Warning: Undefined array key "action" in /var/www/wp-content/themes/kicker-child/functions.php on line 2
พฤติกรรมการกิน ของลูกน้อย รับมืออย่างไรดี
X

พฤติกรรมการกิน ของลูกน้อย รับมืออย่างไรดี

ความรักที่พ่อและแม่มีให้กับลูกนั้น เป็นความรักที่ยิ่งใหญ่เกินกว่าจะอธิบายด้วยคาใดได้ แต่คุณพ่อคุณแม่เคยทราบกันบ้างหรือไม่ว่า บางครั้งเราก็ทาร้ายหรือรังแกลูกด้วยการแสดงออกถึงความรักหรือการทุ่มเทให้ความรักด้วยวิธีที่ผิดที่ผิดทางจนลูกของเราไม่สามารถที่จะจัดการกับปัญหาต่างๆที่เขาต้องเผชิญด้วยตัวเองตามวัยของเขาได้ อย่างที่ใครๆหลายคนเรียกว่า “พ่อแม่รักแกฉัน” วันนี้เรามาดูกันว่า พ่อแม่รังแกลูกด้วยวิธีใดได้บ้าง 

พฤติกรรมการกิน ถือเป็นปัญหาโลกแตกแทบจะทุกเพศทุกวัยเลยทีเดียว แต่ปัญหานี้จะเป็นที่น่ากังวลและหนักใจที่สุดหากเป็นลูกน้อยของเรา ไม่ว่าจะติดเล่นไม่ยอมกิน หรือหากกินก็เล่นอาหาร แม้แต่เวลากินอาหารจะต้องมีคนป้อนเสมอถึงจะยอมกิน ปัญหาเหล่านี้จะหายไปเพียงแค่คุณพ่อคุณแม่มอบอำนาจให้แก่ลูก และไม่คิดเองเออเองแทนลูก จะมีวิธีการแก้ไขอย่างไร ตามมาดูกันเลย

2 Step ‘พฤติกรรมการกิน’ ที่พ่อแม่ต้องทำ

1.กำหนดกติกาการกิน

ใช่แล้ว .. ทุกอย่างย่อมมีกติกา การกำหนดกติกาในการกินอาหารหากคุณพ่อคุณแม่บ้านไหน นึกไม่ออก ก็สามารถนำกติกาที่เราจะมาเล่าสู่กันฟังนี้ไปใช้หรือปรับใช้ให้เข้ากับครอบครัวของแต่ละคนได้เลยค่ะ

– กำหนดเวลากินอาหารที่พร้อมหน้าพร้อมตากันในครอบครัว

จะกำหนดเป็นเวลา 6 โมง 6 โมงครึ่ง ก็ได้ค่ะ ยืดหยุ่นตามกิจกรรมหรือเวลาว่างของคนในครอบครัวได้เลย

ปล.แต่ถ้าหากวันไหนไม่ว่างกินพร้อมกันก็ไม่เป็นไรค่ะหยวนๆกันไปบ้างบางวันเนอะ ^^

– กำหนดเวลากินอาหาร

กำหนดเวลากินอาหารแต่ละครั้งค่ะ ว่าควรกินกันกี่นาทีเพื่อให้มีเวลาเหลือไปทำธุระส่วนตัวหรือกิจกรรมร่วมกับคุณลูกให้มากขึ้นด้วย เช่น กำหนดเวลากินอาหารเช้า 20 นาที เพราะเป็นเช้าที่เร่งรีบต้องทำเวลากันหน่อย หรือกินอาหารเย็น 30 นาที อะไรแบบนี้ค่ะ

– ห้ามกินขนม ของว่าง หากไม่กินอาหารหลัก

เราว่าข้อนี้หลายๆบ้านน่าจะเป็นกัน ที่ลูกไม่ยอมกินข้าวเลย กินแต่ขนมหรือของว่างต่างๆ ก็อาจจะบอกลูก เตือนลูกว่า ‘หากไม่กินอาหารหลักจะอดกินของว่างนะ’ หรือลูกไม่ยอมก็ให้เขาอดอาหารมื้อนั้นไปเลยค่ะ จะได้รู้จักกับความหิวด้วยว่าเป็นอย่างไรหากไม่ยอมกินอาหาร

2.บังคับใช้กติกา

บังคับใช้กติกานะคะ ไม่มีการบังคับลูก ในข้อนี้อยากจะให้ทำแค่ในเวลากินอาหารเท่านั้นค่ะ ถ้านอกเหนือจากนั้นถือว่ากติกานี่ใช้ไม่ได้แล้วน้า แต่เอ๊ะๆขอเตือนก่อนว่าคุณพ่อคุณแม่ก็อย่าลืมทำกติกาด้วยนะคะ

-หากลูกร้องโวยวายอยากกินขนมก่อนอาหารหลัก

เราควรพูดกับลูกด้วยน้ำเสียงที่อ่อนโยนทุกครั้งห้ามขู่หรือไม่พอใจลูกนะคะ ต้องใจเย็นๆอธิบายเหตุผลให้เขาฟังว่ามันเป็นกติกานะ เราตกลงกันแล้ว

ห้ามทำ !! หากอยากส่งเสริมพฤติกรรมการกินของลูก

-ใจอ่อน แอบไม่ทำกติกา

-ไม่ให้ลูกกินอาหารเอง ตักอาหารเอง เพราะกลัวจะสกปรก ไม่ปลอดภัยต่อตัวลูก

-บังคับให้กินอาหารที่ไม่ชอบ ไม่เป็นสิ่งที่ดีเลยนะคะข้อนี้ เราควรจะค่อยๆสอนเข้ามากกว่าค่ะไม่ใช่บังคับให้กินเลย ต้องสอนให้กินทีละนิด หากไม่ไหวก็พอค่ะ

