Warning: Undefined array key "action" in /var/www/wp-content/themes/kicker-child/functions.php on line 2
เด็กแรกเกิดถึง 3 ขวบ | motherandcare - Part 13
Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

เด็กแรกเกิดถึง 3 ขวบ

7 เหตุผลทำไมควรให้ลูกได้เล่นทราย ?

คุณแม่ที่รักสะอาดฟังทางนี้ค่ะ ถึงแม้จะเป็นคุณแม่อนามัยจ๋าขนาดไหนก็ขอแนะนำว่า ควรปล่อยให้ลูกได้เล่นทรายนะคะ นักจิตวิทยาเด็กทั่วโลกกล่าวตรงกันว่าการเล่นทรายสำหรับเด็กแล้วมีประโยชน์ต่อพัฒนาการทางร่างกาย จิตใจ และสติปัญญาอย่างยิ่ง เรามาดูประโยชน์ทั้ง 7 ข้อของการเล่นทรายกันค่ะ 1.ส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกาย ตอนลูกปั้นทราย ตักทรายเท กล้ามเนื้อมัดเล็กอย่างกล้ามเนื้อมือได้ฝึกฝนออกแรงก็จะใช้งานได้คล่องแคล่ว กล้ามเนื้อมัดใหญ่อย่างแขนและขาได้ออกแรง กะน้ำหนัก ช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ และการทำงานประสานกันระหว่างมือกับตา 2.กระตุ้นจินตนาการไร้ขอบเขต เนื่องจากทรายไม่มีขีดจำกัดของรุปทรง เด็กจึงสร้างสรรค์ได้ตามจินตนาการ ซึ่งนอกจากจะสร้างสรรค์เป็นอะไรก็ได้แล้ว ก็ยังทำได้หลายวิธี ลูกอาจจะก่อปราสาททรายก็จริง แต่อาจจะก่อด้วยการใช้รูปทรงหรือแม่พิมพ์ที่แตกต่างกันออกมาเป็นปราสาททรายรูปทรงต่าง ๆ ทรายยังเป็นของเล่นที่ไม่มีผิดหรือถูก ถ้าผิดก็สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ใหม่ 3.ช่วยให้ลูกได้ระบายความรู้สึก เด็กบางคนไม่ถนัดสื่อสารกับคนอื่น หรือไม่อยากบอกความรู้สึกของเขา การเล่นทรายช่วยให้เด็กได้ระยายอารมณ์ความรู้สึกออกมากับการปั้น การเล่นทรายยังช่วยให้ลูกรู้สึกผ่อนคลาย เด็กที่หงุดหงิดอารมณ์เสียการเล่นทรายเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยคลายอารมณ์ความโกรธของเด็กได้ 4.ช่วยพัฒนาทักษะทางสังคม เมื่อลูกได้เล่นทรายกับเด็กคนอื่นหรือเล่นทรายกับคุณพ่อคุณแม่ก็ตาม จะช่วยให้ลูกเรียนรู้การเข้าสังคมผ่านการเล่น เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับการแบ่งปัน รอคอย แลกเปลี่ยน การช่วยเหลือกัน พูดคุย ลูกได้เรียนรู้วิธีการใช้เวลากับคนอื่นอย่างมีความสุข 5.ฝึกสมาธิจดจ่อ การเล่นทรายเด็กจะต้องคิดก่อนว่าต้องการปั้นทรายออกมาเป็นอะไร ซึ่งต้องใช้เวลาพยายามทำจนสำเร็จ ลูกจะต้องมีใจจดจ่อกับสิ่งตรงหน้า และเด็ก ๆ มักจะมีสมาธิจดจ่อได้เองโดยไม่ต้องมีใครมาบังคับให้เขามีความตั้งใจ เพราะเด็กเพลิดเพลินกับการเล่นทรายด้วยตัวของเขาเอง ถ้ากลัวลูกติดแท็บเล็ตหรือสมาร์ตโฟนอาจหาของเล่นทรายมาให้ลูกเล่นที่บ้านก็ได้ค่ะ 6.ฝึกภาษา การเรียนเขียนอ่านในสมุดอาจเป็นเรื่องเคร่งเครียดสำหรับเด็ก การได้เปลี่ยนอะไรแปลกใหม่บ้างจะช่วยให้ลูกสนุกกับการเรียนรู้มากขึ้นค่ะ คุณพ่อคุณแม่อาจชวนลูกเล่นเขียนคำตัวโต…

