหน้าไปใกล้จมูกและปากของเด็กเพื่อสัมผัสลมหายใจ4.ช่วยการหายใจ เมื่อพบว่าเด็กไม่หายใจ ให้ประกบปากของผู้ช่วยเหลือครอบจมูกและปากเด็กและเป่าลมหายใจออก 2 ครั้งโดยให้แต่ละครั้งยาว 1 - 2 วินาทีและสังเกตว่าหน้าอกของเด็กขยายตามการเป่าลมหรือไม่ในกรณีอายุน้อยกว่า 1 ปี…

Read more

5 วิธีใช้เวลากับลูกอย่างมีความสุข

ตั้งแต่มีลูกคุณแม่แทบไม่มีเวลาของตัวเอง รักลูกน่ะรักแต่คณแม่หลายคนอดรู้สึกไม่ได้ว่าความสุขส่วนตัวลดน้อยลงไป วิธีหนึ่งที่ช่วยคุณแม่ได้คือการปรับมุมมอง ความจริงเราสามารถทำให้ช่วงเวลาอยู่กับลูกเป็นเวลาแห่งความสุขของแม่ได้ค่ะเล่นอะไรดีนะ1.เล่นเกมกับลูก เกมกระดาน (board game) เช่น ไพ่ UNO เกมเศรษฐี หมากฮอส หมากรุก โกะ โดมิโน่ สแครบเบิล หรือชวนลูกออกไอเดียคิดเกมใหม่ ๆ ขึ้นมาเล่นกันในครอบครัว2.ออกกำลังด้วยกัน อาจจะเล่นในบ้าน เช่น ไล่จับ กระโดดตามช่องหรือตั้งเต หรืออาจเล่นกีฬา เช่น ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ เล่นบอล ปิงปอง แบตมินตัน จ๊อกกิ้ง สเก็ตช์บอร์ด ปีนหน้าผาจำลอง ฯลฯ3.สนุกกับงานบ้าน เด็กเล็กจะมีช่วงเวลานึงสนใจงานบ้าน อย่ารีบห้ามค่ะ ให้ลูกมีส่วนร่วมเท่าที่เขาจะทำได้ ฝึกให้ลูกสนุกกับงานบ้าน เขาอาจชอบถูบ้าน ล้างรถ รดน้ำต้นไม้ ฯลฯ สร้างบรรยากาศสนุกสนานระหว่างทำงานบ้านด้วยกัน4.ชวนเล่านิทาน ถ้าชอบจินตนาการ ลองชวนลูกเล่านิทาน ผลัดกันเล่า อาจเป็นการเล่าต่อประโยคกันหรือเล่ากันคนละ…

Read more

ระวังภัยแสงสีฟ้าจากหน้าจอ

แสงสีฟ้าจากแท็บเล็ต โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ โทรทัศน์ ส่งผลต่อต่อสุขภาพสายตาของเด็ก คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลควบคุมการใช้อุปกรณ์เหล่านี้ค่ะแสงสีฟ้าคืออะไรแสงที่เราพบเห็นในชีวิตประจำวัน แบ่งออกได้ทั้งหมดเป็น 7 สี คือสีแดง ม่วง ส้ม เหลือง น้ำเงิน คราม และเขียว แสงสีฟ้าจะเป็นสีที่ให้ความสว่างมากที่สุดอันตรายของแสงสีฟ้าแสงสีฟ้าทำให้ดวงตาเป็นอันตรายมากที่สุด สามารถทะลุทะลวงถึงจอประสาทตา มีพลังทำลายกระจกตาหรือจอประสาทตาได้มากกว่าแสงสีอื่น ความสว่างมากทำให้ดวงตาล้าได้ง่าย ส่วนการหรี่แสงลงมาก ๆ ทำให้ต้องเพ่งมองหนักขึ้น การใช้อุปกรณ์ให้แสงสีฟ้าในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น ใช้ในที่มืด ปิดไฟ ก็เป็นอันตรายต่อดวงตา การจดจ่ออยู่หน้าจอนานเกิน 2-3 ชั่วโมงเป็นประจำ ทำให้ระคายเคืองเยื่อบุตาและกระจกตา และมีอาการปวดตา แสบตา ตาแห้ง ตามัว ปวดศีรษะ และมีปัญหาสายตาดูแลลูกอย่างไรให้ปลอดภัยจากแสงสีฟ้าคุณพ่อคุณแม่ควรควบคุมการอยู่หน้าจอต่าง ๆ ของลูก ติดฟิล์มถนอมสายตาตัดแสงสีฟ้าในมือถือหรือแท็บเล็ต…

Read more

แกงจืดกะเพรารับลมหนาวต้านหวัดเพื่อคุณลูก

ใบกะเพรานอกจากทำเป็นเมนูฮิตประจำชาติผัดกะเพราแล้ว ปรุงเป็นแกงจืดก็รสชาติอร่อยรับประทานง่ายปลายฝนต้นหนาวอย่างนี้เด็ก ๆ มักจะเป็นหวัดง่ายคุณแม่ลองทำแกงจืดผัดกะเพราให้ลูกรับประทานกันค่ะนอกจากคุณสมบัติเด็ดในการต้านหวัดแล้ว กะเพรายังช่วยบรรเทาอาการไอ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ คลายเครียด แก้อักเสบ เนื่องจากใบกะเพรานั้นอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระค่ะเครื่องปรุงใบกะเพรา แคร์รอต หมูสับ กระเทียม พริกไทย รากผักชี น้ำปลา ซีอิ๊วขาว น้ำตาลวิธีทำตั้งน้ำซุปกระดูกหมูในหม้อให้เดือด ใส่กระเทียมพริกไทยรากผักชีโขลกลงไปพอหอม ๆ ตามด้วยหมูสับปั้นก้อน พอหมูสุกดีแล้วใส่แคร์รอตเพื่อให้ดูน่ารับประทาน เหยาะน้ำปลาปรุงรสอย่าให้รสเค็มจัด ใส่น้ำตาลเล็กน้อยเพื่อปรุงรสให้กลมกล่อมโดยไม่ต้องใช้ผงชูรส ใส่ใบกะเพราพอสุกปิดไฟยกลงจากเตา

