Warning: Undefined array key "action" in /var/www/wp-content/themes/kicker-child/functions.php on line 2
Meet Doctor | motherandcare - Part 2
Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

Meet Doctor

ช่วยให้ลูกมีความคิดเชิงบวก

พ่อแม่ทุกคนย่อมปรารถนาให้ลูกมีความสุขและประสบความสำเร็จด้วยกันทั้งสิ้น ปัจจัยสำคัญอันหนึ่งในหลาย ๆ ปัจจัยก็คือการส่งเสริมให้ลูกมีความคิดเชิงบวก ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันให้เกิดอีกหลายคุณลักษณะในตัวเด็ก ทั้งความมั่นใจในตัวเอง ความรู้สึกไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค สุขภาพจิตที่ดี รวมทั้งมนุษยสัมพันธ์และความมีเสน่ห์ในตนเอง แล้วพ่อแม่จะช่วยลูกได้อย่างไร ใช้ภาษาเชิงบวก บ่อยครั้งที่พ่อแม่ชินกับการใช้ คำสั่งห้าม หรือการพูดตำหนิ ต่อว่าลูก นั่นถือเป็นการตอกย้ำ กับความคิดหรือพฤติกรรมเชิงลบ เช่น “ทำไมถึงสะเพร่าอย่างนี้” “อย่าเกเร และดื้อกับคุณตาคุณยายนะลูก” “อย่ากระโดดเป็นลิงเป็นค่างอย่างนี้” “ทำไมถึงขี้เกียจกันจริง” ตัวอย่างเหล่านี้มักเกิดขึ้นจากความผิดหวังหรือไม่พอใจของพ่อแม่ แต่การพูดเชิงลบเช่นนั้น นอกจากโอกาสที่ลูกจะเชื่อฟังหรือ ทำตามน้อยแล้ว ยังอาจส่งผลในเชิงลบต่อตัวลูกคือลูกเชื่อว่าตนเองเป็นเช่นนั้นจริง ๆ เพราะพ่อแม่ ที่เขารัก บอกเขาหรือตอกย้ำเสมอว่าเขามีลักษณะเช่นนั้น นอกจากนั้นแล้วในเด็กบางคนที่พ่อแม่ไม่ใคร่ใส่ใจในเชิงบวกนัก ลูกอาจทำพฤติกรรมเชิงลบเพื่อเรียกร้องความสนใจ หรือในเด็กบางราย อาจค่อย ๆ พัฒนาเป็นลักษณะการต่อต้านและทำในสิ่งที่พ่อแม่ไม่ประสงค์ในที่สุด พ่อแม่คงต้องหันมาพิจารณาตนเองในแต่ละสถานการณ์ก่อนว่าเราต้องการอะไรจากลูก แล้วพูดในสิ่งที่อยากเห็นหรือต้องการจากลูกแทน เช่น จากตัวอย่างข้างต้นแทนที่จะพูดว่า “ทำไมถึงสะเพร่าอย่างนี้” พ่อแม่อาจพูดว่า “ตรวจทานหลังทำเสร็จด้วยนะลูก” และแทนที่จะพูดว่า “อย่าเกเร และดื้อกับคุณตาคุณยายนะลูก” พ่อแม่อาจพูดว่า “เชื่อฟังคุณตาคุณยายนะลูก” เป็นต้น อย่างไรก็ตามในบางโอกาสพ่อแม่อาจใช้การพูดโดยใช้ ‘I-message’ เมื่อพ่อแม่เกิดความรู้สึกเชิงลบ หรือเมื่อพิจารณาแล้วว่าลูกไม่เห็นว่าเป็นปัญหาอะไรของลูกเองแต่สิ่งที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่ออารมณ์ของพ่อแม่และเป็นปัญหาของพ่อแม่เองมากกว่า เช่น “แม่รู้สึกหงุดหงิดที่เห็นของเล่นทิ้งเกลื่อนบนพื้นเพราะแม่อาจสะดุดล้มลงได้” “แม่รู้สึกกังวลที่สี่ทุ่มแล้วลูกยังไม่นอน…

Read more

3 ที่ควรปลอดเทคโนโลยี

ปัจจุบันเด็ก ๆ เข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายมาก ทำให้พ่อแม่ควบคุมระยะเวลาและความถี่ในการใช้ได้ยาก แล้วเราจะทำอย่างไรให้สามารถจำกัดเวลาใช้ของลูกได้ องค์กรไม่แสวงหากำไรที่ทำงานด้านสื่ออย่าง common sense media เสนอแนะว่า สถานที่ 3 แห่งนี้ควรปลอดเทคโนโลยีค่ะ 1.โต๊ะอาหาร ก่อนจะรับประทานอาหาร ทุกคนทั้งพ่อแม่และเด็ก ๆ ควรหยุดใช้โทรศัพท์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ปิดหรือเก็บให้เรียบร้อย บนโต๊ะอาหารเราจะพูดคุยกัน ใช้เวลาร่วมกัน แทนการหมกมุ่นอยู่กับหน้าจอ 2.ห้องนอน งานวิจัยหลายชิ้นพบว่า การนอนที่ดีต่อสุขภาพควรจะอยู่ในสภาวะที่ปลอดแสง สี เสียง การให้เด็ก ๆ นอนหลับสนิทจะส่งผลให้สมองปลอดโปร่ง พร้อมสำหรับการเรียนรู้ในวันรุ่งขึ้น ฉะนั้นก่อนนอนก็ควรงดดูแท็บเล็ตหรือโทรศัพท์มือถือ หันมาอ่านนิทานก่อนนอนกับลูกดีกว่าค่ะ 3.รถยนต์ การใช้โทรศัพท์ในรถสำหรับพ่อแม่ที่เป็นคนขับอาจทำให้เกิดอันตรายได้ ส่สวนลูกก็ควรได้ใช้เวลาในรถไปกับการพูดคุยกับพ่อแม่ มากกว่าการเล่นเกมหรือดูการ์ตูน ข้อสำคัญประการหนึ่งก็คือ การเป็นตัวอย่างที่ดีจะช่วยให้ลูกปฏิบัติตามได้ง่ายกว่าการอบรมสั่งสอนเพียงอย่างเดียวค่ะ

Read more