สรุป พฤติกรรมการกินของลูกจะประสบความสำเร็จและได้ผล คนในบ้านจะต้องร่วมมือร่วมใจกันทำค่ะ ไม่ใช่มีหนึ่งคนใจอ่อน ค่อยโอ๋ แบบนี้ถึงจะทำตามที่บอกไปก็คงไม่ได้ผล อีกทั้งเราควรปล่อยให้เป็นอำนาจของลูกในการกินค่ะ ให้เขาตัดสินใจ แต่การตัดสินใจของเขานี้ กติกาที่เราตั้งก็ยังคงดำเนินอยู่ เพื่อให้เขาเรียนรู้ผลลัพธ์ต่างๆด้วยตัวเอง

อย่ารังแกลูกด้วยการปล่อยให้ลูกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล

เด็กๆที่ถูกตามใจ ไม่เคยโดนขัดใจ เมื่อเรียกร้องต้องการหรืออยากได้อะไรจะใช้วิธีตั้งเงื่อนไขกับคุณพ่อคุณแม่ และคุณพ่อคุณแม่หลายท่านยินยอมที่จะทาตามเงื่อนไขนั้นๆเสมอๆ บางครั้งเพราะสงสารลูก บางครั้งเพื่อให้เรื่องราวๆต่างๆสงบลง เช่น เมื่อคุณแม่ขอให้ลูกรอคอยอะไรบางอย่าง ลูกอาจจะสร้างเงื่อนไข “ต้องซื้อของเล่นให้หนูนะ หนูถึงจะยอมนั่งรอสงบๆ” “ต้องซื้อเดี๋ยวนี้ หนูรอไม่ด้ายยย” เมื่อไม่ได้ของเล่นลูกจะอาละวาดโวยวาย และคุณพ่อคุณแม่ต้องยอมซื้อให้ในที่สุด เมื่อเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นบ่อยๆ เด็กๆจะคิดว่าทุกสิ่งในโลกนี้จะต้องได้อย่างที่เขาอยากได้ เขาจะไม่รู้จักคาว่ารอ และจะโวยวายอาละวาดเสมอเมื่อไม่ได้ดั่งใจ พ่อแม่หลายคนคิดว่าเมื่อเติบโตขึ้นนิสัยเช่นนี้จะหายไปเองแต่นั่นเป็นความเข้าใจที่ผิด แม้ว่าเมื่อเด็กๆโตขึ้นจะระงับตัวเองได้มากขึ้นตามวัย แต่วิธีคิดที่ถูกสั่งสมมานานว่าต้องได้อย่างที่ต้องการนั้นจะติดตัวเขาไป ถ้าไม่อยากรังแกลูกด้วยวิธีนี้ คุณพ่อคุณแม่ต้องฝึกการสร้างวินัยเชิงบวกให้ลูกๆของเรา 

อย่ารังแกลูก ด้วยการปกป้องลูกจากความผิดหวังทั้งปวง

พ่อแม่หลายท่านไม่ยอมให้ลูกต้องพบกับความผิดหวังหรือเสียใจอะไรเลย เมื่อลูกอยากได้ของเล่นชิ้นใหม่ ก็ยอมตามใจซื้อให้ หรือแม่บางครั้งไม่ยอมซื้อให้ แต่เมื่อลูกมาบอกว่าคนนั้นก็มีคนนี้ก็มีลูกหน้าจ๋อยเศร้าเสียใจ คุณพ่อคุณแม่ก็ใจอ่อนต้องยอมซื้อให้เสมอไป เพราะกลัวลูกจะผิดหวังเสียใจหรือไม่เท่าเทียมคนอื่นๆ การไม่ยอมให้ลูกได้พบกับความผิดหวังหรือเสียใจบ้าง จะทาให้เด็กๆขาดภูมิคุ้มกันในชีวิต เพราะเขาไม่รู้ว่าการผิดหวังสมหวังนั้นเป็นเรื่องธรรมดา และเมื่อเขาเติบโตขึ้น ต้องเจอกับเรื่องที่ยากมากขึ้น เขาจะสามารถรับมือกับความผิดหวังนั้นได้อย่างไร หากไม่เคยซ้อมมือมาเลย ดังนั้น 

หากไม่อยากรังแกลูกต้องให้โอกาสลูกได้ฝึกฝนตนเองบ้าง ด้วยการยอมให้เขาผิดหวังในบ้างครั้ง ยอมให้เขาด้อยกว่าคนอื่นในบางคราว ฝึกให้เขาได้พยายามและเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาด้วยตัวเอง 

การรักลูกโดยไม่รังแกลูกนั้นเป็นความรักที่ยิ่งใหญ่ และคุณพ่อคุณแม่ต้องฝึกฝนด้วยทักษะในการเลี้ยงลูกเชิงบวก แม้ว่าอาจจะดูยุ่งยากไปบ้าง ต้องฝืนใจตัวเองบ้างแต่ถ้าเราทาได้ คุณพ่อคุณแม่ก็สบายใจได้ว่าลูกๆจะเติบโตอย่างเข้มแข็งและเอาตัวรอดได้อย่างแน่นอน 

Categories: Knowledge
motherandcare:
Related Post