Warning: Undefined array key "action" in /var/www/wp-content/themes/kicker-child/functions.php on line 2
เด็ก 3 ขวบขึ้นไป | motherandcare - Part 8
Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

เด็ก 3 ขวบขึ้นไป

8 วิธีจัดการวัยปฏิเสธให้อยู่หมัด

คุณแม่ลูกเล็กวัย 1 ถึง 3 ขวบ ต้องเจอกับวัยปฏิเสธของลูกค่ะ บางครั้งคุณแม่เผลอปี๊ดวันละหลายรอบ เริ่มสงสัยว่าคนละคนกันหรือเปล่า เพราะตอนยังเล็กกว่านี้น่ารักเชื่อฟังแม่มาก ทำไมลูกจึงปฏิเสธไปเสียทุกอย่าง การปฏิเสธของลูกเป็นพัฒนาการตามวัยของเขาค่ะ เพราะลูกกำลังมีความรู้สึกนึกคิดเป็นของตัวเอง ค่อย ๆ สร้างความเป็นตัวของตัวเองขึ้นมา และอยากทำอะไรเอง จึงไม่ชอบฟังคำสั่งของใครมีข้อแนะนำดี ๆ ในการดูแลลูกวัยปฏิเสธมาฝากกันค่ะ 1.อย่าห้ามทุกเรื่อง ห้ามเฉพาะเรื่องที่สำคัญ หรือเรื่องที่เป็นอันตราย เช่น เล่นในสิ่งที่พ่อแม่ห้าม การเล่นปลั๊กไฟเล่นของแตกง่ายปีนป่ายที่สูง คุณแม่ลดการปฏิเสธของลูกได้ด้วยการดูแลความปลอดภัยในบ้าน กั้นบริเวณที่ไม่ให้ลูกเข้าถึง เก็บของที่ลูกไม่ควรเล่นหรือเอาเข้าปากให้พ้นมือ จัดโซนของเล่นและฝึกให้ลูกเก็บของเล่นเอง 2.อย่าซีเรียสกับคำว่าไม่ของลูก คุณแม่ลดความเหนื่อยลงได้ด้วยการทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ไม่สนใจบ้าง ถึงเวลากินแล้วไม่ยอมกิน คุณแม่แค่บอกว่าอีก 10 นาทีแม่เก็บนะคะ ถ้าลูกมากินไม่ทันเดี๋ยวจะหิวแย่ วันนี้มีของอร่อยเสียด้วยสิ แล้วคุณแม่ก็เก็บจริงค่ะ 3. เปลี่ยนคำถามใหม่ จาก อยากกินข้าวไหม อยากกลับบ้านไหมอยากนอนไหม ลูกมักจะตอบว่าไม่ เลี่ยงคำถามที่ลูกจะปฏิเสธได้ เปลี่ยนเป็น เดี๋ยวเรากำลังจะกลับบ้านแล้วค่ะ เดี๋ยวถึงเวลากินข้าวเตรียมตัวนะคะ…

Read more

ลูกวัย 4-5 ขวบให้กินเท่าไหร่ดี ?

วัย 4-5 ขวบวัยกำลังซนกำลังโต ช่วงนี้เด็กแต่ละคนอาจจะโตไม่เท่ากัน คุณแม่อาจไม่แน่ใจว่าควรให้ลูกกินอาหารในปริมาณเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ในหลักการทางการแพทย์ บอกไว้ว่าลูกน้อยในวัย 4 - 5 ปี ต้องการพลังงานและสารอาหารใน 1 วัน ประมาณ 1,450 กิโลแคลอรี่  แบ่งสัดส่วนดังนี้ คาร์โบไฮเดรต 50-60%, โปรตีน 10-15% ไขมัน 25-30% ปริมาณอาหารที่ลูกวัยนี้ควรได้รับในแต่ละวัน คาร์โบไฮเดรตหรือแป้ง : 2 ½ – 3 ถ้วยตวง (ประมาณ 5 - 6 ทัพพีต่อวัน) เช่น ข้าวสวย ขนมปัง ก๋วยเตี๋ยว วุ้นเส้น มะกะโรนี โปรตีน : 3 ½ – 4 ช้อนโต๊ะ…