Read more

7 เหตุผลใช้คาร์ซีทแบบพกพา

ขณะโดยสารรถยนต์ ผู้ใหญ่คาดเข็มขัดนิรภัยเพื่อความปลอดภัย ลูกตัวโตอายุเกิน 12 ขวบมักจะใช้เข็มขัดนิรภัยของผู้ใหญ่ แล้วลูกเล็กล่ะมีอะไรปกป้องเขาได้หากเกิดอุบัติเหตุขณะเดินทาง การอุ้มเด็กนั่งเบาะหลังดูเหมือนว่าจะปลอดภัยดี แต่มักพบว่าเมื่อเกิดอุบัติเหตุเด็กจะได้รับอันตรายรุนแรงจากการกระแทกกับตัวรถหรือกระเด็นออกนอกตัวรถ คาร์ซีทจึงมีความจำเป็นและมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับเด็กค่ะ รายงานจาก WHO หรือองค์การอนามัยโลกกล่าวว่าการใช้เบาะนิรภัยสำหรับเด็กสามารถลดอันตรายจากการเกิดอุบัติเหตุ และช่วยลดโอกาสเกิดการสูญเสียชีวิตของเด็กได้ถึง 70 % จะดีแค่ไหนถ้าความปลอดภัยพกพาได้ คาร์ซีทที่พบเห็นโดยทั่วไปมีลักษณะเป็นเก้าอี้นั่งบุนวมติดตั้งในรถยนต์ แต่คาร์ซีทแบบพกพามีขนาดเล็กมาก สามารถพกติดตัวไปได้ทุกที่ นั่นก็คือ Mifold นวัตกรรมนี้คิดค้นขึ้นมาจากไอเดียของ Mr. Jon Sumroy คุณพ่อที่เป็นห่วงสวัสดิภาพยามเดินทางของลูก ๆ ทั้ง 4 คนของเขา จุดเด่นของคาร์ซีทแบบพกพา 1.มีมาตรฐานความปลอดภัยสูง ผลิตด้วยวัสดุเดียวกับที่ใช้ในการผลิตเครื่องบิน จึงมีความแข็งแรง ทนทาน และน้ำหนักเบา เมื่อเกิดอุบัติเหตุสามารถปกป้องความปลอดภัยให้ลูกได้ และได้รับการรับรอง Regulatory Approval จาก US & EU 2.ได้รับ 14 รางวัลระดับสากลจากนานาประเทศทั้งรางวัลด้านความปลอดภัยและการดีไซน์ที่เหมาะสม…

