Warning: Undefined array key "action" in /var/www/wp-content/themes/kicker-child/functions.php on line 2
คุณแม่ช่วงตั้งครรภ์ | motherandcare - Part 5
Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

คุณแม่ช่วงตั้งครรภ์

ทำยังไงดี เส้นเลือดขอดแผลงฤทธิ์ยามท้อง ?

สาเหตุของเส้นเลือดขอดในแม่ท้องเกิดจากผนังของหลอดเลือดดำใต้ชั้นผิวหนังโป่งพอง เพราะเลือดส่วนปลายขาที่ไม่สามารถไหลเวียนกลับเข้าสู่การสูบฉีดของหัวใจได้เร็วตามปกติคั่งค้างอยู่ในหลอดเลือด ปกติหลอดเลือดดำจะมีลิ้นปิดเปิด เพื่อกักเลือดไม่ให้ไหลย้อนลงข้างล่างตามแรงโน้มถ่วง เมื่อลิ้นนี้อ่อนแอเลือดจะย้อนมารวมกันที่เส้นเลือดด้านล่าง ทำให้เกิดอาการบวม และอาจมีอาการปวดเท้า เท้าบวม มักปวดมากขึ้นเมื่อยืนหรือนั่งนาน ๆ อาจเป็นตะคริวในตอนกลางคืน ถ้าเป็นมากอาจมีการอักเสบและเส้นเลือดแตกป้องกันได้ 1.ระหว่างนั่งเก้าอี้ ยกขาซ้ายให้ขนานกับพื้นแล้วกระดกข้อเท้าขึ้นลงติดต่อกัน 20 ครั้งเสร็จแล้วยกขาขวาบริหารบ้าง หรือบริหารด้วยการยืนเขย่งปลายเท้าขึ้นลง 2.งอและเหยียดกล้ามเนื้อส่วนขาดยนอนหงายงอเข่าจรดอก หรือใช้ท่านอนตะแคงงอเข่าดึงส้นเท้าชิดสะโพก หรือนั่งเหยียดขาตรงกระดกข้อเท้าขึ้นและก้มตัวแตะปลายเท้า เป็นต้น 3.หลีกเลี่ยงการยืนหรือเดินนาน ๆ นั่งยกขาสูงและพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ควรรับประทานอาหารเค็มจัด 4.เมื่อไปฝากครรภ์ควรให้คุณหมอตรวจดูทุกครั้งว่ามีอาการบวมที่ขาและเท้าหรือไม่

Read more

4 วิธีลดอาการปวดขาจากเส้นเลือดขอด

เมื่อแม่ท้องมีปัญหาเส้นเลือดขอด อาจมีอาการปวดขาเกิดขึ้นได้ มีข้อแนะนำในการลดอาการปวดขามาฝากแม่ ๆ ค่ะ  1.ประคบร้อน เพื่อให้หลอดเลือดขยายตัว ร่วมกับยกขาขึ้นสูง เพื่อช่วยให้เลือดเทกลับลงสู่ระบบหลอดเลือดดำใหญ่ที่ต้นขาได้ง่ายขึ้น  2.บีบนวดกล้ามเนื้อน่องเพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว จากการใช้งานมาตลอดวัน 3.ใช้ผ้ายืดที่ลักษณะเหมือนถุงเท้ารัดที่ขาท่อนล่าง เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นมากขึ้น แต่อย่ารัดให้แน่นจนเกินไป ควรเป็นผ้ายืดจากผ้าฝ้าย เพราะใยสังเคราะห์จะทำให้อับชื้นได้ และหลีกเลี่ยงการสวมผ้ายืดรัดขาที่สูงเกินเข่าเพราะขัดขวางการไหลเวียนของเส้นเลือดดำ ทำให้อาการมากขึ้น  4.คุณแม่ที่ต้องทำงานยืนหรือเดินตลอดวัน อาจมีอาการปวดเมื่อยที่ขาได้ง่าย ยิ่งถ้ามีอาการบวมหรือเส้นเลือดขอดด้วยแล้ว จะทำให้มีอาการมากขึ้น การใส่ถุงน่องจะช่วยพยุงขาและทำให้คุณแม่รู้สึกดีขึ้นได้ค่ะ