Read more

มือเท้าปากโรคที่ต้องระวัง

อากาศชื้น ๆ เย็น ๆ อย่างนี้โรคมือเท้าปากระบาดได้ง่าย พบได้บ่อยในเด็กเล็กช่วงอายุระหว่าง 1-3 ปีค่ะ รับเชื้อโรคมาจากไหน มือเท้าปากเป็นโรคติดต่อที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในกลุ่มเอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) ยังไม่มียาเฉพาะที่ฆ่าเชื้อโรคได้ มักติดต่อโดยการสัมผัส ไม่ว่าจะเป็นจากการกินอาหารที่มีเชื้อโรค สัมผัสกับน้ำมูก น้ำลาย รวมไปถึงอุจจาระแล้วนำมือเข้าปาก การอยู่รวมกันเป็นกลุ่มอย่างตามโรงเรียน เนอสเซอรี่ เด็ก ๆ จึงมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย สังเกตอาการลูกเล็กไม่ยอมกิน ลูกอาจมีอาการป่วยคล้ายกับหวัด มีไข้ ปวดกล้ามเนื้อนอนไม่หลับหรือหลับมากกว่าปกติ ขอดื่มแต่น้ำเย็น นอกจากอาการตุ่มสีแดงขึ้นบริเวณมือ เท้า ปากแล้ว ในเด็กเล็กที่ยังบอกอาการไม่ได้ คุณแม่อาจไม่ทราบว่าลูกเจ็บปาก ลองสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไม่ดูดนม ไม่กินอาหาร ไม่ดื่มน้ำ น้ำลายไหล อาการนี้ต้องพบคุณหมอ ถ้ามีไข้สูง หรือรับประทานอะไรไม่ได้ ดูซึมลง ปัสสาวะออกน้อยลง หรือสีเข้มขึ้น ควรรีบพาไปหาคุณหมอ คุณหมอจะให้ยารักษาตามอาการ เช่น ไอ จาม มีน้ำมูก…

Read more

อย่าสั่งลูกว่าต้องทำ “เดี๋ยวนี้”

Q : ลูกกำลังเล่นเพลินจะถึงเวลากินข้าวอยู่แล้ว เรียกให้กินข้าวแต่ไม่ยอมมาจะทำยังไงดี ? A : ลูกกำลังนั่งเล่นอยู่แล้วคุณแม่พูดว่าเลิกเล่นได้แล้วเก็บของเล่นไปกินข้าว เขากำลังเพลินอยู่ดี ๆ ถูกตัดฉับ ให้หยุดทันทีเด็กจะปรับตัวไม่ทัน การที่ลูกกินข้าวช้าไปอีก 30 วินาทีไม่เป็นอะไรค่ะ เราเข้าไปหาเขาชวนคุย ไหนเล่นอะไรคะลูก เล่นกับเขาอีกซัก 30 วินาที แล้วพูดขึ้นว่าคุณแม่หิวข้าวแล้ว อาจจะแตะที่ท้องลูก แล้วหนูหิวแล้วหรือยัง เป็นการค่อย ๆ เปลี่ยนอารมณ์ลูก การให้เด็ก ๆ เก็บของเล่นให้ได้ผลอย่าสั่งว่าเก็บของเล่นเดี๋ยวนี้ ควรปลูกฝังเขาทีละน้อยเรื่องการเล่นแล้วเก็บ ส่วนใหญ่คนเป็นพ่อแม่มักจะใจร้อน สั่งแล้วต้องทำเดี๋ยวนี้ เรากำลังสร้างให้ลูกของเรากลายเป็นคนขี้โมโหหรือขี้หงุดหงิด การปลุกให้ลูกตื่นนอนตอนเช้าก็เช่นกัน ลูกกำลังฝันหวาน แม่สั่งให้ตื่นต้องไปโรงเรียน สภาวะจิตปรับไม่ทัน สังเกตดูว่าวันไหนรีบจะโดนต่อต้าน ลูกอาจไม่ยอมอาบน้ำ ไม่ยอมลุกจากที่นอน เพราะฉะนั้นเวลาปลุกลูกจึงควรปลุกเขาเบา ๆ บอกให้เวลาอีกสัก 2 นาทีนะ ให้รู้ตัวก่อน นาฬิกาปลุกเรายังมีปุ่ม snooze กับลูกก็เหมือนกัน ไม่ใช่ว่าต้องตื่นเดี๋ยวนี้ ให้ลูกได้เตรียมตัวเตรียมใจสักนิด การสอนให้ลูกมีระเบียบวินัย ควรใช้ความสม่ำเสมอ…