Read more

6 ความสำคัญของคาร์ซีทกับชีวิตลูก

คนเป็นพ่อเป็นแม่ทุกคนเป็นห่วงความปลอดภัยของลูกในทุกเรื่อง รวมทั้งขณะเดินทางโดยรถยนต์ด้วยใช่ไหมคะ คำถามก็คือ…เราปกป้องลูกให้ปลอดภัยจากอันตรายหากเกิดอุบัติเหตุแล้วหรือยัง หากไม่แน่ใจหรือคิดว่าลูกปลอดภัยในยามเดินทางเพียงพอแล้ว มาดูข้อเท็จจริง 6 ข้อนี้กันค่ะ 1.การที่ในรถไม่มีที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็กหรือคาร์ซีท หากเกิดอุบัติเหตุรถชน โอกาสเกิดอันตรายจะมีสูง ทั้งจากตัวเด็กกระแทกกับตัวรถหรือกระเด็นออกนอกรถ 2.WHO องค์การอนามัยโลกให้ข้อมูลว่า การใช้คาร์ซีทช่วยลดอันตรายจากอุบัติเหตุและลดโอกาสเสียชีวิตได้ถึง 70 % 3.เด็กอายุต่ำกว่า 13 ปีควรนั่งเบาะหลังเท่านั้น และใช้คาร์ซีท หากตัวโตพอจะใช้เข็มขัดนิรภัยที่ติดมากับรถยนต์ สายรัดจะต้องอยู่ในจุดที่ไม่เป็นอันตรายกับตัวเด็ก 4.การอุ้มเด็กนั่งเบาะหลังไม่ปลอดภัยเพียงพออย่างแน่นอน หากเกิดอุบัติเหตุรถชนรุนแรงรถจะหยุดกะทันหัน มักพบอุบัติเหตุที่เด็กไม่ได้อยู่ในที่นั่งนิรภัยจึงไม่มีสิ่งยึดตัวไว้ จะกระแทกกับตัวรถ หรือหลุดกระเด็นออกนอกรถ 5.ไม่ควรให้เด็กอายุไม่ถึง 13 ปีหรือตัวยังไม่โตพอคาดเข็มขัดนิรภัยที่ติดมากับรถยนต์ เพราะเป็นของที่ทำขึ้นมาเพื่อให้พอดีกับขนาดตัวของผู้ใหญ่ หากเกิดอุบัติเหตุสายเข็มขัดนิรภัยอาจบาดหน้าหรือคอเด็ก เสี่ยงต่อการบาดเจ็บและชีวิตของเด็ก 6.เด็กทุกวัยควรใช้คาร์ซีท ซึ่งควรเลือกให้เหมาะสมกับขนาดตัวของเด็ก เด็กแรกเกิดถึง 2 ขวบควรใช้คาร์ซีทแบบหันหน้าไปทางท้ายรถ เพราะเด็กวัยนี้ศีรษะใหญ่กระดูกคออ่อนอยู่ การนั่งหันไปข้างหน้าเวลาเกิดอุบัติเหตุศีรษะจะสะบัดไปด้านหน้าและกลับมาข้างหลังกระดูกต้นคอหักได้ง่าย ควรปรับเปลี่ยนขนาดคาร์ซีทให้เหมาะกับตัวลูกเมื่อโตขึ้น คาร์ซีทพกพาเหมาะกับเด็กวัย 4-12 ขวบ เพราะเป็นการใช้ร่วมกับสายคาดนิรภัยที่ติดอยู่กับรถยนต์สามารถปรับขนาดสายให้เหมาะกับตัวเด็ก ทั้ง 6 ข้อนี้น่าจะเป็นตัวช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ประเมินได้ว่าดูแลความปลอดภัยให้ลูกยามเดินทางเพียงพอแล้วหรือยัง ถ้ายังควรเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยให้ลูกโดยด่วนค่ะ

Read more

ป้องกันอย่างไรไม่ให้ลูกขาดน้ำ ?

น้ำเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิตเราทุกคนรวมทั้งเด็ก ๆ ด้วยค่ะ ในแต่ละวันคุณแม่ต้องดูแลลูกให้ดื่มน้ำอย่างพอเพียง เพราะเด็ก ๆ มักจะมีโอกาสดื่มน้ำน้อย เนื่องจากไม่ได้สนใจจะดื่ม หรือเพลิดเพลินกับการเล่น เด็กบางคนก็ไม่ชอบดื่มน้ำเอาเสียเลย ปัญหานี้อาจทำให้คุณแม่กังวลถึงสุขภาพลูกมิใช่น้อย แน่นอนว่าการดื่มน้ำน้อยจะส่งผลเสียต่อสุขภาพลูกหลายด้าน ทำให้เซลล์ต่าง ๆ ภายในร่างกายรวมทั้งเซลล์สมองไม่ได้น้ำไปหล่อเลี้ยงอย่างเต็มที่ ร่างกายระบายความร้อนไม่ได้ดี มีปัญหาท้องผูก ผิวหนังและริมฝีปากแห้งแตก สมองตื้อ อารมณ์ไม่แจ่มใส หากขาดน้ำมาก ๆ อาจทำให้หน้ามืดเป็นลม หรือช็อกได้ Motherandcare มีเคล็ดลับช่วยให้ลูกดื่มน้ำเพิ่มมาฝากคุณแม่ 1.หลังจากอายุเกิน 6 เดือนไปแล้วเริ่มฝึกให้ลูกจิบน้ำ และเมื่อโตขึ้นอีกหน่อยให้ลูกจิบน้ำบ่อย ๆ จนเป็นนิสัย 2.อย่าบังคับให้ดื่มครั้งละมาก ๆ เพราะลูกจะรู้สึกไม่อยากดื่ม ให้จิบทีละน้อยแบ่งเป็นหลาย ๆ ครั้งตลอดวันจะดีกว่า 3.หาแก้วน้ำลายน่ารักที่ลูกชอบมาให้ใช้ 4.หากระติกน้ำขนาดพอเหมาะกับตัวลูกลายน่ารักให้เขาพวกเวลาพาเขาเดินทางไม่ว่าใกล้ไกล 5.วางขวดหรือแก้วน้ำไว้ใกล้ตัวลูก ทั้งในบ้าน และตอนออกไปวิ่งเล่นในสนาม 6.ให้ลูกดื่มน้ำผลไม้รสไม่หวานจัดจะหลับบ้างแก้เบื่อ 7.หากลูกเล่นซนเหงื่อออกมาก ท้องเสีย อาเจียน ร่างกายสูญเสียน้ำไปมาก คุณแม่ต้องช่วยชดเชยให้ลูกด้วยการให้เขาดื่มน้ำ เพียงแค่ 7 เคล็ดลับง่าย…

