Warning: Undefined array key "action" in /var/www/wp-content/themes/kicker-child/functions.php on line 2
สอนวินัย ทำได้..แค่แยกสองคำนี้ให้ออก
X

สอนวินัย ทำได้..แค่แยกสองคำนี้ให้ออก

มีพ่อแม่บ้านไหนที่ทะเลาะกับลูกแทบทุกวันบ้าง คิดว่าคงมีหลายบ้านเลยที่ต้องพบเจอกับสภาวะแบบนี้ ลูกไม่ยอมไม่อาบน้า ลูกไม่ยอมไปทานข้าว เรียกแล้วเรียกอีกก็ทาเป็นไม่ได้ยิน สุดท้ายเรื่องราวมักจบลงที่คุณพ่อคุณแม่โมโหและต้องบังคับใช้มาตรการต่างๆ ทั้งข่มขู่ ทั้งตัดสิทธิ์ หรือบางบ้านอาจจะถึงกับลงไม้ลงมือตีกันไปเบาเบา แม้สุดท้ายลูกจะยอมทาตามที่พ่อแม่สั่งหรือบังคับ แต่เราก็ต้องสูญเสียบรรยากาศดีดีในบ้านไป 

สอนวินัย ให้เด็ก ถือเป็นสิ่งพื้นฐานที่พ่อแม่ทุกคนจะต้องสอนลูกแต่เล็กๆเลยค่ะ เคยได้ยินไหมคะคำว่า ‘ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แข็งดัดยาก’ เพราะจะทำให้วินัยเหล่านี้ติดตัวลูกๆไปยันโตจนแก่ได้เลยค่ะ แต่ปัญหาคือพ่อแม่ส่วนใหญ่มักมีอารมณ์ในสิ่งที่ลูกทำ ที่คุณพ่อคุณแม่ไม่ชอบใจ วันนี้เราจะให้คุณพ่อคุณแม่มาเช็คกันค่ะว่าที่ทำอยู่เรียกว่าสอนวินัย หรือแค่อยากจะเอาชนะลูกกันแน่

สอนวินัย

คือ การควบคุมพฤติกรรมของคน โดยการใช้กฎ ระเบียบ หรือการสั่งสอน อบรม

เอาชนะ

คือ การทำอะไรก็ได้ค่ะที่ต้องได้ดั่งใจเรา โดยไม่คำนึงว่าอีกฝ่ายจะรู้สึกอย่างไร

สอวินัยให้เด็ก หรือ อยากเอาชนะ  กันแน่ ?

.เราจะมายกตัวอย่างง่ายๆกันค่ะ ให้คุณพ่อคุณแม่ได้รู้ตัวว่าสิ่งที่ทำอยู่นั้นถูกต้องจริงๆ

“คุณพ่อไม่ชอบให้ลูกเล่นเกมส์ เพราะกลัวจะเสียการเรียน พอเห็นลูกเล่นเกมส์ คุณพ่อก็โกรธ โมโห ยึดโทรศัพท์ ยึดคอม”

จริงๆแล้ว คุณพ่อมีความหวังดีค่ะ กลัวลูกจะติดเกมส์จนเสียการเรียนไม่ได้อ่านหนังสือ แต่มันเป็นการเอาชนะมากกว่าสอนวินัยค่ะ เพราะพอคุณพ่อเห็นลูกเล่นเกมส์ก็เริ่มมีอารมณ์เหมือนลูกขัดใจในสิ่งที่พ่อไม่ชอบให้ทำจนยึดโทรศัพท์ ยึดคอม มันเป็นวิธีที่ผิดอย่างมากค่ะ เพราะยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ เราอาจจะมาปรับเป็นการกำหนดเวลาเล่นเกมส์ค่ะว่าหากเล่นได้ก็ต้องอ่านหนังสือตั้งใจเรียนได้ด้วยเหมือนกัน

ตามอารมณ์ตัวเองทันหรือยัง .. ?

ข้อนี้ถือว่าสำคัญมาก กอ.ไก่ล้านตัวเลยค่ะ หากเราจะตามอารมณ์ตัวเองให้ทันเราควรที่จะ ..

  • ฝึกเข้าใจอารมณ์ของตัวเองให้มากขึ้น
  • ฝึกการจัดการอารมณ์ของตัวเองเมื่อเกิด
  • หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้เกิดอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ
  • ลองปรับเปลี่ยนหาวิธีการจัดการอารมณ์ของตัวเองให้หลากหลาย

สรุป

การที่จะสอนวินัยให้ลูกของเราทำตามได้นั้น คุณพ่อคุณแม่จะต้องตามอารมณ์ของตัวเองและแยกระหว่างการสอนกับการเอาชนะลูกให้ได้ก่อนค่ะ แล้ววินัยที่ดีของลูกก็จะตามมาเอง

