Warning: Undefined array key "action" in /var/www/wp-content/themes/kicker-child/functions.php on line 2
Knowledge | motherandcare - Part 26
Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

Knowledge

พร้อมมั้ย ! มีลูกคนที่ 2

การมีลูกคนเดียวเมื่อโตขึ้น นอกจากห่วงว่าเขาจะโดดเดี่ยวไม่มีพี่มีน้องแล้ว แน่นอนว่าลูกจะต้องรับภาระหนักดูแลทั้งพ่อและแม่ นี่คือสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่หลายครอบครัวเป็นห่วงลูกโทน จึงอยากมีลูกอีกซัก 1 คน แต่การมีลูกมากกว่า 1 คนในยุคนี้มีเรื่องให้คิดเยอะ จำเป็นคิดให้รอบคอบซะก่อน มองในแง่ของการเรียนรู้ มีพี่น้องอยู่ด้วยกัน ลูกจะได้ฝึกทักษะทางสังคม การแบ่งปัน การเสียสละ และด้านอื่น ๆ แต่ก็ยังต้องดูความพร้อมของคุณพ่อคุณแม่ด้วยค่ะ ควรมีความพร้อมด้านไหนบ้าง ร่างกาย แนะนำว่าควรปรึกษาคุณหมอค่ะ เพราะอายุแม่มีผลต่อการตั้งครรภ์ เช่น หากอายุเลย 35 ปีไปแล้ว การตั้งครรภ์อาจมีความเสี่ยงพบเจอภาวะต่าง ๆ ได้ เช่น ภาวะดาวน์ซินโดรม ความผิดปกติอื่น ๆ หรือปัญหาเรื่องสุขภาพ ที่อาจไม่เอื้อให้ดูแลทั้งลูกคนแรกและลูกคนใหม่ที่กำลังจะเกิดมา เวลา คุณพ่อคุณแม่อาจชิล ๆ กับการดูแลเด็ก 1 คน แต่เมื่อต้องดูแลถึง 2 คน ที่ช่วงวัยต่างกัน เช่น คนโตอยู่วัยเรียนรู้ ช่างซัก ช่างถาม ย่อมต้องการให้คุณเป็นผู้ช่วยในการเรียนรู้ของเขา ขณะเดียวกันก็ต้องดูแลคนเล็กที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ งานนี้ต้องบริหารจัดการเวลาหรือหาผู้ช่วย เพื่อไม่ให้คนโตรู้สึกว่าน้องมาแย่งความรักแย่งเวลาของเขาไป…

Read more

มีลูกคนที่ 2 เมื่อไหร่ดีนะ ?

เมื่อคิดว่า 'พร้อม' กับการมีลูกคนที่ 2 แต่ไม่รู้ว่า จะทิ้งระยะห่างอย่างไรดี คุณแม่ลองดูข้อแตกต่างเหล่านี้ประกอบการตัดสินใจค่ะ หัวปีท้ายปี เรียกว่าปั๊มต่อเลยดีกว่า คุณแม่จะได้เลี้ยงลูกพร้อม ๆ กัน เหนื่อยแบบม้วนเดียวจบ ทั้งคนโตและอีกคนที่อยู่ในท้อง ถ้าเลือกแบบนี้ควรมีผู้ช่วยหรือไม่ก็รีบเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับภารกิจ เพื่อที่คุณแม่จะได้ไม่รู้สึกเครียดหรือเหนื่อยเกินไปกับการเลี้ยงลูกแบบหัวปีท้ายปี ห่างกัน 2 - 3 ปี น่าจะเป็นช่วงเวลาที่กำลังพอเหมาะ เนื่องจากช่วงวัยประมาณ 2 - 3 ปี พัฒนาการและทักษะต่าง ๆ ของลูกดีขึ้น เช่น การช่วยเหลือตัวเอง คุณแม่ก็จะไม่ต้องเหนื่อยมาก เท่ากับผ่อนแรงไปได้ระดับหนึ่งในการดูลูก ทว่าก็ขึ้นอยู่กับการเตรียมพร้อมรับมือที่จะเลี้ยงลูก 2 คนด้วยนะคะ ห่างกัน 3 - 4 ปี ขึ้นไป ลูกคนโตพอรู้เรื่องแล้ว ช่วยเหลือตัวเองได้ดี อยู่กับคนอื่นได้ หรือคอยช่วยเหลือดูแลน้องได้ด้วย แต่คุณแม่ต้องไม่ลืมให้ความสำคัญกับลูกคนโตเหมือนเดิมอย่าละเลยการเอาใจใส่ สำหรับลูกที่วัยห่างกันราว 6 - 7 ปี อาจมีปัญหาอยู่บ้าง…

