Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

Tag: อาหาร

แกงจืดกะเพรารับลมหนาวต้านหวัดเพื่อคุณลูก

ใบกะเพรานอกจากทำเป็นเมนูฮิตประจำชาติผัดกะเพราแล้ว ปรุงเป็นแกงจืดก็รสชาติอร่อยรับประทานง่าย ปลายฝนต้นหนาวอย่างนี้เด็ก ๆ มักจะเป็นหวัดง่ายคุณแม่ลองทำแกงจืดผัดกะเพราให้ลูกรับประทานกันค่ะ นอกจากคุณสมบัติเด็ดในการต้านหวัดแล้ว กะเพรายังช่วยบรรเทาอาการไอ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ คลายเครียด แก้อักเสบ เนื่องจากใบกะเพรานั้นอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระค่ะ เครื่องปรุง ใบกะเพรา แคร์รอต หมูสับ กระเทียม พริกไทย รากผักชี น้ำปลา ซีอิ๊วขาว น้ำตาล วิธีทำ ตั้งน้ำซุปกระดูกหมูในหม้อให้เดือด ใส่กระเทียมพริกไทยรากผักชีโขลกลงไปพอหอม ๆ ตามด้วยหมูสับปั้นก้อน พอหมูสุกดีแล้วใส่แคร์รอตเพื่อให้ดูน่ารับประทาน เหยาะน้ำปลาปรุงรสอย่าให้รสเค็มจัด ใส่น้ำตาลเล็กน้อยเพื่อปรุงรสให้กลมกล่อมโดยไม่ต้องใช้ผงชูรส ใส่ใบกะเพราพอสุกปิดไฟยกลงจากเตา

Read more

แน่ใจว่าลูกไม่ได้กินเค็มเกิน ?

รับทราบมาบ่อย ๆ ว่าการกินเค็มหรือกินโซเดียมมากส่งผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพในระยะยาว ทั้งโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต กระดูกพรุน อัมพฤกษ์อัมพาต ฯลฯ  คุณพ่อคุณแม่อาจมั่นใจว่าลูกไม่ได้กินเค็มเกินไป ดูตัวเลขเหล่านี้แล้วอาจเปลี่ยนความคิดใหม่ มาดูปริมาณโซเดียมในอาหารจานเดียวกันก่อน สุกี้น้ำ 1,560 มิลลิกรัม บะหมี่น้ำหมูแดง 1,480 มิลลิกรัม เส้นใหญ่เย็นตาโฟ 1,417 มิลลิกรัม ผัดซีอิ๊ว 1,352 มิลลิกรัม บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 977 มิลลิกรัม กระทรวงสาธารณสุขแนะนำว่าผู้ใหญ่ไม่ควรกินเกลือเกินวันละ 1 ช้อนชา (เกลือ 1 ช้อนชา =โซเดียม 2,000 มิลลิกรัม) แล้วเด็กล่ะ ? 6-11 เดือน 175-550 มิลลิกรัม/วัน (ประมาณ ¼ ช้อนชา) 1-3…

Read more

3 วิธีล้างผักลดสารเคมี

เตรียมอาหารให้ลูกเองก็ต้องสะอาดปลอดภัย เรามีวิธีล้างผักและผลไม้เพื่อลดสารเคมีมาฝากแม่ ๆ ค่ะ วิธีที่ 1 แช่ผักไว้ในน้ำนาน 15 นาที จากนั้นยกผักขึ้นจากกะละมังแล้วนำไปรองใต้ก๊อก เปิดน้ำก๊อกให้ไหลผ่าน คลี่ใบผักให้โดนน้ำทั่วถึง ใช้มือถูผักผลไม้ และใช้เวลาล้างนานประมาณ 2 นาที วิธีที่ 2 แช่ในน้ำผสมน้ำส้มสายชู 5% ในอัตราส่วน น้ำส้มสายชู 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 4 ลิตร แช่ทิ้งไว้นานประมาณ 15 นาที จากนั้นล้างออกด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง วิธีที่ 3 ใช้เบกกิ้งโซดา ครึ่งช้อนโต๊ะผสมกับน้ำ 10 ลิตร แช่ผักทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที นาทีจากนั้นล้างออกด้วยน้ำสะอาด การล้างผักทั้ง 3 วิธีนี้สามารถช่วยคุณแม่ลดสารเคมีตกค้างและยังช่วยล้างดิน และล้างเชื้อโรคที่ปนเปื้อนอยู่ออกไปจากผักได้ค่ะ ข้อมูลอ้างอิง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

Read more

5 อาหารเพิ่มน้ำนมแม่

มาดูว่าอาหารที่ช่วยสร้างน้ำนมแม่มีอะไรบ้างและเมีประโยชน์อย่างไรบ้างนอกจากช่วยเพิ่มน้ำนมแม่แล้ว 1.หัวปลี 1.หัวปลี ปรุงเป็นอาหารได้หลายชนิดรวมทั้งกินสด ช่วยบำรุงน้ำนม บำรุงธาตุ บำรุงเลือด ช่วยให้ผิวพรรณมีน้ำมีนวล ดูแลฟันให้แข็งแรงและฟันขาวสะอาด ช่วยให้หน้าอกเต่งตึง 2.น้ำเต้า นิยมใส่ในแกงเลียงความรู้จากคุณย่าคุณยายในการเพิ่มน้ำนมแม่ ลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยย่อย ลดกรดในกระเพาะอาหาร 3.มะละกอ สามารถรับประทานเพิ่มนมแม่ได้ทั้งดิบและสุก เน้นสุกจะย่อยง่ายกว่าค่ะ ช่วยย่อย ป้องกันท้องผูก ป้องกันหลอดเลือดอุดตัน บำรุงสมองเสริมสร้างความจำ 4.กระเทียม เป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์มากรวมทั้งเพิ่มนมแม่ ลดไขมันในเลือด แก้ปัญหาแน่นจุกเสียด ป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ บรรเทาอาการหวัด 5.อินทผลัม เป็นผลไม้จากทะเลทรายที่มีประโยชน์หลายอย่างนอกจากเพิ่มน้ำนมแม่ บำรุงกำลัง ดูแลระบบประสาท บำรุงกระดูกและฟัน…

Read more

ลูกวัย 3-5 ขวบได้เส้นใยอาหารเท่าไหร่ถึงจะพอ ?