Read more

ฝึกลูกดื่มน้ำอย่างไรให้ถูกวิธี ?

คุณแม่บางท่านอาจสงสัยว่า การดื่มน้ำมีวิธีที่ถูกและผิดด้วยหรือ จะเรียกว่าผิดเสียทีเดียวก็อาจจะไม่ใช่เพียงแต่ว่าบางวิธีที่ใช้อยู่ยังไม่เหมาะสมเท่าใดนัก เช่น บังคับให้ลูกดื่มน้ำครั้งละมาก ๆ ให้ลูกดื่มน้ำหวานตามใจชอบโดยไม่กำหนดปริมาณที่เหมาะสม ให้ลูกดื่มน้ำอัดลม น้ำแร่ หรือชากาแฟ 3 วิธีฝึกลูกให้ได้ประโยชน์จากการดื่มน้ำ 1.ให้จิบบ่อย ๆ ระหว่างวัน อาจจะครึ่งแก้วบ้าง 1 แก้วบ้าง เฉลี่ยไปทั้งวันยกเว้นใกล้เวลานอนเพราะจะทำให้ปัสสาวะตอนกลางคืน การให้ลูกได้รับน้ำตลอดทั้งวันจะดีต่อร่างกายมากกว่าการให้ดื่มน้ำครั้งละมาก ๆ 2.ฝึกให้ดื่มน้ำเปล่าเป็นหลัก อนุญาตให้ดื่มน้ำหวานได้บ้างแต่ต้องไม่มาก เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกได้รับน้ำตาลเกินและฟันไม่ผุ 3.ฝึกให้ดื่มน้ำในอุณหภูมิห้อง เวลาเป็นไข้ไม่สบายจะไม่ต้องเรียกร้องขอดื่มน้ำเย็น แต่ก็ไม่ควรเคร่งครัดถึงกับห้ามดื่มน้ำเย็นเลย เด็กบางคนชอบน้ำเย็นเพราะดื่มแล้วรู้สึกสดชื่น ดูแลลูกแล้วคุณแม่เองก็อย่าลืมดื่มน้ำนะคะ

Read more

5 ผลเสียต่อสมองลูกถ้าดื่มน้ำไม่พอ !