Read more

สัญญาณเตือนริดสีดวงแม่ท้อง

เมื่อเป็นริดสีดวงคุณแม่ส่วนใหญ่อาจไม่กล้าบอกใครหรือแม้กระทั่งพบคุณหมอ จนทำให้ระบบขับถ่ายไม่ปกติเป็นริดสีดวง ฉะนั้น อย่านิ่งนอนใจกับปัญหานี้ สังเกตอาการด้วยค่ะ เวลาเบ่งถ่ายมีมูกหรือเลือดออกมาด้วย มีอาการคันหรือเจ็บมากบริเวณทวารหนัก มีก้อนเนื้อยื่นออกมา ระหว่างถ่ายหรือหลังจากการขับถ่าย ฉะนั้น เมื่อคุณแม่ควรตรวจสุขภาพ ดูว่าเป็นริดสีดวงหรือไม่ เมื่อไปฝากครรภ์ เพราะหากพบในระยะเริ่มต้น จะช่วยให้รักษาได้ทัน หากมีอายุครรภ์มากขึ้น การรักษาอาจเป็นไปด้วยความลำบาก เพราะต้องระวังหลายเรื่อง เช่น การกินยา หรือการผ่าตัดรักษาค่ะ

Read more

บรรเทาอาการริดสีดวง

คุณแม่ที่เป็นริดสีดวงไม่ว่าจะช่วงตั้งครรภ์หรือหลังคลอดก็ตาม มักจะเกิดความรำคาญใจจากอาการปวดหรือบวมเรามีวิธีบรรเทาอาการมาฝากค่ะ แช่น้ำอุ่น โดยนั่งแช่ในอ่างน้ำอุ่นประมาณ 10-15 นาที วันละ 2-3 ครั้ง เพื่อลดอาการเจ็บปวด ประคบเย็น โดยนำผ้าหนา ๆ ห่อน้ำแข็งหรือแผ่นเจลสำเร็จรูปแช่ให้เย็น นำมาประคบก็ช่วยลดความเจ็บปวดและอาการบวม ดูแลการขับถ่าย คุณแม่ควรขับถ่ายให้เป็นปกติอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง และเข้าห้องน้ำทันทีที่รู้สึกปวดท้อง ไม่ควรกลั้นไว้นานเพราะจะทำให้ท้องผูกถ่ายลำบาก พยายามหลีกเลี่ยงการเบ่งถ่ายและการนั่งในห้องน้ำเป็นเวลานาน หลีกเลี่ยงการนั่งหรือยืนนาน ๆ การนั่งหรือยืนเป็นเวลานานและการยกของหนัก อาจทำให้ริดสีดวงแตกหรือเลือดออกได้ง่าย นอนตะแคงซ้ายทุก 2-3 ชั่วโมง การนอนตะแคงซ้ายช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี คุณแม่อาจยกขาพาดกับเก้าอี้ประมาณ 15 นาที ก็สามารถช่วยลดแรงดันในช่องท้องบรรเทาอาการปวดบวมได้ค่ะ การดื่มน้ำให้พอเพียง และกินผักผลไม้และอาหารที่มีเส้นใยก็จะเป็นการช่วยป้องกันปัญหาริดสีดวงได้ค่ะ