Read more

4 เรื่องต้องระวัง ช่วงหน้าฝน

หน้าฝนแวะเวียนมาทีไร คุณแม่มักจะเป็นกังวลกับสุขภาพของลูกน้อยเป็นพิเศษ มีเรื่องใดต้องระวังบ้างมาดูกันเลยค่ะ1.หวัดเด็กเล็กมีโอกาสเป็นหวัดง่าย ไอ มีน้ำมูก หายใจครืดคราดอยู่บ่อย ๆ การให้ลูกดื่มน้ำหรือนมมากขึ้นช่วยได้ ถ้าไม่ได้มีน้ำมูกมากควรหลีกเลี่ยงการกินยาค่ะวิธีลดน้ำมูกแม้ว่าภายในรูจมูกของลูกเป็นส่วนที่บอบบาง ไม่ควรมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปสัมผัส แต่หากมีความจำเป็นควรดูแลอย่างถูกวิธีเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน อาจใช้ก้านสำลีชุบน้ำอุ่นเช็ดภายในรูจมูก แต่อย่าเข้าไปลึกเพราะอาจเป็นอันตรายได้ เด็กที่โตหน่อย ใช้ลูกยางดูดน้ำมูก โดยทำความสะอาดลูกยางด้วยน้ำและสบู่ บีบน้ำออกให้หมด เวลาใช้บีบกระเปาะยางให้แบนแล้วสอดเข้าไปในรูจมูกแล้วค่อย ๆ คลายมือที่บีบออกเบา ๆ เพื่อดูดน้ำมูก ใช้เสร็จแล้วควรทำความสะอาดและผึ่งลมให้แห้ง2.ผดผื่นตอแยเชื้อโรคมักเติบโตได้ดีในอากาศอับชื้นนำมาสู่ปัญหาผดผื่นได้ดูแลและป้องกันดูแลของใช้ลูก อย่างผ้าอ้อม เสื้อผ้า หรือผ้าห่มไม่ให้อับชื้น ก่อนเก็บผ้าให้จับดูว่าส่วนไหนยังชื้นอยู่ควรตากแดดให้แห้งหรือรีดให้หายชื้น ถ้าใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูปต้องหมั่นเปลี่ยนเสมอ เพราะมีโอกาสทำให้เกิดผดผื่นได้มากกว่าผ้าอ้อมผ้า ถ้าลูกคันทาคาลามายน์เพื่อช่วยบรรเทา อย่าให้เกาเด็ดขาด ถ้ามีทีท่าว่าจะลามไม่หยุด ควรไปพบคุณหมอ3. แมลง กัด ต่อย …

Read more

5 วิธีจัดการเมื่อลูกกินแต่ขนม

คุณแม่มักมีความสุขที่เห็นลูกกินได้ แต่ดีใจได้ไม่เท่าไหร่ก็มานั่งกลุ้มเพราะของที่ลูกกินมีแต่ขนมกรุบกรอบ ลูกอม ช็อกโกแลต เยลลี่ คุกกี้ ขนมเค้ก ไอศกรีม ฯลฯ ที่มีแต่แป้ง ไขมัน น้ำตาล เกลือที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคสารพัดแล้วจะทำอย่างไรดีลูกกินแต่ขนม เรามี 5 วิธีแก้ไขมาฝากค่ะ1.จัดสรรเวลาควรจัดสรรเวลาอาหารของลูก ไม่ควรให้ลูกกินขนมก่อนกินอาหารมื้อหลัก เพราะจะทำให้ลูกอิ่มจนไม่อยากกินข้าว2.จัดปริมาณไม่ปล่อยให้ลูกกินขนมไปเรื่อย ๆ แม้ว่าจะอย่างละนิดอย่างละหน่อยก็ตาม ตกลงกับลูกว่าสามารถกินขนมในปริมาณมากน้อยแค่ไหน3.จัดผลไม้แทนขนมไม่ควรมีขนมเก็บไว้ในบ้านมากเกินไป เตรียมของว่างที่มีประโยชน์หรือผลไม้ไว้แทนขนมจะดีต่อสุขภาพของลูกมากกว่า4.จัดให้นาน ๆ ครั้งสำหรับเด็กที่เคยติดใจในรสชาติขนมไปแล้ว การห้ามกินขนมค่อนข้างทำร้ายจิตใจเด็ก ให้ลูกกินได้ในปริมาณที่เหมาะสม หรือกินบ้างนาน ๆ ครั้ง5.จัดพฤติกรรมของพ่อแม่คุณพ่อคุณแม่ควรทำตัวเป็นต้นแบบที่ดีในเรื่องการกิน ทั้งไม่กิน และไม่ซื้อแต่ขนม แต่เลือกกินของที่มีประโยชน์พยายามสร้างความคุ้นเคยในการกินอาหารที่มีประโยชน์ตั้งแต่เล็ก ๆ เพื่อสุขภาพของลูกค่ะ

Read more