Read more

ปวดหลัง ! อาการสุดฮิตของแม่ท้อง

แม่ท้องบ่นกันเป็นประจำว่าปวดหลัง อาการปวดหลังยามตั้งครรภ์เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุค่ะ ตั้งแต่น้ำหนักเพิ่มมากขึ้น ท้องใหญ่ขึ้นหลังแบกรับน้ำหนักเพิ่ม ฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลงเส้นเอ็นและข้อต่อหลวมเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคลอด ความเครียด ฯลฯ แต่ปัญหานี้แก้ไขได้ค่ะ  1.นวดหลัง ให้คุณพ่อช่วยนวดหลังคุณแม่จะได้ผ่อนคลายสบายกล้ามเนื้อ หรือใช้ไม้นวดยาว ๆ ที่มีลูกกลม ๆ ติดอยู่ตรงปลายสองลูก หาซื้อได้ง่าย ใช้ถูหลังลดอาการปวดหลังได้ค่ะ 2.บริหารร่างกาย ท่าที่ 1 ยืนก้มตัวโค้งไปข้างหน้า มือไขว้หลังจับประสานกันไว้ ก้มตัวช้า ๆ ค่อยๆ ยกแขนที่มือประสานกันเหยียดไปด้านหลังให้ตึงสุดสุด ท่าที่ 2 บิดเอว โดยนอนราบ ชันเข่าขึ้นฝ่าเท้าวาราบ แล้วเอนเข่าทั้งสองข้างไปทางซ้ายช้า ๆ พร้อมกับหันศีรษะไปทางขวา เกร็งไว้ แล้วทำสลับข้าง 3.ใช้ท่วงท่าให้ถูกต้อง  อย่าก้มหลังบ่อย ไม่ว่าจะเก็บกวาดบ้าน ถูบ้าน เก็บของบนพื้น อย่าโน้มตัวลง ควรนั่งก่อนแล้วค่อยเก็บของ ไม่ยกของหนัก เวลายกนั่งใกล้ของที่จะยก แล้วออกแรงยกของโดยใช้กำลังที่ขา เหยียดยืนขึ้น 4.งดรองเท้าส้นสูง เปลี่ยนมาใส่รองเท้าแบนไม่มีส้น เลือกพื้นรองเท้านุ่มหนาพอจะแบกรับน้ำหนักท้องที่เพิ่มขึ้นได้ด้วย เท่านี้ก็ช่วยให้อาการปวดหลังก็ลดลงได้แล้วค่ะ 

Read more

3 อาการเตือนจะคลอดแล้วนะ

คุณแม่อาจกังวลใจว่าจะคลอดเมื่อไหร่ ลองสังเกต 3 อาการนี้ค่ะ 1.มีมูกเลือดออกมาทางช่องคลอด ลักษณะแบบมูกเหนียว ๆ ข้น ๆมีเลือดปนอยู่ 2.น้ำคร่ำเดิน น้ำคร่ำที่ว่านี้อยู่ในถุงน้ำคร่ำพยุงตัวทารกอยู่ มีลักษณะเป็นน้ำใส ๆ คล้ายปัสสาวะ แต่ไม่มีกลิ่น และสีอาจจะขุ่นเล็กน้อย อาจไหลออกมาน้อยหรือมากก็ได้ต่างกันไปในแต่ละคนค่ะ 3.เจ็บท้องจริง อาการเจ็บจะรุนแรงขึ้น เจ็บสม่ำเสมอต่อเนื่อง เจ็บนานและถี่ขึ้น ไม่หายไปอย่างที่เคยเจ็บหลอกคราวก่อน ๆ ลักษณะเจ็บจะเริ่มตรงส่วนบนมดลูกแล้วเจ็บร้าวลงไปข้างล่าง ถ้าเจ็บทุก ๆ 10 นาทีก็แสดงว่าจวนคลอดแล้ว ถ้ามีอาการเตือนอย่างใดอย่างหนึ่งควรรีบไปโรงพยาบาลได้ทันทีค่ะ ไม่ต้องให้อาการครบทั้ง 3 ข้อ สัญญาณเหล่านี้บอกชัดว่าจวนจะคลอดแล้วอย่าลืมโทรแจ้งโรงพยาบาลที่ฝากครรภ์ค่ะ ทำใจให้ผ่อนคลาย หลังจากเริ่มมีอาการเตือนโดยทั่วไปโดยเฉพาะท้องแรกมักจะเจ็บท้องนาน 8-12 ชั่วโมงก่อนคลอด แต่อย่างไรก็ตามต้องรีบไปโรงพยาบาลค่ะ เพราะถ้าหากเกิดปัญหาหรือพบความผิดปกติคุณหมอและคุณพยาบาลจะให้ความช่วยเหลือได้ทันท่วงที