Read more

ป้องกันริดสีดวงยามตั้งครรภ์

แม่ท้องมักมีปัญหาริดสีดวงเนื่องจากเส้นเลือดดำรอบทวารหนักขยายตัวมากว่าปกติ และยิ่งช่วงที่มดลูกขยายใหญ่ตามอายุครรภ์ที่เพิ่มขึ้น เป็นการเพิ่มความดันในเส้นเลือดดำทำให้เกิดการโป่งพองทำให้เกิดริดสีดวง ปัญหานี้คุณแม่ป้องกันได้ค่ะ เพิ่มกากใยอาหาร กินอาหารที่มีเส้นใยสูง เช่น ธัญพืช ผัก ผลไม้ต่าง ๆ เช่น ข้าวกล้อง ถั่ว น้ำลูกพรุน หรือ ลูกพรุน สำหรับการกินอาหารประเภทข้าวกล้องหรือถั่ว วิธีที่ช่วยให้ขับถ่ายได้ง่ายขึ้น ควรเริ่มครั้งละน้อย หากเริ่มกินทีเดียวมาก ๆ อาจทำให้คุณแม่ท้องอืดได้ง่าย ดื่มน้ำ น้ำช่วยให้กากอาหารอ่อนตัว ช่วยให้อาหารเคลื่อนผ่านลำไส้ได้สะดวกขึ้น คุณแม่ที่มีอาการท้องผูกมาก ๆ ลองดื่มน้ำลูกพรุน เพื่อช่วยให้ขับถ่ายสะดวกขึ้น พยายามดื่มน้ำให้ได้อย่างน้อย วันละ 8-10 แก้วค่ะ ออกกำลังกาย เน้นว่าควรออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอจึงจะได้ผลค่ะ เพราะนอกจากช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดี จากกระตุ้นการทำงานของลำไส้ให้เคลื่อนไหวแล้ว ยังช่วยให้สุขภาพแข็งแรง การดูแลตัวเองก็จะช่วยป้องกันไม่ให้ริดสีดวงมาเยือนได้ค่ะ

Read more

8 อันตรายที่แม่ท้องต้องระวัง

ระหว่างท้องมีหลายสิ่งที่คุณแม่ควรระวังเพราะส่งผลกระทบต่อลูกในท้องโดยตรงค่ะ 1.การกินยาบางประเภท รวมทั้งยาแก้หวัดมีผลต่อลูกในท้อง เช่น กลุ่มยาต้านภูมิแพ้หรือแอนติฮิสตามีน ยาลดไข้ที่เป็นยาลดการอักเสบ เช่น แอสไพริน การใช้ยาพ่นจมูก ฯลฯ ควรปรึกษาคุณหมอก่อนกินยาเสมอ 2.เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ โกโก้ ชอกโกแลต ควรเลี่ยงก่อนค่ะ 3.เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ แน่นอนว่าควรงดเว้น 4.การอยู่ในบริเวณที่มีมลพิษ ฝุ่น ควัน รวมทั้งควันบุหรี่ 5.การสัมผัสสารพิษ เช่น สารเคมี สารตะกั่ว รังสี บริเวณเสาไฟฟ้าแรงสูง อยู่ห่างจากเครื่องใช้สำนักงาน เช่น พรินท์เตอร์ หรือ เครื่องถ่ายเอกสาร 6.การใช้โทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน ใช้แล้วควรวางห่างตัว ถึงแม้จะยังไม่มีงานวิจัยออกมาฟันธงมากนัก แต่สำนักข่าวรอยเตอร์สก็มีรายงานเมื่อปี 2560 ว่าแม่ที่ใช้โทรศัพท์มือถือมาก ๆ ลูกจะมีปัญหาพฤติกรรมโดยเฉพาะไฮเปอร์แอคทีฟ เมื่อเทียบกับแม่ที่ไม่ใช้โทรศัพท์มือถือ 7.กินเนื้อสัตว์ดิบหรือกึ่งสุกกึ่งดิบ เพราะมีโอกาสที่พยาธิจะเข้าสู่ร่างกาย ควรกินอาหารปรุงสุกใหม่ 8.อาหารวางทิ้งค้างนอกตู้เย็นนานหลายชั่วโมง ควรเลี่ยงเพื่อป้องกันเชื้อโรคและปัญหาอาหารเป็นพิษและท้องเสีย สิ่งไหนที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพคุณแม่ควรหลีกเลี่ยงเพื่อความปลอดภัยของลูกน้อยค่ะ

Read more

อาหารแม่ท้องต้องระวังมีอะไรบ้าง ?

