Warning: Undefined array key "action" in /var/www/wp-content/themes/kicker-child/functions.php on line 2
10 super food เพิ่มน้ำนมแม่ | motherandcare
Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

Tag: 10 super food เพิ่มน้ำนมแม่

ทำเช็คลิสต์ของใช้เด็กอ่อนหรือยังคะ?

การซื้อของใช้สำหรับเด็กอ่อนควรซื้อเตรียมไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ช่วงตั้งครรภ์เดือนที่ 5-7 เป็นเวลาที่เหมาะเพราะเลิกแพ้ท้องแล้วช่วงนี้ท้องยังไม่โตมากเดินทางสะดวก ไม่เหนื่อยง่าย  มาดูกันค่ะว่ารายการของใช้ลูกมีอะไรบ้าง  ของใช้ทั่วไป แพมเพิร์ส ทิชชู่ ทิชชู่เปียก สำลีก้อนกลม กล่องเก็บสำลีชุบน้ำอุ่น …

Read more

5 เรื่องน่ารู้การเก็บน้ำนมแม่

การทำสต๊อกน้ำนมแม่มีประโยชน์กับคุณแม่สายออฟฟิศ และบางครั้งก็จำเป็นสำหรับคุณแม่เลี้ยงลูกเต็มตัวค่ะ เนื่องจากคุณแม่อาจจำเป็นต้องออกไปธุระข้างนอกหลายชั่วโมงหรือต้องเดินทางไปต่างจังหวัด ก็จะมั่นใจได้ว่าลูกได้กินนมแม่ทุกมื้อ มีเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการจัดเก็บสต๊อกน้ำนมมาฝากคุณแม่ 5 ข้อค่ะ 1.คุณแม่สามารถเริ่มเก็บน้ำนมได้ตั้งแต่วันแรก ๆ หลังคลอด ช่วงนี้ลูกนอนมากกว่าตื่นมาดูดนมการปั๊มจะช่วยกระตุ้นน้ำนม 2.สำหรับตู้เย็นแยกประตูช่องแข็ง แช่ถุงเก็บน้ำนมไว้ภายในช่องแช่แข็งจะรักษาความเย็นได้ดีกว่าเก็บไว้ตรงประตูตู้ค่ะ 3.วิธีละลายน้ำนมแช่แข็งมาใช้ คือย้ายมาแช่ช่องธรรมดาให้ละลาย แช่ในภาชนะใส่น้ำอุณหภูมิห้อง หรือเปิดก๊อกให้น้ำไหลผ่านแล้วแช่ไว้ในภาชนะ แล้วเช็ดถุงให้สะอาดก่อนเปิดใช้ 4.ห้ามอุ่นโดยไมโครเวฟหรืออุ่นบนเตาโดยตรงเพราะจะทำลายคุณค่าสารอาหารในน้ำนม 5.นมที่นำออกมาละลายแล้วห้ามนำกลับไปแช่ช่องแข็งใหม่ ใช้สำหรับมือถัดไปก็พอ ถ้าเหลือทิ้งไปอย่าเสียดายค่ะ ทราบเคล็ดลับดี ๆ อย่างนี้แล้วคุณแม่สบายใจได้เลยค่ะว่าลูกไม่ขาดนมแม่แน่นอน

Read more

จะเลือกเครื่องปั๊มนมยังไงดีนะ ?

แนะนำวิธีการเลือกซื้อเครื่องปั๊มนมสำหรับคุณแม่สายตุน จะลือกแบบไหนและต้องดูอะไรบ้างก่อนตัดสินใจมีคำแนะนำดี ๆ มาฝากค่ะ แบบใช้มือปั๊ม ข้อดี - ราคาไม่แพง คุณแม่ที่คิดแล้วว่าน่าจะไม่ได้ใช้บ่อยแบบปั๊มมือก็เป็นตัวเลือกที่ดี ข้อด้อย - ต้องใช้มือช่วยบีบ กว่าจะได้น้ำนมในปริมาณพอเพียง อาจทำให้คุณแม่เหนื่อยและท้อกับการปั๊มได้ง่าย ไม่เหมาะกับคุณแม่ลูกแฝดที่ต้องการน้ำนมมากเป็น 2 เท่า แบบไฟฟ้า ข้อดี – สะดวกสบายกว่า ไม่ต้องเหนื่อยปั๊มเอง มีให้เลือกหลายรุ่น ต้องดูว่าแบบไหนเหมาะกับการใช้งานขนาดใหญ่เหมาะกับใช้ที่บ้านไม่สะดวกต่อการพกพารุ่นสองหัวปั๊มสะดวกรวดเร็วกว่าหัวเดียว และกระตุ้นการหลั่งของฮอร์โมนโปรแลกตินได้มากกว่า แต่แพงกว่ารุ่นหัวเดียว ข้อด้อย - ราคาค่อนข้างสูง 12 ข้อแนะนำการเลือกเครื่องปั๊มนม ใช้งานง่าย ไม่ยุ่งยาก ทำความสะอาดง่าย ส่วนประกอบไม่มากจนเกินไป แต่ละส่วนถอดล้างและประกอบกลับได้ง่าย มีโหมดให้เลือกหลากหลาย เวิร์กกิ้งมัมควรเลือกชนิดพกพาสะดวกน้ำหนักเบา ควรมีอะไหล่เปลี่ยน ในกรณีชำรุดจะได้ไม่ต้องซื้อใหม่ทั้งชุด ดูว่าใช้ได้ทั้งไฟฟ้าและแบตเตอรี่หรือต้องใช้ไฟฟ้าเท่านั้น เสียงดังหรือไม่เวลาใช้งาน ควรมีแรงดูดอย่างน้อย 200 มม.ปรอท จังหวะในการดูดอย่างน้อย 40-60 รอบต่อนาที จึงจะใกล้เคียงการดูดของทารก ถ้าประเมินดูว่าใช้น้อยอาจซื้อรุ่นเล็กหรือแบบปั๊มมือ…

