Warning: Undefined array key "action" in /var/www/wp-content/themes/kicker-child/functions.php on line 2
4 แร่ธาตุสำคัญเพิ่มสูง !
X

4 แร่ธาตุสำคัญเพิ่มสูง !

ร่างกายเด็กๆ ที่ต้องการแร่ธาตุต่างๆ เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการกล้ามเนื้อแต่ละส่วน ถ้าว่าด้วยเรื่อง ความสูง จะมีแร่ธาตุ หรือ เกลือแร่หลักๆ ที่สำคัญต่อกระดูก ข้อต่อ เด็กๆ ดังนี้

1) แคลเซียม (Calcium)

แคลเซียม เป็นส่วนประกอบหลักของกระดูก เป็นตัวสร้างฐานมวลกระดูกที่แข็งแรง เพื่อรองรับการยืดตัวของเด็กแคลเซียมเป็นส่วนประกอบถึง 70%ของมวลกระดูกทั้งหมด

ปริมาณแคลเซียมที่แนะนำต่อวันในคนอายุแต่ละช่วงวัย

  • 0 – 6 เดือน 200 มก.ต่อวัน
  • 7 – 12 เดือน 260 มก.ต่อวัน
  • 1 – 3 ปี 700 มก.ต่อวัน
  • 4 – 8 ปี 1000 มก.ต่อวัน
  • 9 – 18 ปี 1300 มก.ต่อวัน
  • 19 – 50 ปี 1000 มก.ต่อวัน
  • 51 – 70 ปี 1000 มก.ต่อวัน
  • 70 ปีเป็นต้นไป 1200 มก.ต่อวัน

แหล่งธรรมชาติที่พบได้มากปลา ปู กุ้ง ผักขม นม ธัญพืช การทานแคลเซียมที่สำคัญคือเน้นไม่ให้ขาด เพื่อให้กระดูกสามารถยืดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แต่เมื่อเราได้รับแคลเซียมเพียงพอแล้ว บทบาทของมันก็จะจบลง แคลเซียมจะไม่ได้ทำหน้าที่กระตุ้นให้สูงเพิ่มขึ้นอีกต่อไป แต่ตัวกระตุ้นความสูงหลักคือโกรทฮอร์โมนหรือฮอร์โมนเจริญเติบโต ซึงสามารถสร้างได้จากการได้รับสารอาหารหลักกลุ่มกรดอะมิโนโปรตีนค่ะ

ดังนั้นแม้ว่าเราจะทานอาหารเสริมแคลเซียมเยอะแค่ไหน ไม่ว่าจากอาหารธรรมชาติหรืออาหารเสริมแคลเซียม ก็จะช่วยได้แค่ถึงจุดหนึ่ง ถ้าเราขาดสารอาหารกลุ่มหลักในการเพิ่มส่วนสูงอื่นๆ ก็จะสูงได้ยากค่ะ

แต่อย่างไรก็ตาม แคลเซียม ก็เป็นสารอาหารที่ถ้าขาดจะมีผลเสียต่อการเจริญเติบโต ดังนั้นสรุปได้ว่า แคลเซียมคือแร่ธาตุที่มีบทบาทสำคัญมากในกระบวนการเจริญเติบโตของเด็กค่ะ

2) สังกะสี (Zinc)

แม้ว่าสังกะสีจะไม่ใช่ส่วนประกอบหลักของกระดูกเหมือนแคลเซียม แต่ก็เป็นแร่ธาตุที่สำคัญในกระบวนการสร้างมวลกระดูก นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ในกระบวนการเจริญเติบโตดังนี้

  • ช่วยในกระบวนการสังเคราะห์โปรตีน เพื่อกระตุ้นการแบ่งเซลล์ สร้างเซลล์ใหม่
  • ช่วยให้ความอยากอาหารดีขึ้น เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารดีขึ้น

การขาดสังกะสีจะชะลอการสร้างเซลล์ใหม่และการเจริญเติบโตของกระดูก โดยเฉพาะหากขาดในปริมาณมาก อาจจะหยุดการยืดตัวได้เลยทีเดียว

ปริมาณสังกะสีที่แนะนำต่อวันในคนอายุแต่ละช่วงวัย

  • 0 – 6 เดือน 2 มก.ต่อวัน
  • 7 – 12 เดือน 3 มก.ต่อวัน
  • 1 – 3 ปี 3 มก.ต่อวัน
  • 4 – 8 ปี 5 มก.ต่อวัน
  • 9 – 13 ปี 8 มก.ต่อวัน
  • เด็กผู้ชาย 14 ปีขึ้นไป 11 มก.ต่อวัน
  • เด็กผู้หญิง 14-18 ปี 9 มก.ต่อวัน
  • เด็กผู้หญิง 19 ปีขึ้นไป 8 มก.ต่อวัน
  • ผู้หญิงตั้งครรภ์ และผู้หญิงอายุ 18 ปีขึ้นไป 11-12 มก.ต่อวัน
  • ผู้หญิงให้นมบุตร 12-13 มก.ต่อวัน