Read more

ทำไมพูดแล้วลูกไม่ยอมเชื่อฟัง ?

Q เวลาห้ามลูกอย่างเช่น หยุดเล่นก่อนนะเดี๋ยวค่อยเล่นต่อ หรือน้องเล่นกับพี่แรงเกินไปแม่บอกให้หยุดก็ไม่หยุดยิ่งพูดเหมือนยิ่งยุ จะมีวิธีจัดการอย่างไร ? A : ประเด็นแรกก็คือถ้าพูดแล้วลูกไม่เชื่อฟัง เวลาตัวเราจะสั่งหรือบอกลูกให้ทำตามเรามีความสม่ำเสมอหรือเปล่า ถ้าแต่ละวันไม่เหมือนกัน ลูกก็จะรู้สึกว่าพ่อแม่ไม่ศักดิ์สิทธิ์ ถ้าต้องการให้ลูกทำตามคำพูดพ่อแม่ต้องมีความศักดิ์สิทธิ์ อย่าเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา คุณพ่อคุณแม่ควรจะไปในทิศทางเดียวกันด้วย คุณแม่บอกไปซ้ายทั้งพ่อและแม่ควรจะต้องบอกไปซ้ายด้วยกัน จังหวะในการบอกก็สำคัญ ถ้าลูกกำลังสนุกสนานเพลินอยู่กับการเล่น กำลังมีความสุขอยู่ดี ๆ พ่อแม่มาขัด เด็กปรับสภาพจิตใจไม่ทัน คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องให้เวลาเขา เช่น ลูกกำลังเล่นกันเสียงดังสนุกสนาน คุณแม่อาจจะพูดด้วยเสียงอ่อนโยนกับลูกว่าไหนกำลังทำอะไรกันคะ ลูกก็จะค่อย ๆ ปรับจิตใจ ปรับอารมณ์ได้ ถ้าเราฝึกให้ลูกค่อย ๆ ปรับอารมณ์ลูกก็จะชินกับสภาวะที่ไม่ต้องดื้อชินกับสภาวะที่ไม่ต้องกระแทกอารมณ์ แสดงความ หงุดหงิดหรืออารมณ์รุนแรงออกมา คุณพ่อคุณแม่เองก็จะไม่ต้องกังวลใจว่าทำไมลูกเป็นคนขี้โมโหค่ะ เรียบเรียงจาก : สัมภาษณ์ ครูเคท - ดร.เนตรปรียา มุสิกไชย ชุมไชโย พิธีกร : แม่แอร์ Thelovelyair.com Facebook : Mother&Care : Raising…