ช่วงตั้งครรภ์คุณแม่ดูแลสุขภาพตัวเองแล้วอย่าลืมดูแลเรื่องอาหารการกินด้วยนะคะ มาดูกันว่าคุณแม่ควรเลี่ยง รับประทานน้อย ๆ หรือคุณแม่บางคนพิจารณาแล้วว่าขอเซฟสุด ๆ ก็อาจงดเว้นไว้ก่อนก็ได้ค่ะ อาหารเหล่านี้มีอะไรบ้าง 1.เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ : ทำให้ทารกได้รับออกซิเจนและสารอาหารไม่เพียงพอ มีผลต่อพัฒนาการทางสมองและร่างกาย งดเว้นดีที่สุด 2.ชา กาแฟ น้ำอัดลม : เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการย่อยและคาเฟอีน 3.อาหารรสจัด : ทั้งเปรี้ยว หวาน มันเค็ม เผ็ด อาจทำให้ท้องอืดท้องเฟ้อ หรือกรดไหลย้อน 4.อาหารสำเร็จรูป : เช่น ไส้กรอก ห้องอาหารกระป๋อง 5.อาหารที่ปรุงแต่งสารเคมีมาก : สี กลิ่น รส สารกันบูด สารทำให้นิ่ม กรอบ ฯลฯ หรืออาหารที่มีธาตุโลหะหนักสูง เช่น ปลาทะเลตัวโต 6.อาหารที่เก็บได้นาน : เช่น…

Read more

4 ประโยชน์ตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์

คุณพ่อคุณแม่ที่กำลังวางแผนจะมีลูก คุณหมอมณีรัตน์ พิชิตรณชัย สูตินรีแพทย์ โรงพยาบาลสินแพทย์ เทพารักษ์ แนะนำให้ตรวจสุขภาพก่อนตั้งครรภ์ เพราะจะได้ประโยชน์มากทีเดียว ได้ประโยชน์อะไรบ้าง 1.คุณแม่จะได้ทราบว่าร่างกายพร้อมกับการตั้งครรภ์หรือไม่ และรับคำแนะนำจากคุณหมอ โดยเฉพาะคุณแม่ที่ตั้งครรภ์เมื่ออายุ 35 ปีขึ้นไป 2.ทราบจากการตรวจเลือดว่ามีความเสี่ยงต่อการส่งผ่านโรคต่าง ๆ ไปยังลูกหรือเปล่า เช่นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ธาลัสซีเมีย 3.การตรวจเลือดช่วยให้ทราบด้วยว่าคุณแม่มีภูมิคุ้มกันแล้วหรือยัง จะได้รับวัคซีนให้เรียบร้อยก่อนตั้งครรภ์ 4.คุณหมอสามารถเตรียมดูแลสุขภาพคุณแม่ก่อนตั้งครรภ์ได้ เช่น การให้วิตามิน การเตรียมพร้อมดีทั้งกับลูกและตัวคุณแม่เองด้วยค่ะ