แหล่งธรรมชาติที่พบได้มากอาหารทะเล กุ้ง หอยนางรม ปู เนื้อสัตว์

3) แมกนีเซียม (Magnesium)

ในร่างกายคนเรา โดยเฉลียคนที่มีน้ำหนัก 70 กิโลกรัม จะมีแมกนีเซียมในร่างกายประมาณ 25-30 มิลลิกรัม โดยในปริมาณนี้จะอยู่ในกระดูกเรา 70% และอยู่ในเซลล์เนื้อเยื่อต่างๆ 29% และอีก 1% จะอยู่ในเลือด

  • แมกนีเซียมเป็นส่วนประกอบของกระดูก
  • ทำหน้าที่ช่วยให้การหลั่งฮอร์โมนแคลซิโทนิน (Calcitonin) สมดุล
  • ฮอร์โมนแคลซิโทนินทำหน้าที่ควบคุมระด้บแคลเซียมในเลือดโดยตรง จึงช่วยให้การดูดซึมแคลเซียมมาใช้ งานทำได้เป็นปกติ เรียกได้ว่าเป็นหัวหน้าของการคุมระดับแคลเซียมเลยค่ะ
  • ฮอร์โมนแคลซิโทนิน ช่วยให้ลำไส้ดูดซึมแคลเซียมมาใช้ได้ดีขึ้น ช่วยกระบวนการสร้างกระดูก และป้องกันการเกิดข้ออักเสบและปัญหาข้อต่อซึ่งเป็นสภาวะที่ชะลอการเจริญเติบโตลง

ปริมาณแมกนีเซียมที่แนะนำต่อวันในคนอายุแต่ละช่วงวัย

  • 6 – 12 เดือน 30 มก.ต่อวัน
  • 1 – 3 ปี 80 มก.ต่อวัน
  • 9 – 13 ปี 120 มก.ต่อวัน
  • 14 ปีขึ้นไป 350-400 มก.ต่อวัน
  • นักกีฬาหรือผู้ที่ใช้กำลังมาก 500-700 มก.ต่อวัน

แหล่งธรรมชาติที่พบได้มากผักผลไม้ เช่น ผักขม กล้วย อะโวคาโด ถั่วลันเตา ถั่วลิสง ถั่วเหลือง นม

4) ฟอสฟอรัส (Phosphorus)

ฟอสฟอรัสเป็นแร่ธาตุที่สำคัญในโครงสร้างกระดูกของร่างกายมนุษย์เรา

  • ช่วยสร้างความแข็งแรงของเซลล์กล้ามเนื้อเส้นเอ็นที่ปกป้องและยึดกระดูก
  • เป็นแร่ธาตุที่สำคัญที่ทำงานร่วมกับแคลเซียม ในการสร้างมวลกระดูกที่แข็งแรง
  • สร้างพื้นฐานโครงสร้างร่างกายที่ช่วยสนับสนุนกระบวนการยืดกระดูก

ปริมาณฟอสฟอรัสที่แนะนำต่อวันในคนอายุแต่ละช่วงวัย

  • Children 0 – 6 months old: 100 mg/day
  • Children 7 – 12 months old: 275 mg/day
  • Children 1 – 3 years old: 460 mg/day
  • Children 4 – 8 years old 500 mg/day
  • Children 9 – 18 years old: 1,250 mg/day
  • Adults above 19 years old: 700 mg/day
  • 0 – 6 เดือน 100 มก.ต่อวัน
  • 7 – 12 เดือน 275 มก.ต่อวัน
  • 1 – 3 ปี 460 มก.ต่อวัน
  • 4 – 8 ปี 500 มก.ต่อวัน
  • 9 – 18 ปี 1250 มก.ต่อวัน
  • 19 ปีขึ้นไป 700 มก.ต่อวัน

แหล่งธรรมชาติที่พบได้มากเนื้อสัตว์ ไข่ ถั่ว ปลา ผลิตภัณฑ์จากนม สารอาหารเหล่านี้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ที่ควรทานให้สมดุล ไม่ให้ขาด 

ทั้งนี้สารอาหารที่บำรุงการสร้างฮอร์โมนการเจริญเติบโต หรือโกรทฮอร์โมน เป็นสารอาหารหลักในการกระตุ้นความสูงในเด็ก ซึ่งหาทานได้จากสารอาหารธรรมชาติหรืออาหารเสริมกลุ่มกรดอะมิโนโปรตีนค่ะ

#เพิ่มสูง #อาหารเพิ่มสูง

Categories: Knowledge
Mother & Care:
Related Post