Warning: Undefined array key "action" in /var/www/wp-content/themes/kicker-child/functions.php on line 2
ทายซิ ดื่มนมกล่องนี้ ได้ DHA และ โอเมก้า 3 เทียบเท่ากินปลาเมนูอะไรบ้างนะ ?
X

ทายซิ ดื่มนมกล่องนี้ ได้ DHA และ โอเมก้า 3 เทียบเท่ากินปลาเมนูอะไรบ้างนะ ?

นมวัวเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญสำหรับเด็กในวัยเจริญเติบโตเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากนมหนึ่งกล่อง มีโปรตีน และ แคลเซียมในปริมาณมาก นอกจากนี้ยังพบว่ามีสารอาหาร และแร่ธาตุชนิดอื่น ๆ ที่เพิ่มขึ้นมา โดยเฉพาะกรดไขมันโอเมก้าสาม ที่มีมากกว่านมชนิดอื่น ๆ ทำให้เมื่อดื่มนมวัวร่วมกับการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ รวมทั้งเสริมปลาจากทะเลและถั่วชนิดต่าง ๆ ก็จะทำให้เด็กได้เติบโตอย่างสมวัยและแข็งแรง

อย่างที่เราทราบกันดีว่านมแม่เป็นนมที่สำคัญที่สุดในช่วงขวบปีแรกของทารก แต่หลังจากนั้นการเจริญเติบโตของลูกจะเป็นไปอย่างก้าวกระโดด เราจึงควรจะต้องเสริมอาหารตามวัยชนิดต่าง ๆ นอกเหนือจากนมแม่ด้วยอาหารชนิดอื่น ๆโดยเฉพาะอย่างยิ่ง “น้ำนมวัว” จัดว่าเป็นอีกทางเลือกอันดับต้นๆ ของคุณแม่ ประกอบไปด้วยสารอาหารสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างร่างกาย พัฒนาสมอง และยังมีราคาที่ประหยัดกว่านมชนิดอื่นๆ อีกทั้งยังเป็นแหล่งของแคลเซียม และวิตามินหลากหลายชนิดที่อยู่ในน้ำนมซึ่งหากเทียบแล้ว มีมากกว่านมจากสัตว์ชนิดอื่นๆ  มากกว่าอย่างไร พิจารณาเป็นส่วนๆ ดังนี้

นมวัวมีกรดไขมันโอเมก้า 3 สูงกว่า

กรดไขมันชนิดโอเมก้า 3 ชนิด DHA เป็นกรดไขมันที่ส่งผลต่อการพัฒนาต่อระบบต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะระบบประสาทและสมอง รวมถึงจอประสาทตา โดยโฟรโมสต์ โอเมก้า 369 มี  DHA เพิ่มขึ้นมากกว่าสูตรเดิม 50% (หรือประมาณ 3.4 มิลลิกรัมต่อ  1 กล่อง) และมีโอเมก้า 3 เพิ่มขึ้นจากสูตรเดิม 2 เท่า (คือ มี โอเมก้า 3 อยู่ที่ 80 มิลลิกรัมต่อ 1 กล่อง)

ถึงแม้ว่านมจะไม่ใช่แหล่งที่สำคัญของกรดไขมันชนิดโอเมก้า 3 แต่เมื่อเทียบกันแล้วนมวัวก็มีสัดส่วนของกรดไขมันชนิดโอเมก้า 3 สูงกว่า นมแพะ และ นมแกะ (แหล่งที่สำคัญของกรดไขมันชนิดโอเมก้า 3 พบมากในเนื้อปลา)

นมวัวมีกรดไขมันอิ่มตัวน้อยกว่า

กรดไขมันอิ่มตัว (Saturated Fatty Acid) คือ กรดไขมันชนิดหนึ่งที่สำคัญและมักพบได้ในไขมันที่มาจากสัตว์ทุกชนิด แต่จากข้อมูลทั่วไปแล้วการรับประทานอาหารที่มีกรดไขมันอิ่มตัวชนิดนี้ในสัดส่วนที่สูงมักจะทำให้มีโอกาสเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL-C) และอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจได้