Read more

7 วิธียกกระชับอกแม่หลังคลอด

คุณแม่อาจเป็นกังวลว่าหน้าอกจะหย่อนคล้อยหลังคลอด เพราะน้ำหนักที่ลดลงก็จะรวมเอาขนาดหน้าอกให้ลดลงมาเท่ากับขนาดเดิมเท่ากับก่อนคลอดด้วย ส่วนการให้นมลูกไม่ได้ทำให้หน้าอกหย่อนคล้อยนะคะสำหรับการดูแลให้อกคุณแม่ยกกระชับเป๊ะเรามี 5 เคล็ดลับดี ๆ มาบอกต่อค่ะ 1.บริหารกล้ามเนื้อรอบเต้านม อยู่ว่าง ๆ ทำได้เลยค่ะ โดยประกบฝ่ามือทั้ง 2 ข้างเข้าหากันคล้ายกับท่าพนมมือ แต่เหยียดข้อศอกทั้ง 2 ข้างออกให้สุดเท่าที่จะทำได้ นับ 1 - 5 แล้วผ่อนคลาย ทำซ้ำ 5 ครั้ง 2.โยคะท่าธนู ท่างูเห่า และท่าหน้าวัว เป็นท่าที่ได้บริหารกล้ามเนื้อหน้าอกรวมทั้งผ่อนคลายความตึงเครียดได้ดี คุณแม่เลือกท่าที่สามารถทำได้ อย่าฝืนค่ะเพื่อป้องกันการบาดเจ็บ 3.การว่ายน้ำโดยเฉพาะท่าผีเสื้อและการกระโดดเชือก ช่วยให้กล้ามเนื้อหน้าอกแข็งแรง กระชับกล้ามเนื้อหน้าอกที่อยู่ด้านหลังของเต้านม 4.การหายใจเข้าออกอย่างถูกต้อง จะช่วยบริหารกล้ามเนื้ออกไม่ให้หย่อนยาน ขณะหายใจเข้าเต็มที่กล้ามเนื้อกะบังลมควรลดตัวลงไปในช่องท้อง ส่วนไหล่ควรยกขึ้น 5.งดอาหารรสเค็มจัด ช่วยลดการคั่งของน้ำในเต้านม ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของอาการคัดเต้านม 6.กินผักและผลไม้สดให้มาก เพื่อรับวิตามินอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะวิตามินบี 6 ที่ช่วยลดการคั่งของน้ำ และยังช่วยปรับฮอร์โมนเอสโตรเจนให้สมดุลอีกด้วย 7.ชุดชั้นในพอดีตัว ช่วยโอบอุ้มทรวงอกให้กระชับและป้องกันการหย่อนยานของเต้านมได้

Read more

Checklist 5 สัญญาณเตือนซึมเศร้าหลังคลอด

อาการซึมเศร้าหลังคลอดมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกายคุณแม่ ร่วมกับปัจจัยอื่นมากระตุ้น เช่น ความเครียด ความกังวลในการเลี้ยงลูก พักผ่อนน้อย และการเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เมื่อมีลูก คุณแม่มีสัญญาณเตือนเหล่านี้หรือเปล่าคะ 1.อารมณ์เปลี่ยนแปลงไป จากเคยร่าเริงสนุกสนาน เปลี่ยนเป็นขี้กังวล หดหู่ รู้สึกเศร้า หรือเครียดมากขึ้น หรือจากคนใจเย็นกลายเป็นหงุดหงิดขี้โมโหได้ง่ายขึ้น 2.ขี้น้อยใจ ร้องไห้แบบไม่มีเหตุผล หรือกับเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ 3.ความคิดเปลี่ยน เช่น คิดช้าลง หรือคิดไปในทางลบ 4.ขี้หลงขี้ลืมบ่อยขึ้น เนื่องจากขาดสมาธิความจำจึงไม่ดีตามไปด้วย 5.ความสัมพันธ์กับคนอื่นถดถอยลง ไม่อยากพูดคุยกับใคร บางครั้งแยกตัว ไม่สนใจทำงานการอะไรก็ตาม ระยะเวลาของอาการซึมเศร้าหลังคลอดอาจแค่สัปดาห์เดียวหรือนานเป็นเดือน หากไม่รุนแรงมากอาการจะค่อย ๆ หายไป คุณแม่พยายามหาสิ่งผ่อนคลายจิตใจทำ และพักผ่อนนอนหลับให้พอเพียง คนรอบข้างเข้าใจและคอยเป็นกำลังใจ ก็จะช่วยให้ผ่านพ้นไปด้วยดี หรือถ้ารู้สึกว่าเป็นมากอาจปรึกษาคุณหมอค่ะ