ถ้าพูดถึงการบำรุงสมองแล้ว คุณพ่อคุณแม่มักจะนึกถึงเรื่องอาหารการกินของลูกเป็นอันดับแรกใช่ไหมคะ จะคอยดูแลให้เขาได้รับอาหารดี ๆ มีประโยชน์ครบถ้วน แต่ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญมากเรียกได้ว่าถ้าขาดแล้วสมองแย่แน่ นั่นก็คือ “น้ำ” ค่ะ หากในแต่ละวันลูกดื่มน้ำน้อยเกินไป จะส่งผลให้เซลล์ต่าง ๆ ได้รับน้ำไม่เพียงพอ นอกจากจะก่อปัญหากับการทำงานของร่างกายแล้ว ยังมีผลต่อสมองอย่างยิ่งผลเสียเมื่อสมองลูกขาดน้ำ 1.ขาดสมาธิ บทความหนึ่งที่ตีพิมพ์ในเว็บไซต์ Psychology Today กล่าวว่ามีรายงานการวิจัยหลายชิ้นพบว่า ถ้าร่างกายขาดน้ำ สมองของเราจะไม่สามารถมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง 2.ความจำไม่ดี สมองของคนเราบันทึกทั้งความจำระยะสั้นและความจำระยะยาวค่ะ ความจำระยะสั้นก็คือการจำเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดเมื่อไม่นานมานี้ได้ การขาดน้ำจะทำให้ลืมเรื่องราวที่เพิ่งรับรู้มาเมื่อไม่นาน เช่น จำสิ่งที่เพิ่งบอกไปเมื่อครู่หรือเมื่อเร็ว ๆ นี้ไม่ได้ ส่วนความจำระยะยาวคือเรื่องราวที่สมองบันทึกไว้นานมาแล้ว หากขาดน้ำจะทำให้นึกย้อนไปหาข้อมูลเก่า ๆ ได้ช้าลง 3.เรียนรู้ช้า เมื่อขาดสมาธิและความจำไม่ดี จึงส่งผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก ทั้งการเรียนรู้โลกรอบตัวและการเรียนหนังสือ เนื่องจากการเรียนรู้และการคิดต้องอาศัยข้อมูลเก่ากับข้อมูลใหม่ร่วมกันเพื่อประมวลผล ลูกต้องจำคำศัพท์ได้ก่อนถึงจะเรียบเรียงประโยคได้ ลูกต้องจดจำตัวเลขและจำวิธีบวกลบคูณหารได้ก่อนจึงจะตอบโจทย์คำนวณได้ 4.ขาดพลัง สมองมีน้ำเป็นส่วนประกอบ 85% ถ้าสมองขาดน้ำจะรู้สึก ว่าสมองตื้อคิดอะไรไม่ออกและขาดพลังความคิด การได้ดื่มน้ำอย่างพอเพียงจะทำให้การส่งผ่านข้อมูลระหว่างเซลล์สมองรวดเร็วขึ้น 5.อารมณ์ไม่สดชื่น การดื่มน้ำไม่เพียงพอจะส่งผลต่ออารมณ์ทำให้รู้สึกไม่สดชื่น…

Read more

บัตรคำ Flash Card เกมฝึกสมองที่ต้องมี

เกมฝึกสมองสุดฮิตตลอดกาลที่ทุกบ้านมักหามาให้เด็ก ๆ ได้เล่นกันก็คือบัตรคำหรือ Flash Card นั่นเอง เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่ทุกท่านน่าจะคุ้นเคยกับบัตรคำกันมาพอสมควรค่ะเหตุผลอันดับต้น ๆ ของคุณพ่อคุณแม่ที่เลือกสรรหาบัตรคำมาให้ลูกเล่น เพราะต้องการให้ฝึกฝนด้านความจำไปพร้อม ๆ กับการเรียนรู้ลูกเรียนรู้คำศัพท์ใหม่ บัตรคำอาจจะมีภาษาเดียวหรือหลายภาษาและสำหรับเด็กเล็กแล้วต้องมีรูปเพื่อให้เด็กเชื่อมโยงคำกับภาพจึงจะเกิดความเข้าใจในศัพท์คำนั้นง่ายยิ่งขึ้น มาดูประโยชน์ของบัตรคำต่อการเรียนรู้และพัฒนาการของลูกน้อยกันค่ะ ฝึกความจำ เรียนรู้คำศัพท์ใหม่ ๆ ทำความคุ้นเคยกับคำศัพท์ในภาษาไทย หากบัตรคำมีหลายภาษาก็จะเรียนรู้ภาษาอื่น ๆ ไปด้วยในตัว เรียนรู้เกี่ยวกับเลขจากบัตรคำตัวเลข ช่วยให้เรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย เนื่องจากบัตรคำมีหลายหมวดหมู่นอกจากตัวอักษรหรือเลขแล้วยังมี หมวดเกี่ยวกับ สัตว์ต่าง ๆ ยานพาหนะ อาชีพ พืช สิ่งของ ฯลฯ พกพาไปเล่นที่ไหนก็ได้สะดวกทุกที่เพราะมีขนาดเล็กและเบา ช่วยให้มีกิจกรรมเพลิดเพลินทำระหว่างเดินทาง ลูกไม่เบื่อหากต้องรอคอยนาน ๆ ถ้าจะให้การเล่นบัตรคำหรือ Flash Card ของลูกได้ประโยชน์อย่างเต็มที่ อย่าทำให้เป็นเรื่องวิชาการอันแสนจะเคร่งเครียดค่ะ ชวนลูกในบรรยากาศผ่อนคลายสบาย ๆ ให้ลูกรู้สึกว่าเป็นเกมหนึ่งที่ลูกสามารถใช้เวลาอย่างมีความสุขสนุกสนานร่วมกับคุณพ่อคุณแม่ การเรียนรู้ของเด็กก็จะเกิดขึ้นได้ไม่ยากค่ะ ทราบข้อดีทั้ง 5 ข้อนี้แล้วคุณพ่อคุณแม่อย่าลืมหาบัตรคำมาให้ลูกเล่นนะคะ