Read more

7 พฤติกรรมพ่อแม่ทำร้ายลูก

บางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจไม่รู้ตัวว่าสิ่งที่พูดหรือการแสดงออก เป็นการทำร้ายจิตใจลูก เมื่อเกิดขึ้นบ่อยครั้งก็ส่งผลต่อบุคลิกภาพของลูกน้อย มาสำรวจกันค่ะว่าพฤติกรรมไหนเข้าข่ายบ้าง 1.ไม่ให้ทำอะไรเอง พ่อแม่คือผู้จัดการ บริหารทุกสิ่งอย่าง โดยที่ลูกไม่ได้มีส่วนร่วมหรือได้ลงมือทำอะไรเลย การทำแบบนี้เท่ากับเป็นการตัดโอกาสการเรียนรู้ของเด็ก ทำให้โรคขาดทั้งทักษะการช่วยเหลือตัวเอง และความมั่นใจในตัวเอง 2. ไม่ปกป้อง เรื่องความปลอดภัย มีสถิติตัวเลขอุบัติเหตุสูงเพิ่มขึ้น ซึ่งเกิดจากการไม่ทันระมัดระวัง เช่น ลืมปิดประตูบ้าน ไม่ได้เก็บสิ่งของเป็นอันตรายพ้นมือเด็ก คุยโทรศัพท์หรือใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คเพลินจนลืมดูลูก 3. ไม่ยืดหยุ่น เพราะต้องการให้ทุกอย่างเป๊ะเว่อร์ตลอด ลูกทำไม่ได้ดังใจก็โกรธ ตำหนิ เรื่องเล็ก ๆ ทำให้เป็นเรื่องใหญ่ ลูกจะรู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่า ไม่มีอะไรดี ไม่มีความสามารถ เพราะทำอะไรไม่เคยถูกใจพ่อแม่ 4.เลี้ยงลูกแบบไข่ในหิน การที่แม่ ๆ ปกป้องมากเกินไป วิตกกังวลเกินกว่าเหตุ ห่วงเรื่องอุบัติเหตุ กลัวจะถูกหลอก กลัวลูกไม่สบาย ลูกจึงไม่ค่อยได้ทำอะไร ลูกมักจะเป็นเด็กวิตกกังวลได้ง่าย หวาดกลัวจนไม่มีความสุข และขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง 5. ไม่มีขอบเขต ตามใจลูกทุกอย่าง โดยลืมนึกถึงอะไรควรไม่ควร ด้วยความคิดที่ว่าลูกยังเด็ก ผลคือ เมื่อลูกออกสู่สังคม อยู่ร่วมกับผู้อื่น ก็กลายเป็นเด็กปรับตัวยาก เอาแต่ใจตัวเอง ขาดความอดทน ความสัมพันธ์กับคนอื่นไม่ราบรื่น 6. ไม่ชื่นชม ถ้าคุณพ่อคุณแม่มีแต่คำตำหนิติเตียน ไม่เชื่อว่าลูกจะทำสำเร็จ นอกจากทำร้ายจิตใจลูกแล้วยังทำลายความคิดดี ๆ ของลูก ทำให้ขาดความมั่นใจ ความภูมิใจในตัวเอง 7. ไม่เข้าใจลูก ถ้าคิดว่าทำไมลูกไม่เก่งควรเปลี่ยนวิธีคิดค่ะ ความจริงแล้วเด็กแต่ละคนมีบุคลิก…

Read more

ครอบครัวธรรมดาทั่วไปควรมีเงินเก็บเท่าไหร่ดี ?