มันจะดีกว่านี้ไหม… หากเราสามารถฝึกวินัยเชิงบวกให้ลูกกากับตนเองได้ 

จะฝึกลูกให้มีวินัยกากับตนเองได้ พ่อแม่ต้องทาอย่างไร 

การฝึกวินัยเชิงบวกให้กับลูกต้องเริ่มต้นที่ความตั้งใจอันแน่วแน่ของคุณพ่อและคุณแม่ เพราะการฝึกนั้นย่อมต้องใช้ระยะเวลา ทาซ้าและสม่าเสมอ คุณพ่อคุณแม่ควรกาหนดกติกาหรือกิจวัตรประจาวันที่ลูกต้องทาอย่างสม่าเสมอ และกากับให้เวลาเป็นไปตามนั้น หากลูกไม่ปฏิบัติหรือมีอาการงอแง ขอให้คุณพ่อคุณแม่ทาความเข้าใจก่อนว่า นั่นเป็นเรื่องปกติตามวัยของเขา ซึ่งเราต้องเตรียมความพร้อมที่จะรับมือ และเราจะถือเอาโอกาสนั้นในการฝึกเขา โดยการสื่อสารเชิงบวก ชวนลูกใช้สมองคิดอย่างใจเย็น 

วิธีรับมือเมื่อลูกไม่ทาตาม 

บอกเหตุผลกับลูกเพื่อฝึกสมองส่วนคิดวิเคราะห์ ในการบอกเหตุผลกับลูกนั้น ขอให้คุณพ่อคุณแม่มองหน้ามองตาและสื่อสารกับลูกด้วยท่าทีที่ปกติ เช่น เมื่อเราต้องการให้ลูกไปอาบน้า แทนที่เราจะบ่นว่า ว่าทาไมไม่ยอมมา แม่จะโมโหแล้วนะ เราควรพูดอธิบายถึงเหตุผลที่เขาต้องอาบน้าในเวลานี้ เช่น เรากาหนดเวลาอ่านนิทานไว้สองทุ่ม หากลูกอาบน้าช้า ลูกก็จะอดอ่านนิทานก่อนนอนนะคะ” 

เปิดพื้นที่เพื่อรับฟังเหตุผลของลูก เพื่อเปิดโอกาสให้ลูกมีตัวตนและได้บอกกล่าวถึงสิ่งที่เขาคิดเพื่อเชื่อมโยงกับสถานการณ์ เช่น ลูกอาจจะไม่อยากไปอาบน้าตอนนี้เพราะมีเพื่อนมาเล่นด้วย และเพิ่งได้เล่นกับไปแป๊ปเดียว หากได้รับคาตอบที่คุณพ่อคุณแม่รู้สึกขัดใจ อย่าเพิ่งรีบโมโห ให้ลองสรุปสิ่งที่จะเกิดขึ้นหากลูกตัดสินใจเช่นนั้นให้เขาฟังต่อไป 

สรุปข้อมูลตามการตัดสินใจของลูกให้เขาฟัง เพื่อให้สมองส่วนคิดวิเคราะห์ของลูกทางานง่ายขึ้น เช่น หากลูกไม่ไปอาบน้าในเวลานี้ เมื่อถึงเวลาที่ต้องพักผ่อนลูกจะไม่ได้อ่านนิทาน หรือได้อ่านน้อยลงนะคะเพราะเวลาไม่เพียงพอแล้ว ลูกจะตัดสินใจอย่างไร ณ จุดนี้ พ่อแม่ต้องฝึกตนเองอย่างมากที่จะยอมรับการตัดสินใจของลูก 

เมื่อลูกคิดทบทวนและยังยืนยันการตัดสินเดิม คุณพ่อคุณแม่ต้องฝึกที่จะยอมรับ และพร้อมที่จะรับมือเมื่อลูกจะเกิดอาการผิดหวังในสถานการณ์หลังจากนี้ เช่น เมื่อลูกไม่ได้อ่านนิทานก่อนนอน แล้วงอแงโวยวาย พ่อแม่ควรรับมือกับความผิดหวังของลูกด้วยความเป็นมิตร 

สุดท้าย สิ่งสาคัญอย่างมากในการฝึกวินัยเชิงบวก คือการรับมือตอนลูกมีอารมณ์ผิดหวัง เพื่อฝึกลูกรับผิดชอบผลลัพธ์ของการตัดสินใจ การรับมือกับความผิดหวังของลูก ไม่ใช่การยอมตามใจและไม่ใช่การปล่อยปละละเลยให้ฟูมฟาย พ่อและแม่ควรเข้าไปโอบอุ้มเขาด้วยการรับรู้ถึงความเสียใจ เข้าใจพร้อมแนะนาว่าครั้งต่อไปเราจะทาอย่างไรกันดีเพื่อไม้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก เพียงเท่านี้ลูกก็จะได้ฝึกการกากับตนเองอย่างสม่าเสมอแล้ว 

motherandcare:
Related Post