Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

Tag: เด็ก

7 วิธีฝึกให้ลูกเก็บของเล่นเอง

ของเล่นของลูกกระจัดกระจายทั่วบ้านราวกับระเบิดลงทุกวัน การเก็บของเล่นกลายเป็นอีกงานหนึ่งที่คุณแม่ต้องจัดการ การสอนให้ลูกเก็บของเล่นเองเป็นการสอนให้เขาเรียนรู้หลายด้านค่ะ ทั้งระเบียบวินัย การดูแลรักษาของ ความรับผิดชอบ การทำอะไรเองเป็นยังช่วยให้ลูกพึ่งพาตัวเองได้ตอนโตการสอนลูกไม่ยากค่อย ๆ ฝึกเขาค่ะ 1.ช่วยกันเก็บก่อน เด็กเล็กอาจเก็บคนเดียวไม่ไหว เพราะยากเกินความสามารถ คุณแม่ชวนลูกเก็บก่อนค่ะ ทำให้การเก็บของเล่นเป็นเรื่องสนุก เป็นเกมอย่างหนึ่งที่ต้องเล่นปิดท้ายเสมอ 2.จัดเก็บเป็นหมวดหมู่ ไม่ต้องแยกหลายหมวดหมู่เกินไปลูกจะงง การแยกเก็บเป็นหมวดหมู่ทำให้ไม่ต้องเก็บของเล่นคราวละมาก ๆ เพราะลูกมักจะเลือกชิ้นที่ตัวเองชอบ นอกจากนี้ยังฝึกการแยกแยะให้ลูก คุณแม่ใช้ลิ้นชัก ลังพลาสติก หรือถังพลาสติกก็ได้ค่ะ แยกสีแต่ละลังให้ชัดเจนตกแต่งหรือแปะสติ๊กเกอร์ อาจสมมติแต่ละถังเป็นพี่ฮิปโป พี่ปลาวาฬ พี่จระเข้ ฯลฯ หิวข้าวแล้วต้องป้อนของเล่นให้หม่ำก่อน 3.เก็บของเล่นเป็นเวลา ตอนเย็นก่อนลูกอาบน้ำหม่ำข้าวเย็น พยายามให้ลูกเก็บในเวลาเดิมทุกวัน เพื่อสร้างความคุ้นเคย และเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวัน ความเคยชินช่วยให้ลูกทำได้โดยอัตโนมัติ 4.หลอกล่อด้วยกิจกรรมสนุก ลูกกำลังสนุกกับการเล่น แต่คุณแม่มักจะให้เขาเก็บของเพื่อไปทำกิจกรรมน่าเบื่อ ไม่มีใครอยากทำหรอกค่ะ เพราะฉะนั้นกิจกรรมต่อจากการเก็บของเล่นควรมีความสนุกเพื่อกระตุ้นให้ลูกเก็บค่ะ 5.เล่านิทาน คุณแม่อาจจะหาซื้อหนังสือนิทานหรือแต่งนิทานเล่าให้ลูกฟัง มีตัวเอกเป็นตัวละครหรือสัตว์น่ารักที่ลูกชอบ เล่าถึงตัวละครตัวโปรดนิสัยดี มีระเบียบ เล่นของเล่นแล้วเก็บก็ได้ค่ะ 6. บ้านต้องเป็นระเบียบด้วย ลูกเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว มองไปทางไหนทุกอย่างเข้าที่เข้าทาง คุณแม่ใช้ของแล้วเก็บเข้าที่ ลูกก็จะเรียนรู้สิ่งนี้ไปเอง 7.ให้รางวัลเมื่อลูกทำได้ดี บางครั้งใช้รางวัลล่อใจได้บ้างค่ะ ถ้าเขาทำได้ดี อาจจะเป็นการชมเชยหรือให้ตามข้อเรียกร้องบางอย่างเป็นพิเศษ เวลาเจอคนอื่นคุณแม่พูดชมเขาให้คนอื่นฟังด้วยนะคะ ลูกจะภูมิใจและพยายามทำดีต่อไป อดทนใช้เวลาสักนิด ฝึกลูกอย่างสม่ำเสมอ เขาจะเรียนรู้การเก็บของเล่นให้เป็นระเบียบได้ในที่สุดค่ะ

Read more

5 คำตอบ พาลูกเที่ยวทำไมฉลาดขึ้น ?