Q : ครอบครัวธรรมดาทั่วไปควรมีเงินเก็บเท่าไหร่ดี ? A : สมมติว่าครอบครัวธรรมดาครอบครัวนึงคุณพ่อคุณแม่ต่างก็ทำงาน มีลูก 1 คน รายได้เท่าไหร่ก็ตามควรมีเงินเก็บไว้อย่างน้อย 6 เท่าของเงินเดือน ถ้าจะให้ดีก็ 12 เดือนหรือ 1 ปี เพื่อบริหารความเสี่ยงในกรณีที่ 1 ตกงาน กรณีที่ 2 ค่าใช้จ่ายฉุกเฉินที่อยู่ดี ๆ ต้องจ่าย เช่น ลูกได้รางวัลบินไปชิงทุนต่างประเทศ ถ้าต้องการสนับสนุนเขาเราก็ต้องมีเงินสำรองไว้ให้ลูกเรา "เงินนอกเหนือจากส่วนนี้ เอาไปลงทุนอยู่ในสินทรัพย์หรืออยู่ในเงินฝากที่ให้ผลงอกเงยมากกว่าฝากออมทรัพย์ธรรมดา" "เวลาวางแผนการเงิน คุณแม่อย่าวางแผนค่าใช้จ่ายครับเราต้องวางแผนรายได้ คุ้มครองรายได้เรา การวางแผนคุ้มครองรายได้เราทั้งหมดนั่นหมายความว่าเราคุมค่าใช้จ่ายได้ แต่ถ้าเราวางแผนค่าใช้จ่ายอย่างเดียวถ้าเกิดมีค่าใช้จ่ายฉุกเฉินขึ้นมา อาจไม่มีใครสามารถช่วยเหลือเราได้นอกจากตัวเราเอง" "สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือสุขภาพเรา อยากบอกคุณพ่อคุณแม่ว่าทำงานเก็บเงินแล้วไม่อยากให้สุดท้ายแล้วเงินของเราต้องหมดไปกับการทุ่มเทรักษาตัวเองป่วย เพราะฉะนั้นต้องดูแลสุขภาพด้วย ต้องวางเพื่อตัวเองแล้วก็เพื่อลูกด้วย" "อาจจะแยกเก็บเงินเป็นส่วน ๆ สมมติให้เป็นขวดโหลจะได้เห็นภาพ เช่น ขวดโหลที่ 1 เป็นของลูก ขวดโหลที่ 2 เอาไว้เที่ยวหรือช้อปปิ้ง ขวดโหลที่ 3 เพื่อค่าใช้จ่ายประจำ เช่น ค่างวดรถ ค่าบ้าน ขวดโหลที่ 4ใช้จ่ายปกติทั่วไป อาจจะเปิดไว้สัก 3-4 บัญชีแล้วเราโอนเงินเข้าไป ได้เงินมาปุ๊บโอนไปก่อนเลย เดี๋ยวนี้โอนไม่มีค่าธรรมเนียมแล้วสะดวกมากขึ้น ที่เหลือค่อยใช้จ่าย…

Read more

7 วิธีฝึกให้ลูกเก็บของเล่นเอง

ของเล่นของลูกกระจัดกระจายทั่วบ้านราวกับระเบิดลงทุกวัน การเก็บของเล่นกลายเป็นอีกงานหนึ่งที่คุณแม่ต้องจัดการ การสอนให้ลูกเก็บของเล่นเองเป็นการสอนให้เขาเรียนรู้หลายด้านค่ะ ทั้งระเบียบวินัย การดูแลรักษาของ ความรับผิดชอบ การทำอะไรเองเป็นยังช่วยให้ลูกพึ่งพาตัวเองได้ตอนโตการสอนลูกไม่ยากค่อย ๆ ฝึกเขาค่ะ 1.ช่วยกันเก็บก่อน เด็กเล็กอาจเก็บคนเดียวไม่ไหว เพราะยากเกินความสามารถ คุณแม่ชวนลูกเก็บก่อนค่ะ ทำให้การเก็บของเล่นเป็นเรื่องสนุก เป็นเกมอย่างหนึ่งที่ต้องเล่นปิดท้ายเสมอ 2.จัดเก็บเป็นหมวดหมู่ ไม่ต้องแยกหลายหมวดหมู่เกินไปลูกจะงง การแยกเก็บเป็นหมวดหมู่ทำให้ไม่ต้องเก็บของเล่นคราวละมาก ๆ เพราะลูกมักจะเลือกชิ้นที่ตัวเองชอบ นอกจากนี้ยังฝึกการแยกแยะให้ลูก คุณแม่ใช้ลิ้นชัก ลังพลาสติก หรือถังพลาสติกก็ได้ค่ะ แยกสีแต่ละลังให้ชัดเจนตกแต่งหรือแปะสติ๊กเกอร์ อาจสมมติแต่ละถังเป็นพี่ฮิปโป พี่ปลาวาฬ พี่จระเข้ ฯลฯ หิวข้าวแล้วต้องป้อนของเล่นให้หม่ำก่อน 3.เก็บของเล่นเป็นเวลา ตอนเย็นก่อนลูกอาบน้ำหม่ำข้าวเย็น พยายามให้ลูกเก็บในเวลาเดิมทุกวัน เพื่อสร้างความคุ้นเคย และเป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวัน ความเคยชินช่วยให้ลูกทำได้โดยอัตโนมัติ 4.หลอกล่อด้วยกิจกรรมสนุก ลูกกำลังสนุกกับการเล่น แต่คุณแม่มักจะให้เขาเก็บของเพื่อไปทำกิจกรรมน่าเบื่อ ไม่มีใครอยากทำหรอกค่ะ เพราะฉะนั้นกิจกรรมต่อจากการเก็บของเล่นควรมีความสนุกเพื่อกระตุ้นให้ลูกเก็บค่ะ 5.เล่านิทาน คุณแม่อาจจะหาซื้อหนังสือนิทานหรือแต่งนิทานเล่าให้ลูกฟัง มีตัวเอกเป็นตัวละครหรือสัตว์น่ารักที่ลูกชอบ เล่าถึงตัวละครตัวโปรดนิสัยดี มีระเบียบ เล่นของเล่นแล้วเก็บก็ได้ค่ะ 6. บ้านต้องเป็นระเบียบด้วย ลูกเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมรอบตัว มองไปทางไหนทุกอย่างเข้าที่เข้าทาง คุณแม่ใช้ของแล้วเก็บเข้าที่ ลูกก็จะเรียนรู้สิ่งนี้ไปเอง 7.ให้รางวัลเมื่อลูกทำได้ดี บางครั้งใช้รางวัลล่อใจได้บ้างค่ะ ถ้าเขาทำได้ดี อาจจะเป็นการชมเชยหรือให้ตามข้อเรียกร้องบางอย่างเป็นพิเศษ เวลาเจอคนอื่นคุณแม่พูดชมเขาให้คนอื่นฟังด้วยนะคะ ลูกจะภูมิใจและพยายามทำดีต่อไป อดทนใช้เวลาสักนิด ฝึกลูกอย่างสม่ำเสมอ เขาจะเรียนรู้การเก็บของเล่นให้เป็นระเบียบได้ในที่สุดค่ะ