Read more

6 วิธีแก้ปัญหาลูกไม่กินผัก

ลูกไม่กินผักเป็นปัญหาคลาสสิคทุกบ้าน เวลาลูกไม่กินผักคุณแม่มักจะกังวล กลัวลูกขาดสารอาหารอย่างวิตามินและเกลือแร่ต่าง ๆ ที่มักจะมีอยู่ในผักและผลไม้ การบังคับ ติดสินบน หลอกล่อ หรือพูดซ้ำซาก ปัญหาที่ตามมาคือลูกต่อต้าน แล้วเราจะทำยังไงดี มีข้อแนะนำมาฝาก 6 ข้อค่ะ 1.อย่าทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ อย่าให้ลูกรู้สึกว่าการไม่กินผักของเขาเป็นเรื่องซีเรียส การบังคับขู่เข็ญหรือการพยายามเชียร์ลูกมากเกินไป บ่อยไป อาจจะทำให้ลูกแอนตี้ผักไปเลย เพราะผักมาทีไรบรรยากาศเครียด 2.ฝึกตั้งแต่เล็ก ตั้งแต่ลูกยังไม่ถึงวัยปฏิเสธ พออายุลูกเลย 6 เดือนไปแล้ว เป็นเวลาที่คุณแม่จะเริ่มให้ลูกทำความรู้จักกับอาหารอย่างอื่นนอกเหนือจากการให้นมเพียงอย่างเดียว ระหว่างช่วง 6 เดือนถึง 1 ปีแรก ค่อย ๆ ให้เขาเริ่มทำความรู้จักกับผักทีละชนิดเลือกที่รับประทานง่าย พอคุ้นเคยแล้วค่อยให้เขาได้รับประทานผักหลากหลายชนิด 3.สร้างบรรยากาศการกินผัก บนโต๊ะอาหารต้องมีผักที่ผู้ใหญ่และเด็กรับประทานง่ายด้วย ให้ลูกนั่งโต๊ะอาหารพร้อมคุณพ่อคุณแม่ตั้งแต่เล็ก จัดเมนูผักต่าง ๆ สับเปลี่ยนหมุนเวียนให้เขาเห็นและทำความรู้จัก พอเขาโตหน่อยอาจให้เขาลองบ้างไม่บังคับ 4.เป็นตัวอย่างของคนรักผัก คุณพ่อคุณแม่ต้องกินผักด้วย ระหว่างมื้ออาหารคุณพ่อคุณแม่อาจพูดคุยกันเองถึงความอร่อยของผักเป็นการเชิญชวนเขาอย่างหนึ่งโดยไม่ต้องบังคับลูก 5.เมนูมัดใจ ทำอาหารหน้าตาน่ารักน่ารับประทาน ปรับเปลี่ยนเมนูหลาย ๆ…