การพาลูกเที่ยวอย่างไปทะเล ออกต่างจังหวัด หรือไปต่างประเทศ นอกจากจะสนุกสนานแล้วยังดีต่อสมองของเด็กมากทีเดียวค่ะศาสตราจารย์ Jaak Panksepp นักประสาทวิทยาชั้นนำของโลก มหาวิทยาลัยแห่งรัฐวอชิงตัน ผู้ค้นพบ Play System และ Seeking Sestem ในสมองแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่พาลูกออกไปท่องเที่ยว และควรให้เด็กได้เล่นและสำรวจธรรมชาติป่าเขา ทะเล หรือได้ทำกิจกรรมเกี่ยวกับการค้นหา จะช่วยสร้างความมีชีวิตชีวาให้กับเด็ก เป็นการพัฒนาสมองในหลาย ๆ ด้าน เพราะเหตุใดการท่องเที่ยวดีต่อสมองลูก 1.อยู่บ้านไม่ได้ลับสมอง เวลาคุยกันก็จะคุยกันแต่เรื่องเกี่ยวกับชีวิตประจำวันอันแสนจะจืดชืด คุณพ่อคุณแม่ใส่ใจแต่เรื่องการเรียน อาหารการกิน สุขภาพของลูก คอยระวังเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ คุณพ่อคุณแม่ไม่ค่อยมีเวลาเล่นกับลูกจริง ๆ จัง ๆ คุณพ่อหลายท่านไม่รู้ว่าจะเล่นกับลูกอย่างไร ลูกไม่ค่อยได้เล่นสนุกตามวัยอย่างพอเพียงกับที่เด็กต้องการ 2.ไปเที่ยวได้สนุกหลากหลายรูปแบบ ได้สัมผัสกับบรรยากาศแปลกใหม่  ที่ใหม่ ๆ อาหาร อากาศที่ต่างจากตอนอยู่บ้าน สัมผัสกับผู้คนแปลกใหม่ ได้สำรวจธรรมชาติ เดินป่า มองเห็นทิวทัศน์สวยงามที่แตกต่างออกไป  ไปทะเลก็จะได้เล่นน้ำ เล่นก่อปราสาททราย  เล่นบอลชายหาด ตีแบต ล่องเรือ หรือเกมกีฬาทางน้ำอื่นๆ ฯลฯ ซึ่งพ่อแม่ลูกได้ทำกิจกรรมร่วมกันอย่างสนุกสนาน 3.ผลดีต่อจิตใจ ลูกรู้สึกว่าเขาได้รับความสนใจอย่างเต็มที่…

Read more

ทำอย่างไรเมื่อลูกพูดโกหก ?

พ่อแม่ทุกคนมักจะบอกและสอนลูก ๆ เสมอว่าให้พูดความจริง แต่บ่อยครั้งพ่อแม่เองก็เผลอที่จะพูดไม่จริงกับลูก แต่พ่อแม่ก็จะอธิบายว่า ที่โกหกไปก็เพราะความจำเป็น แสดงว่าบางครั้งคนเราก็โกหกโดยที่ไม่ได้ตั้งใจและจำเป็น เพราะฉะนั้นถ้าวันหนึ่งพ่อแม่พบว่าลูกโกหก ก็คงต้องทำความเข้าใจ มีสติในการจัดการ พ่อแม่หลายคนโกรธมากเมื่อรู้ว่าลูกโกหก ความโกรธไม่พอใจเป็นเรื่องธรรมดา แต่ก็ไม่ควรให้ความโกรธนั้นมากเกินไป พยายามทำความเข้าใจและใช้เหตุผลในการจัดการกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ถ้าเป็นเด็กเล็ก ๆ เราสามารถพบเรื่องการพูดไม่จริงได้โดยเป็นปกติของพัฒนาการ เพราะยังมีพัฒนาการทางภาษาไม่ดีไม่สมบูรณ์ หมอเคยเจอว่า เด็กบางคนชอบพูดว่า "ไม่" หรือ "เปล่า" เวลาที่พ่อแม่บอกว่า "หนูทำ...นี้ใช่มั้ย" ที่เด็กพูดว่า "ไม่" หรือว่า "เปล่า" อาจไม่ได้หมายความว่าจะโกหก แต่อาจต้องการบอกเป็นนัยๆกับพ่อแม่ว่า "อย่าดุหนูนะ" หรือ "หนูจะไม่ทำอีกแล้ว" นอกจากนั้นเด็กเล็กบางทีแยกแยะความจริงกับจินตนาการไม่ได้ เช่น เด็กอาจจะมีจินตนาการว่าการที่ใบกล้วยพัดไหวตอนกลางคืนเป็น ผี หรือ สัตว์ร้าย เวลาที่เด็กเล็กพูดสิ่งที่ไม่เป็นความจริง ไม่ควรดุแต่ค่อย ๆ อธิบายความเป็นจริง การรับรู้ของเด็กเล็กบางทีไม่ละเอียดหรือตรงกับความจริงเหมือนเด็กโตหรือผู้ใหญ่ เด็กเล็กจะคิดไม่ซับซ้อน มีความคิดจินตนาการ มีแฟนตาซีสูง คิดว่าสิ่งของมีชีวิตจิตใจ เช่น พ่อเผลอไปเดินเหยียบตุ๊กตาของลูก ลูกก็ร้องไห้ใหญ่บอกว่า พ่อทำตุ๊กตาเจ็บ เป็นต้น ดังนั้นผู้ใหญ่ก็ควรทำความเข้าใจ ไม่ต้องกังวลเกินไป ถ้าเด็กเล็กๆ เหมือนจะพูดไม่จริงบ้าง แต่ถ้าเด็กที่โตหน่อย บางทีการโกหกมักจะเกิดจากสาเหตุอื่นๆ…

Read more