เส้นใยอาหารมีมากในผักและผลไม้ ทำอย่างไรจึงจะให้ลูกได้รับอย่างเพียงพอ มาฟังข้อแนะนำค่ะ ใยอาหาร คือ อะไร เป็นคาร์โบไฮเดรตโมเลกุลใหญ่ มีทั้งชนิดละลายน้ำและไม่ละลายน้ำ พบมากในผัก ผลไม้ และธัญพืช ใยอาหารจะไม่ถูกดูดซึมในระบบทางเดินอาหาร แต่จะเดินทางไปจนถึงลำไส้ ทำหน้าที่กวาดสิ่งที่ร่างกายไม่ต้องการขับถ่ายออกมา เพื่อไม่ให้มีสิ่งตกค้างในลำไส้ เส้นใยอาหารมีประโยชน์สูง ร่างกายคนเราต้องการใยอาหาร ที่มีในผัก ผลไม้ ธัญพืช ถ้าได้รับพอเพียงสิ่งที่ได้แถมมาก็คือวิตามินเกลือแร่ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย การกินอาหารที่มีเส้นใยในปริมาณที่เพียงพอ จะช่วยให้การทำงานของลำไส้ดีขึ้น ช่วยกระตุ้นระบบทางเดินอาหาร กระตุ้นการขับถ่าย ช่วยกำจัดของเสียหรือสารพิษออกจากร่างกาย เส้นใยอาหารหรือไฟเบอร์นี้ยังช่วยป้องกันปัญหาท้องผูก โดยเฉพาะในเด็กที่กินผักผลไม้และน้ำน้อย กินเส้นใยเท่าไหร่ดี โดยทั่วไปใน 1 วัน เด็กควรได้รับอาหารหลัก 3 มื้อ โดย 1 มื้อควรประกอบด้วย ข้าวกล้อง หรือข้าวสวยนิ่ม ๆ 1 - 1.5 ทัพพี เนื้อสัตว์ต่างๆ สลับกับไข่หรืออาหารทะเล 1 ช้อนโต๊ะใยอาหารจากผักใบเขียว…

Read more

สังเกต 10 อาการลูกแพ้กลูเตน

กลูเตนคือโปรตีนชนิดหนึ่งที่พบในข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ และข้าวไรย์ ค่ะ ซึ่งผู้ที่แพ้มักจะรับประทานกลูเตนจากขนมปัง และอาหารอื่น ๆ เช่น บะหมี่ พาสต้า อาการต้องสงสัย  ท้องผูก ท้องอืด หรือท้องเสีย หลังกินอาหารที่มีกลูเตน มีปัญหาผิวหนัง สมองตื้อ เหนื่อย อ่อนเพลีย เป็นโรคแพ้ภูมิแพ้ตัวเอง เช่น ต่อมไทรอยด์เรื้อรังเรื้อรัง โรคไขข้ออักเสบ โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง ฯลฯ เวียนศรีษะ หรือ เสียการทรงตัว ปวดศีรษะ โรคไมเกรน ปวดกล้ามเนื้อ อักเสบ บวม และปวดบริเวณข้อต่อ เช่น ข้อนิ้ว หัวเข่า หรือสะโพก อารมณ์แปรปรวน วิตกกังวล ซึมเศร้า สมาธิสั้น ขาดสารอาหาร โลหิตจาง น้ำหนักลดทั้งที่กินได้ วิธีป้องกัน หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำจากแป้งที่มีกลูเตน แม้กินเพียงนิดก็ทำให้แพ้ได้ บางรายเพียงแค่สัมผัสอาหาร หรือสิ่งที่มีกลูเตนก็ก่อให้เกิดอาการได้ แจ้งทางโรงเรียน…

Read more

ลูกวัย 4-5 ขวบให้กินเท่าไหร่ดี ?

วัย 4-5 ขวบวัยกำลังซนกำลังโต ช่วงนี้เด็กแต่ละคนอาจจะโตไม่เท่ากัน คุณแม่อาจไม่แน่ใจว่าควรให้ลูกกินอาหารในปริมาณเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ในหลักการทางการแพทย์ บอกไว้ว่าลูกน้อยในวัย 4 - 5 ปี ต้องการพลังงานและสารอาหารใน 1 วัน ประมาณ 1,450 กิโลแคลอรี่  แบ่งสัดส่วนดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 50-60%, โปรตีน 10-15% ไขมัน 25-30% ปริมาณอาหารที่ลูกวัยนี้ควรได้รับในแต่ละวัน คาร์โบไฮเดรตหรือแป้ง : 2 ½ – 3 ถ้วยตวง (ประมาณ 5 - 6 ทัพพีต่อวัน) เช่น ข้าวสวย ขนมปัง ก๋วยเตี๋ยว วุ้นเส้น มะกะโรนี โปรตีน : 3 ½ – 4 ช้อนโต๊ะ…

Read more