Read more

น้ำนมแม่เก็บได้นานแค่ไหน ?

คุณแม่ที่เพิ่งเริ่มให้นมลูกอาจสงสัยว่าน้ำนมแม่เก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดาหรือช่องแข็งได้นานแค่ไหน เพื่อความสะดวกเวลาใช้ ไม่จำเป็นต้องเก็บเข้าช่องแข็งเสมอไป มาดูกันเลยค่ะว่าแต่ละที่เก็บได้นานเท่าไหร่ 1.อุณหภูมิห้อง (อุณหภูมิต้องไม่เกิน 25 องศาเซลเซียส) เก็บได้นานประมาณ 6 ชั่วโมง 2.ในตู้เย็นช่องธรรมดา (อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียสขึ้นไป) เก็บได้นานประมาณ 5 วัน 3.ในช่องแข็งหรือฟรีซเซอร์ตู้เย็นประตูเดียว เก็บได้นานประมาณ 2 สัปดาห์ 4.ในกล่องเก็บความเย็นใส่ ice pack ไว้ในกล่อง กะปริมาณว่าเย็นอยู่นานพอไม่หายเย็นเร็วเกินไปก็จะเก็บได้ประมาณ 24 ชั่วโมง เหมาะกับการเดินทางใกล้ ๆ ค่ะ น่ารู้ ถ้าคุณแม่จะใช้น้ำนมภายใน 2-3 วัน การแช่เย็นช่องธรรมดาเหมาะกว่าการแช่แข็งนอกจากนะดวกแล้วยังรักษาสารป้องกันการติดเชื้อในน้ำนมเอาไว้ได้ การละลายนมแช่แข็งควรวางไว้ในช่องแช่เย็นธรรมดา จะสามารถเก็บได้ไม่เกิน 24 ชั่วโมง นมที่นำมาละลายแล้วห้ามนำกลับไปแช่แข็งอีก

Read more

ให้ลูกกินนมแม่ได้ถึงกี่ขวบ ?

นมแม่ดีที่สุด นี่คือคีย์เวิร์ดสำหรับคุณแม่ค่ะ แล้วที่ได้ยินมาว่าควรให้นมแม่จนลูกอายุเท่าไหร่ข้อมูลจากคำบอกเล่าแต่ละคนไม่ตรงกันอาจทำให้คุณแม่สับสน นมแม่ให้ได้นานเท่าไหร่ แล้วคุณค่าทางอาหารจะลดลงไปหรือเปล่าถ้าให้ไปจนโต มาดูข้อเท็จจริงเหล่านี้กันค่ะ 1.คุณแม่สามารถให้นมลูกได้นานเท่าไหร่ก็ได้ จนลูกโตเลิกกินนมไปเองหรือจนกว่านมแม่หมดไป 2.นมแม่มีสารอาหารครบถ้วนสำหรับลูกมีภูมิคุ้มกันร่างกายและดีต่อสมองลูก ลูกวัยไหนกินนมแม่ก็ยังได้รับสารอาหารที่มีคุณค่า สารอาหารไม่ได้หายไปเมื่อลูกโต 3.ควรให้ลูกได้กินนมแม่อย่างน้อยจนกระทั่งลูกอายุ 6 เดือน ย้ำ อย่างน้อยนะคะนานกว่านั้นยิ่งดีค่ะ 4.การมีน้ำนมแม่ให้ลูกกินได้นาน ๆ ควรกระตุ้นการสร้างน้ำนมด้วยการให้ลูกดูดสม่ำเสมอหรือปั๊มนมทุก 3 ชั่วโมง 5.ลูกอายุ 6 เดือนขึ้นไปเริ่มให้กินอาหารนอกจากนม และค่อย ๆ ปรับเพิ่มมื้อตามวัย 6 เดือนขึ้นไปให้อาหาร 1 มื้อเริ่มจากน้อยๆ ก่อน 9 เดือน 2 มื้อ 1 ปี 3 มื้อ เกิน 1 ปีให้กินอาหารเป็นหลัก

Read more