Warning: Undefined array key "action" in /var/www/wp-content/themes/kicker-child/functions.php on line 2
ลูกเอาแต่ใจ ต่อต้าน จัดการได้แค่ปรับความคิด
X

ลูกเอาแต่ใจ ต่อต้าน จัดการได้แค่ปรับความคิด

ลูกเอาแต่ใจ คุณพ่อคุณแม่ที่เข้ามาอ่านบทความนี้ไมต้องเครียดกันค่ะ เพราะพฤติกรรมแบบนี้เด็กแทบจะทุกคนต้องเป็น และเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่มากๆที่พ่อแม่หลายคนรับมือกับมันไม่ค่อยได้ จนทำให้ลูกถึงขั้นแอนตี้พ่อแม่ได้เลยหากเราแสดงการกระทำและวิธีการรับมือกับสิ่งนี้ไม่ถูกต้อง แท้จริงแล้วเราไม่ต้องไปสรรหาวิธีอะไรมากมายให้ยุ่งยากเลยค่ะ เพียงแค่ปรับความคิดเหล่านี้ คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถรับมือกับการเอาแต่ใจของลูกๆได้ทุกสถานการณ์เลย

ลูกเอาแต่ใจ ปรับได้ด้วย 2 ความคิดนี้

2 ความคิดนี้จะเป็นความคิดที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่รู้ตัวค่ะ ว่าสิ่งที่ทำใส่ไปลูก แม้จะตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจสามารถส่งผลกระทบต่อนิสัยการเอาแต่ใจ ต่อต้อน ของเขาได้ค่ะ

  • ความคิดแบบที่ 1 การตอบสนองกลับแบบมุ่งจัดการให้อยู่หมัด
  • ความคิดแบบที่ 2 การตอบสนองกลับแบบมุ่งช่วยหาจุดลงตัวให้ลูก

เอาหล่ะค่ะ .. เราจะมายกตัวอย่างง่ายๆของความคิดทั้ง 2 แบบกัน

เหตุการณ์ : ลูกไม่ยอมไปอาบน้ำ ร้องไหโวยวาย

ความคิดแบบที่ 1 : เมื่อลูกของเราไม่ยอมไปอาบน้ำ ร้องไหโวยวาย ถ้าเป็นแบบนี้พ่อแม่บางคนอาจจะปรอทแตกเลยค่ะ ว่าลูกขัดคำสั่ง ไม่ยอมเชื่อฟัง ดื้อ จึงทำให้เกิดการตอบสนองแบบอยากจะบังคับลูกให้ไปอาบน้ำให้ได้ ทำอย่างไรก็ได้ แต่ในทางตรงกันข้ามเลยค่ะกับความคิดแบบที่ 2

ความคิดแบบที่ 2 : เมื่อลูกของเราไม่ยอมไปอาบน้ำใช่ไหมคะ คุณพ่อคุณแม่ที่มีความคิดแบบที่ 2 นี้ จะเข้าใจค่ะว่าสิ่งที่ลูกกระทำ ไม่ว่าจะเป็นร้องไหโวยวายไม่ยอมอาบน้ำ เพราะลูกต้องการมีตัวตน ดังนั้นพ่อแม่ความคิดแบบที่ 2 จะใช้เหตุผลและมีความใจเย็นมากกว่าแบบความคิดที่ 1 ค่ะ เพื่อให้ลูกของเราก้าวร้าวน้อยลงหรือเข้าใจในสิ่งที่ตนเองทำค่ะ เนื่องจากการหาจุดลงตัวระหว่าง “ฟังเสียงตนเอง” กับ “ฟังเสียงคนอื่น” ในการมีตัวตนของลูกนั้นเป็นเรื่องที่ยากสำหรับเขาและเราต้องช่วยเหลือเขา อาจจะค่อยกระทำให้เขารับรู้และคิดได้เอง

สรุป

เห็นไหมคะ ว่าการแก้ปัญหาของลูกๆถ้าพ่อแม่สังเกตกันแทบจะไม่ต้องแก้ไขที่ตัวลูกเลยค่ะ เพราะส่วนใหญ่แล้วล้วนเกิดจากการตัวของพ่อแม่เองทั้งนั้น หากเราอยากให้ลูกเติบโตไปอย่างมีคุณภาพ และไว้ใจเรา ทำง่ายๆค่ะ แค่เปลี่ยนมุมมองความคิดของเราเองนี่แหละ แล้วลูกก็จะรู้สึกได้เองค่ะว่าพ่อแม่คือพื้นที่ปลอดภัยสำหรับเขา และเราก็จะไม่ต้องกังวลด้วยว่าลูกจะมีปัญหาอะไรรึเปล่า

Categories: Knowledge
motherandcare:
Related Post