Read more

6 วิธีหยุดควันบุหรี่มือสองเพื่อลูกน้อย

ควันบุหรี่มือสองที่ผู้สูบสร้างพิษภัยในอากาศ และทำร้ายผู้สูดดมที่อยู่ใกล้ไปด้วยโดยเฉพาะลูกวัยเบบี๋และแม่ท้อง เมื่อได้รับสารพิษจากควันบุหรี่มือสองนาน ๆ จะทำให้เกิดโรคต่างๆ ง่ายขึ้น พบว่าผู้ไม่สูบบุหรี่หลายแสนคนต้องเสียชีวิต เนื่องจากได้รับควันบุหรี่มือสอง แม่ท้อง หากได้รับควันบุหรี่มือสองก็จะมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนในขณะตั้งครรภ์และการคลอดได้สูง อาจเกิดครรภ์เป็นพิษ แท้ง คลอดก่อนกำหนด เด็กที่เกิดมาก็จะมีความเสี่ยง มีน้ำหนักตัวน้อย ตัวเล็ก มีความยาวน้อยกว่าเด็กปกติ พัฒนาการทางสมองล่าช้า อาจมีความผิดปกติทางระบบประสาท ความจำ เป็นต้น เด็กเล็ก อาจป่วยด้วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น หลอดลมอักเสบ ปอดบวม และมีอัตราการเป็นโรคหืดเพิ่มขึ้น เกิดการติดเชื้อของหูส่วนกลาง และในระยะยาวก็จะมีพัฒนาการของปอดน้อยกว่าเด็กที่ไม่ด้รับควันบุหรี่ ป้องกันแม่ท้องและลูกน้อยจากควันบุหรี่มือสอง อยู่ให้ห่างหรือเดินเลี่ยงไปไม่อยู่ใกล้คนที่สูบบุหรี่ พยายามหลีกเลี่ยงการเข้าไปในสถานที่ที่มีคนสูบบุหรี่ บอกคนที่บ้านหรือคนที่สูบบุหรี่ใกล้ตัวให้เลิกสูบบุหรี่ พยายามทำให้บ้าน รถยนต์ส่วนตัว และที่ทำงานปลอดบุหรี่ ดูว่าสถานที่รับเลี้ยงเด็กที่นำลูกไปฝาก หรือโรงเรียนเป็นสถานที่ปลอดบุหรี่หรือไม่ ถ้าไม่ควรเปลี่ยนสถานที่ สอนให้ลูกอยู่ห่างจากควันบุหรี่มือสอง และไม่อยู่ใกล้ชิดกับคนสูบบุหรี่ ในระยะยาว คนที่ได้รับควันบุหรี่มือสองเป็นเวลานาน ๆ มีโอกาสเกิดโรคหัวใจและโรคมะเร็งคล้ายกับคนที่สูบบุหรี่เอง เด็ก แม่ท้อง และทุกคนจึงควรหลีกเลี่ยงควันบุหรี่ค่ะ ข้อมูลอ้างอิง…

Read more

แม่ท้องเตรียมตัวอย่างไรเมื่อต้องเดินทางโดยรถยนต์ ?

ช่วงท้องคุณแม่อาจมีโอกาสได้ไปพักผ่อนต่างจังหวัด การเดินทางไกลในช่วงตั้งท้องเป็นสิ่งที่คุณแม่สามารถทำได้ เพียงแค่ระมัดระวังและดูแลสุขภาพมากกว่าปกติ ไตรมาสแรกและไตรมาสที่ 3 ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางไกล ไตรมาสที่ 2 เป็นระยะที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับคุณแม่ค่ะ เดินทางปลอดภัย 1.ตรวจสุขภาพก่อนการเดินทาง หากเจ็บป่วยควรพักผ่อนและรักษาให้หายก่อน และเตรียมยาไปด้วย 2.จดบันทึกเกี่ยวกับสุขภาพระหว่างตั้งท้อง ยาที่ใช้ และปัญหาที่มีอยู่ 3.วางแผนท่องเที่ยวแบบสบาย ๆ ควรไปที่ใดเพียงแห่งเดียว ใช้เวลาสบาย ๆ เที่ยว 2-3 ชั่วโมง สลับกับนั่งหรือนอนพัก ไม่ใช้เวลาเดินทางตลอดวัน 4.เตรียมของกินและของใช้ที่จำเป็นไปด้วย ควรเตรียมยา นมที่ดื่มเป็นประจำ รวมถึงน้ำดื่มติดไปด้วย 5.เปลี่ยนท่านั่งหรือยืนบ้าง อาจหยุดรถเพื่อลงเดินทุก 2 – 3 ชั่วโมง 6.เตรียมหมองอิงสำหรับหนุนหลังและหมอนรองคอ ปรับเก้าอี้ให้อยู่ในลักษณะกึ่งเอนนอน 7.คาดเข็มขัดนิรภัยตลอดเวลา

Read more