Warning: Undefined array key "action" in /var/www/wp-content/themes/kicker-child/functions.php on line 2
ลูกเป็นสมาธิสั้น
X

ลูกเป็นสมาธิสั้น

ในยุคปัจจุบันเราได้ยินเรื่องสมาธิสั้นกันจนคุ้นหู หากเด็กคนไหนซุกซน มีความจดจ่อต่อสิ่งที่ทำน้อย คุณพ่อคุณแม่มักจะกังวลว่าเอ๊ะลูกเราเป็นสมาธิสั้นหรือเปล่า คำว่า “สมาธิ” หรือจิตจดจ่อนั้น เกี่ยวข้องกับคำ 2 คำ คือ sustained attention หมายถึง การคงสมาธิจนงานสำเร็จ และ selective attention หรือการเลือกตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น (ตรงหน้า) ไม่วอกแวกตอบสนองกับสิ่งกระตุ้นอื่น ในการทำงานให้บรรลุแล้วเสร็จหนึ่งขั้นตอนของเด็กๆนั้น ต้องอาศัยทั้ง 2 สิ่งนี้ นั่นคือมีจิตจดจ่อเพียงพอจะทำงานนั้นได้ และเมื่อมีสิ่งเร้าก็ไม่วอกแวกหรือถึงวอกแวกบ้างก็กลับมาจดจ่อจนทำงานสาเร็จได้ ตัวการที่ทำให้เด็กๆทำภารกิจ 2 สิ่งนี้ได้สำเร็จคือสารสื่อประสาทในสมอง ซึ่งในเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้น สารสื่อประสาทในสมองจะขาดสมดุลของสารเคมี จึงทำให้วอกแวกง่ายและคงสมาธิจนงานสาเร็จไม่ได้ 

กรณีตัวอย่างเรื่องสมาธิในเด็กเล็กๆ เช่น เมื่อเขาได้รับมอบหมาย หรือมีภารกิจในการเก็บของเล่น จำนวน 10 ชิ้นลงในตระกร้า เด็กๆ จะเริ่มหยิบของเล่น 1 ชิ้นใส่ตระกร้าและตามด้วยชิ้นที่ 2 …ชิ้นที่3 แต่หากสายตาของเขาเกิดหันไปเจอกับขนมหรือลูกกวาด เขาจะเลือกตอบสนองด้วยการเดินไปหยิบขนมมาทานโดยไม่สามารถทำภารกิจตรงหน้าได้สำเร็จ เพราะ เด็กเล็กๆ นั้นยังไม่ทราบว่าเขาจะเลือกตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้น” (selective attention) ได้อย่างไร ความจดจ่อในการทำภารกิจ เขายัง “คงสมาธิจนงานเสร็จ” (sustained attention) ไม่เป็น แล้วแบบนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรทำอย่างไร 

มาช่วยดึงสมาธิ กระตุ้นพัฒนาการในการตอบสนองต่อสิ่งเร้ากันเถอะ 

การฝึกกระตุ้นให้มีสมาธิจดจ่อจนทำงานได้สำเร็จนี้สามารถทำได้ในเด็กๆทุกคน ถึงแม้ว่าลูกจะไม่ได้มีอาการผิดปกติในสารสื่อประสาทหรือไม่มีภาวะสมาธิสั้นก็ตาม เพราะการได้ฝึกหรือกระตุ้นการคงสมาธิ และฝึกการตอบสนองต่อสิ่งเร้าในทางที่ถูกอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้สารเคมีในสารสื่อประสาทสมองได้ทำงานเต็มที่ ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดสภาวะสมาธิสั้นได้เป็นอย่างดี 

• การกระตุ้นสมาธิของเด็กๆ พ่อแม่ต้องกระตุ้นด้วยสีหน้าท่าทางยิ้มแย้มชักชวนให้เด็กๆ จดจ่อกับสิ่งที่กำลังทาได้ดี ให้กำลังใจเมื่อลูกทำสำเร็จในขั้นตอนแรก เช่น “เย้ๆใส่ลงแล้ว” “เก่งมาเลยทำต่อเลยครับ” อย่าลืมว่าการกระตุ้นนั้น เป็นการกระทำในเชิงบวกเพื่อส่งเสริมพัฒนาการจึงไม่ควรทำเสียงเข้ม 

• คุณพ่อคุณแม่ควรลดสิ่งเร้าหรือลดการวอกแวกของลูก ด้วยการจัดสิ่งแวดล้อมให้เป็นระเบียบ เช่น ไม่วางข้าวของระเกะระกะในบ้าน ไม่ซื้อของเล่นเยอะจนเกินไป ไม่เปิดโทรทัศน์หรือสมาร์ทโฟนทิ้งไว้ทั้งวัน ลดการยื่นมือถือให้ลูก เพราะปริมาณของเล่นที่มาก เสียงทีวีที่ดังตลอดเวลาจะกระตุ้นให้ลูกตอบสนองต่อสิ่งเร้า และขาดความจดจ่อในสิ่งที่กาลังทำ

• ให้โอกาสลูกได้ช่วยเหลือทำงานบ้าน เพราะการได้ลงมือทำจะช่วยฝึกทั้งสมาธิและฝึกการตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้ดี 

จะเห็นได้ว่า การสมาธิที่ดีนั้น เริ่มต้นจากการให้โอกาสจากพ่อแม่เป็นสำคัญ อยากให้ลูกมีสมาธิดี มีจิตจดจ่อก็ต้องช่วยกันฝึกฝน สำหรับกรณีที่สมาธิสั้นเพราะเป็นโรคภัยนั้นต้องปรึกษาแพทย์นะคะ 

Categories: Knowledge
motherandcare:
Related Post