Share This Article
5 วิธีเช็ค และช่วยเหลือเด็กเป็นฮีโมฟีเลีย
วิธีที่ 1 เช็คให้แน่ใจ ใช่ ไม่ใช่
เช็กให้ดี ลูกเป็รโรคฮีโมฟีเลียแน่หรือ
เมื่อลูกมีเลือดออกง่าย หยุดยาก เช่น เลือดไหลซึมนานหลังฉีดวัคซีน กระแทกหน่อยก็มีรอยช้ำสีม่วง มีรอยฟกช้ำ ข้อบวมง่ายโดยไม่ทราบสาเหตุ ยิ่งถ้ามีประวัติญาติผู้ชายฝ่ายแม่เป็นโรคเลือดออกง่าย แต่หยุดยาก ให้สงใสว่าลูกมีโรคเลือด อาจเป็นโรคฮีโมฟีเลีย ควรพาลูกไปพบแพทย์โดยเร็ว อย่ารอให้เลือดออกมาก จะได้ตรวจวินิจฉัยรักษาดูแลได้เร็ว
วิธีที่ 2 เช็คหาสาเหตุ แหล่งของการเป็น
รู้ข้อมูลก่อน ฮีโมฟีเลีย คืออะไร ทำไมลูกเป็น
โรคฮีโมฟีเลีย จัดเป็นโรคเลือดออกผิดปกติที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เป็นโรคที่พบได้น้อยในบ้านเรา แต่ก็มักพบได้ในเด็ก และพบได้เรื่อยๆ เกิดจากความผิดปกติของยีน ทำให้ขาดปัจจัยการแข็งตัวของเลือดที่มีอยู่หลายชนิด ได้แก่ การขาดแฟคเตอร์ 8 (ฮีโมฟีเลียเอ) ขาดแฟคเตอร์ 9 (ฮีโมฟีเลียบี) ขาดแฟคเตอร์ 11 (ฮีโมฟีเลียซี) ซึ่งก็จะมีอาการมากน้อยแตกต่างกัน
วิธีที่ 3 เช็คอาการเบื้องต้นเพื่อจัด Save Zone
รู้ทันอาการของโรค
ในเด็กที่ยังเดินไม่ได้ หรือหัดเดิน ก็จะมีอาการเลือดออกในกล้ามเนื้อที่ขาหรือก้นเมื่อถูกกระแทกอาจเกิดขึ้นขณะคลาน หรือตั้งไข่แล้วล้ม ก้นจะบวมแดง ปวด มักมีประวัติเลือดไหลออกง่าย หยุดยากตั้งแต่วัย 2 ขวบปีแรก นอกจากนี้จะมีรอยปกช้ำเป็นจ้ำๆ ทั่วร่างกาย หลังฉีดวัคซีนก็จะมีรอยฟกช้ำเป็นจ้ำๆ ทั่วร่างกาย หลังฉีดวัคซีนก็จะมีเลือดออกมากผิดปกติ ถ้าเป็นเด็กทารกก็มักร้องไห้โดยไม่มีสาเหตุ
วิธีที่ 4 ศึกษาการรักษาแบบมือโปร
รู้ทันการรักษา
หลักสำคัญในการรักษา คือต้องหาวิธีให้เลือดหยุดโดยการห้ามเลือด อาจใช้ผ้าก๊อซหรือผ้าสะอาดๆแห้งๆกดบริเวณแผลที่มีเลือดออก ถ้าลูกมีเลือดออกในข้อหรือกล้ามเนื้อ ให้ประคบด้วยความเย็น เช่น ใช้ผ้าห่อน้ำแข็ง เพื่อทำให้หลอดเลือดหดตัวเมื่ได้รับความเย็น ส่งผลให้เลือดหยุด
วิธีที่ 5 ป้องกันดีกว่าแก้
รู้จักการป้องกันให้ดี
ระวังอุบัติเหตุกระทบกระแทก หกล้ม หรือเหตุปัจจัยต่างๆ ที่มีความเสี่ยงต่อการมีเลือดออกให้ดี
ของเล่นอย่าให้แหลมคม เฟอร์นิเจอร์ต้องลบเหลี่ยมให้หมด หรือบุนวมกันกระแทกอย่างดี
เสื้อผ้าต้องบุด้วยผ้ากันกระแทกบริเวณข้อศอก หัวเข่า ศีรษะสวมหมวกบุนวมกันไว้
งดกิจกรรมการเล่นที่เสี่ยงตกจากที่สูง โตขึ้นก็งดกีฬาที่ต้องแข่งขันใช้แรงกระแทก เล่นกีฬาว่ายน้ำจะปลอดภัยกว่า
ติดป้ายชื่อลูก ระบุชื่อโรคกรุ๊ปเลือด สถานที่รักษา เบอร์โทรฯ คุณหมอที่รักษา เผื่อมีเหตุฉุกเฉิน คนอื่นจะช่วยเหลือได้