Read more

พาลูกไปเรียนว่ายน้ำเมื่อไหร่ดี

สาเหตุอันดับ 1 ของการเสียชีวิตในเด็กก็คืออุบัติเหตุจมน้ำ คุณพ่อคุณแม่หลายคนทราบดีจึงต้องการให้ลูกว่ายน้ำเป็นเพื่อความปลอดภัยของลูก แต่อายุเท่าไหร่จึงจะเหมาะสมในการเรียนว่ายน้ำ ควรจะเริ่มตั้งแต่วัยเบบี๋เลยหรือเปล่า เพราะเรามักจะเห็นภาพหรือคลิปหนูน้อยในวัยทารกเริ่มหัดว่ายน้ำกันแล้ว เริ่มตอน 4 ขวบ The American Academy of Pediatrics หรือสมาคมกุมารแพทย์สหรัฐฯ มีคำแนะนำว่า เด็กในวัย 4 ขวบขึ้นไปจึงเหมาะกับการเริ่มต้นเรียนว่ายน้ำเนื่องจากในวัยนี้พัฒนาการของเด็กจะมีความพร้อม สำหรับเด็กในวัยเบบี๋หรืออายุน้อยกว่า 4 ขวบก็ไม่ถึงกับห้ามเรียนว่ายน้ำ เพียงแต่น่าเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัยของลูก เพราะว่าเด็กเล็กมีโอกาสจมน้ำได้ง่าย หมอนอกจากพัฒนาการทางร่างกายยังไม่โตเพียงพอแล้ว การตัดสินใจช่วยเหลือตัวเองก็ยังไม่ดีนัก และยังเป็นวัยที่ยังสื่อสารได้ไม่ดีพอจึงอาจไม่มีความเข้าใจในการเรียนได้เท่ากับเด็กที่โตกว่า นอกจากนี้เด็กเล็กก็มีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายเนื่องจากภูมิต้านทานยังต่ำอยู่ค่ะ ก่อน 4 ขวบฝึกความคุ้นเคย เด็กเล็กก่อนวัย 4 ขวบสามารถสร้างความคุ้นเคยให้ลูกเมื่ออยู่ในน้ำได้ค่ะ อาจไม่ใช่การสอนว่ายน้ำแบบจริงจังแต่เป็นการสร้างบรรยากาศให้ลูกสนุกกับการเล่นน้ำ และสอนเรื่องความปลอดภัยให้เขา อาจจะชวนลูกเล่นน้ำ ให้ลูกใส่ห่วงยางหรือเสื้อชูชีพลอยตัวเล่นในน้ำ หรือสอนให้ลูกเล่นเล่นตีขาในน้ำ ในขณะเล่นถึงแม้ว่าจะอยู่ในชูชีพแล้วก็ตาม ลูกต้องอยู่ในสายตาตลอดเวลา และต้องอยู่ในระยะที่คุณพ่อคุณแม่สามารถคว้าจับตัวเขาได้ทันเท่านั้น อย่าปล่อยให้ลูกอยู่ห่างตัวเกินกว่านี้ เพราะอุบัติเหตุสามารถเกิดได้ในชั่วพริบตาค่ะ มีอีกข้อหนึ่งที่ควรระวังก็คือ อย่าปล่อยให้พี่ที่อายุโตกว่าดูแลน้องเล็กกันเองนะคะ เพราะความสามารถในการช่วยเหลือของเด็กเมื่อเกิดอุบัติเหตุจมน้ำจะไม่ดีเท่าผู้ให ญ่ ไม่ว่าในวัยไหนก็ตาม คุณพ่อคุณแม่จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับความปลอดภัยมาเป็นอันดับแรกเสมอค่ะ