Read more

5 เคล็ดลับเลี้ยงลูกให้รักผัก

คุณแม่คงเคยเห็นเด็กบางคนเพลิดเพลินกับการกินผักโดยไม่ต้องให้ผู้ใหญ่คอยกำกับเลยแม้แต่น้อย เห็นแล้วปลื้ม แต่พอย้อนกลับมามองลูกเราเอง คุณแม่หลายคนรู้สึกว่าการจะทำให้ลูกกินผักนั้นเป็นโจทย์ยากและโจทย์ใหญ่ในใจของคุณแม่มาตลอด อย่าเพิ่งท้อใจไปค่ะ ลองหลาย ๆ วิธีค่อย ๆ ทำทีละน้อยก็จะช่วยให้ลูกกินผักได้ มีเคล็ดลับดี ๆ มาฝากค่ะ 1.คุณพ่อคุณแม่ต้องเป็นต้นแบบที่ดีภายในบ้าน ให้ลูกนั่งร่วมโต๊ะอาหารกับคุณพ่อคุณแม่ตั้งแต่เด็กๆให้เขาเห็นว่าคุณพ่อคุณแม่เองก็กินผักเป็นเรื่องปกติและเอร็ดอร่อยไปกับผักต่าง ๆ 2.เมื่อลูกถึงวัยเริ่มต้นกินอาหารเสริม ไม่มีกลิ่นฉุนรถไม่ขมก่อน เพื่อสร้างความประทับใจในรสชาติของผัก ผักที่รับประทานง่ายอย่าง เช่น แคร์รอต ฟักทอง ตำลึง ผักกาดขาว ฯลฯ 3.ตกแต่งเมนูผักให้น่ารับประทาน ใช้สีเขียว แดง ส้ม เหลือง หรือม่วง ในอาหารเพื่อดึงดูดความสนใจของลูก เพราะเด็ก ๆ ชอบสีสันสดใสค่ะ 4.เด็ก ๆ มักจะชอบกินอาหารที่มีรสสัมผัสกรอบ คุณแม่ลองคิดค้นเมนูผักกรอบ อาจจะชุบแป้งทอด อบกรอบ หรือหั่นผักและผลไม้สดที่มีความกรอบแช่เย็นไว้ให้ลูกรับประทาน 5.ชวนลูกปลูกผักในกระถางน่ารัก ๆ เลือกผักที่โตง่าย จะเพาะเมล็ดหรือซื้อมาทั้งกระถางเลยก็ได้ ให้เขามีส่วนร่วมดูแล รดน้ำต้นไม้ และตัดมารับประทาน สู้ ๆ…

Read more

กรุบกรอบกินอย่างไรให้ได้ประโยชน์ ?

ในสายตาของแม่ ๆ และหลายคน ขนมกรุบกรอบมักจะเป็นผู้ร้ายทำลายสุขภาพลูก ความจริงแล้วขนมกรุบกรอบไม่ได้เป็นผู้ร้ายไปเสียทั้งหมด ขึ้นอยู่กับการเลือกด้วยค่ะและทุกวันนี้ก็มีขนมที่ดีกับเด็กให้เลือกอยู่มิใช่น้อย เพียงแค่คุณแม่มองหาเท่านั้นเองค่ะ ทำไมถึงแนะนำขนมกรุบกรอบ นั่นก็เพราะเมื่อเด็ก ๆ หรือแม้แต่ผู้ใหญ่ก็ตามถ้าได้กินอะไรกรอบ ๆ บ้างก็จะรู้สึกมีความสุข และความสุขนั้นก็ต้องมาพร้อมกับสุขภาพที่ดีด้วยค่ะ กรุบกรอบแบบนี้ควรเลี่ยง ไขมันสูง รสหวานจัดมีน้ำเป็นส่วนผสมมาก รสเค็มจัด มีแต่แป้งล้วน ๆ ใส่ผงชูรส ปรุงแต่งสารเคมี ไม่ว่าจะเป็นสีกลิ่นรสชาติสารกันบูด กรุบกรอบแบบนี้ OK ไขมันและน้ำตาลน้อย ใช้ผักหรือผลไม้แท้ ๆ หรือมีส่วนผสมของผักและผลไม้ไม่ใช่แป้งไม่ใช่แป้งผัดขาวล้วน ๆ ทำให้กรอบด้วยการอบแห้งหรือทอดกรอบด้วยน้ำมันน้อยหรือกำจัดน้ำมันออกไปแล้ว ธัญพืชต่าง ๆ เช่นถั่ว ลูกนัทต่าง ๆ เมล็ดทานตะวัน เมล็ดฟักทอง ฯลฯ ไม่ปรุงแต่งสีกลิ่นรส หรือสารเคมีต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม หากคุณแม่ให้ลูกกินขนมกรุบกรอบแล้วต้องควบคุมปริมาณการกินให้เหมาะสม และอย่าให้ใกล้มื้ออาหารเพราะลูกจะอิ่มไม่ยอมหม่ำข้าวค่ะ

Read more