นมวัว มีกรดไขมันอิ่มตัวที่ต่ำกว่านมชนิดอื่นๆ ซึ่งมีโอกาสปลอดภัยจากโรคหลอดเลือดและหัวใจมากกว่า  จากการศึกษาเปรียบเทียบปริมาณกรดไขมันอิ่มตัวระหว่างนมชนิดต่าง ๆ พบว่านมวัวมีกรดไขมันชนิดอิ่มตัวน้อยที่สุดเมื่อเทียบจากนมแพะและนมแกะ

คำแนะนำปริมาณสารอาหารต่อวัน

ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2563 จากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้แนะนำไว้ให้เด็กในช่วงอายุ 2 – 3 ปี ควรได้รับ กรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง (PUFA) ประมาณ 10% ของพลังงานรวมทั้งหมด ซึ่งประกอบไปด้วย  กรดไขมันไลโนเลนิก   DH และ EPA  โดยควรเป็น DHA ร่วมกับ EPA ประมาณ 100 – 150 มิลลิกรัม ต่อวัน ซึ่งจากปริมาณที่แนะนำดังกล่าวผู้ปกครองสามารถเสริมการทานอาหารที่มี DHA และโอเมก้า 3  จากปลาชนิดต่าง ๆ หรือนมที่เสริม DHA

ข้อมูลเปรียบเทียบโอเมก้า 3 ระหว่าง นมวัวสด กับ แหล่งโอเมก้า 3 จากปลาชนิดต่างๆ

นมโฟร์โมสต์โอเมก้า 369 สูตรใหม่  1 กล่อง (180 ม.ล.)  มีปริมาณโอเมก้า 3 เทียบเท่ากับเมนูสำหรับเด็กต่าง ๆ ดังนี้

  • เท่ากับ แซนวิชทูน่า 2 คู่ คานาเป้ทูน่า  4 ชิ้น ข้าวผัดปลาทูน่า 1 จาน
  • เท่ากับ  เมนูข้าวผัดปลานิล ปลานิลทอดขมิ้น ครอกเก้ปลานิล เกี๊ยวปลานิล 1 จาน
  • เท่ากับ  เมนู ปลาเก๋าผัดเปรี้ยวหวาน แกงจืดปลาเก๋า ปลาเก๋าชุบแป้งทอด ข้าวต้มปลาเก๋า
  • เท่ากับ  เมนู ปลาสลิดทอดคลุกข้าว สปาเกตตี้ผัดปลาสลิด
  • เท่ากับ เมนูข้าวตุ๋นปลาดุกย่าง

เด็กๆ ดื่มนมโฟร์โมสต์โอเมก้า 369 สูตรใหม่ ควบคู่ไปกับการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ รวมทั้งเสริมด้วยเนื้อปลาและถั่วชนิดต่าง ๆ ก็จะทำให้เด็กได้เติบโตอย่างสมวัยและแข็งแรง เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สำคัญสำหรับคุณพ่อ คุณแม่เพื่อให้มั่นใจได้ว่าลูกในวัยกำลังเรียนรู้จะได้รับสารอาหารครบถ้วนและมีประโยชน์ ช่วยกระตุ้นพัฒนาการ ระบบต่าง ๆ ของร่างกาย กระตุ้นระบบประสาท สมอง และ การมองเห็น

Reference

  1. Pietrzak-Fiećko, Renata & Kamelska-Sadowska, Anna. (2020). The Comparison of Nutritional Value of Human Milk with Other Mammals’ Milk. Nutrients. 12 . 1404. 10.3390/nu12051404.
  2. Burdge GC, Wootton SA. Conversion of alpha-linolenic acid to eicosapentaenoic, docosapentaenoic and docosahexaenoic acids in young women. Br J Nutr. 2002 Oct;88(4):411-20.
  3. ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ.2563 โดย คณะกรรมการและคณะทำงานปรับปรุงข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
  4. U.S. Department of Agriculture, Agricultural Research Service. FoodData Central, 2019. fdc.nal.usda.gov.
  5. Innis SM. Dietary omega 3 fatty acids and the developing brain. Brain Research 2008;1237:35‐43.
  6. คอเลสเตอรอลและกรดไขมันในอาหารไทย ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2547 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

Facebook : https://www.facebook.com/ForemostThailand
Line : https://line.me/R/ti/p/%40872sdppl
Website : https://www.foremostthailand.com/

Categories: Knowledge
Mother & Care:
Related Post