Read more

1 ขวบแล้วไม่ยอมกินข้าวทำอย่างไรดี ?

Q : ลูกอายุ 1 ปี 1 เดือน กินแต่นม เวลาป้อนข้าวก็ไม่กินเลยค่ะ เคยใช้วิธีให้กินนมน้อยลง แต่ก็จะร้องงอแงมากไม่ยอมกินข้าวอยู่ดี จะมีวิธีแก้ไขอย่างไรคะ A : ปัญหาลูกไม่กินข้าวเป็นปัญหาสำคัญที่พบในเด็กวัยตั้งแต่ 1 ปี ไปจนถึง 3 – 4 ปี หรือช่วงวัยก่อนเข้าโรงเรียน ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องอาศัยความเข้าใจในพฤติกรรมเด็ก ความอดทน และความร่วมมือของคุณพ่อ คุณแม่ในการแก้ปัญหา โดยการแก้ปัญหานั้นเริ่มต้นที่คุณแม่ไม่ควรเครียด กังวลกับการกินของลูกมากเกินไป ควรสร้างบรรยากาศการกินให้สบายๆ โดยให้นั่งกินร่วมโต๊ะกับสมาชิกในครอบครัว ไม่มีสิ่งใดมาดึงความสนใจ เช่น ทีวี ของเล่น ชวนลูกพูดคุยให้เพลิน ไม่บังคับขู่เข็ญ ไม่ยัดเยียด ไม่เดินตามป้อนอาหาร หรือติดสินบนลูกเพื่อให้กิน เพราะลูกจะต่อต้านไม่ยอมกิน หรือ ในบางรายจะจับจุดได้ว่า การที่เขาไม่กินข้าว จะได้รับความสนใจจากคุณแม่มากขึ้น แล้วนำมาเป็นข้อต่อรองในคราวหลังได้ ควรให้ลูกได้เลือก และ ควบคุมการกินของเขาเอง ตักกินเอง จะเลอะเทอะไปบ้างก็ไม่เป็นไรค่ะ แต่อย่าใช้เวลากินบนโต๊ะอาหารนานเกินไป ไม่ควรเกิน 30 นาที เพราะจะทำให้ลูกมีความรู้สึกว่าช่วงเวลามื้ออาหารเป็นช่วงที่น่าเบื่อ และ มีความรู้สึกว่าตนเองกำลังถูกบังคับอยู่ ในแต่ละมื้อนั้นควรจัดให้อาหารมีลักษณะสีสัน…

Read more