Read more

10 สัญญาณอันตรายแม่ท้อง

หากมีสัญญาณเตือนต่อไปนี้คุณแม่อย่านิ่งนอนใจ รีบไปพบคุณหมอนะคะ 1.เลือดออกทางช่องคลอด เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ตั้งครรภ์นอกมดลูก รกเกาะต่ำ รกลอกตัวก่อนกำหนด ฯลฯ 2.คลื่นไส้อาเจียนมากผิดปกติ โดยทั่วไปแล้วคุณแม่มักจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียนแพ้ท้องตอนเช้า ๆ ในช่วง 3 เดือนแรก แต่ถ้ารู้สึกว่ามีอาการมากเกินไปควรปรึกษาคุณหมอค่ะ 3.มีไข้ อาการไข้ในแม่ท้องไม่ใช่เรื่องธรรมดา เพราะคุณแม่อาจติดเชื้อ ถ้าไข้สูงเกิน 37.5 องศาเซลเซียสขึ้นไป กินยาแก้ไข้แล้วยังไม่หายภายในวันสองวัน ควรจะพบคุณหมอค่ะ 4.ปวดขาถึงน่อง ตะคริวที่ขาเป็นอาการปกติ แต่ถ้าอาการปวดนั้นรุนแรง พยายามยืดเท้าหรือเดินแล้วยังไม่หาย อาจเกิดจากหลอดเลือดอุดตันบริเวณขา 5.ของเหลวไหลออกจากช่องคลอด อาจจะเป็นน้ำ เป็นเมือก ตกขาวผิดปกติหรือมากเกินไป มีกลิ่นเหม็น 6.น้ําคร่ำแตก น้ำคร่ำจะเป็นน้ำใส ๆ ไม่เหนียว คล้ายปัสสาวะ ถ้ารั่วจะแค่เปียกกางเกงใน แต่ถ้าแตกปริมาณน้ำจะมากจนเปียกชุ่มหรือไหลไปตามขา แม้ยังไม่ครบกำหนดคลอดก็รีบไปโรงพยาบาลค่ะ 7.มีอาการท้องแข็งในช่วงเดือนแรก ๆ และเกิดขึ้นถี่ ตามปกติแล้วอาการท้องแข็งมักจะเกิดในช่วงไตรมาสสุดท้าย 8.แสบเวลาปัสสาวะ เกิดจากการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ อย่าละเลยต้องไปพบคุณหมอค่ะ 9.เจ็บท้องกะทันหัน โดยเฉพาะอาการเจ็บท้องที่มีเลือดออกทางช่องคลอดด้วย รีบไปหาหมอโดยด่วนที่สุด…

Read more

แม่ท้องทราบวิธีคาดเข็มขัดนิรภัยกันหรือยังคะ ?

แม่ท้องต้องปรับเปลี่ยนวิธีคาดเข็มขัดนิรภัยสักนิดค่ะ วิธีคาดเข็มขัดนิรภัยสำหรับคนท้อง จะต้องพาดผ่านระหว่างอกพอดีและพาดเลยต่อไปที่ด้านข้างของลำตัว ห้ามพาดผ่านส่วนท้อง ส่วนล่างจะต้องพาดผ่านบริเวณส่วนบนของขา ไม่เลยขึ้นไปพาดที่ท้องเด็ดขาด โดยจะต้องพาดยาวจากสะโพกข้างหนึ่งไปยังสะโพกอีกข้าง คาดเข็มขัดนิรภัยถูกวิธีปลอดภัยทั้งคุณแม่และคุณลูกค่ะ

Read more

ตั้งครรภ์ 35 upต้องระวังเรื่องไหนบ้าง ?

ข้อดีหลายอย่างของการมีลูกช้าก็คือคุณแม่พร้อมทั้งการเงินและการงาจัดการปัญหาได้ดีกว่าตอนอายุยังน้อย แต่ข้อด้อยก็คือโอกาสตั้งครรภ์ลดลงและมีความเสี่ยงมากขึ้น ซึ่งความเสี่ยงจะเพิ่มขึ้นไปตามอายุ จึงต้องดูแลตัวเองและพบคุณหมอตามนัดเพื่อเลี่ยงการเกิดปัญหาค่ะโอกาสเกิดภาวะต่าง ๆ สำหรับคุณแม่ 35 ปีมีดังนี้ 1.โรคเบาหวานและภาวะความดันโลหิตสูง คุณแม่ที่น้ำหนักขึ้นมากเกินเกณฑ์มาตรฐานควรระวังเป็นพิเศษ 2.ครรภ์เป็นพิษ เป็นภาวะอันตรายค่ะ คุณแม่ที่เป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีโอกาสเสี่ยงมาก 3.รกเกาะต่ำ อาจทำให้เสียเลือดมากขณะคลอด อาจต้องผ่าคลอดแทนการคลอดเอง 4.แท้ง ช่วง 3 เดือนแรกมีโอกาสเสี่ยงสูงกว่าแม่ที่อายุน้อยกว่า 35 ปี และจะเสี่ยงแท้งมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น 5.ความผิดปกติของทารก ดาวน์ ซินโดรมเป็นภาวะเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้นตามอายุของแม่ 6.คลอดก่อนกำหนด 7.ทารกมีน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อยกว่าปกติ 8.ทารกเสียชีวิตขณะอยู่ในครรภ์ แม้จะมีโอกาสเสี่ยงหลายข้อ แต่คุณแม่อย่ากังวลใจจนเกินไป การอยู่ในความดูแลของคุณหมออย่างใกล้ชิด ตรวจครรภ์สม่ำเสมอตามนัด ใส่ใจสุขภาพตัวเอง ทำจิตใจให้แจ่มใส ก็สามารถมีสมาชิกใหม่ตัวน้อย ๆ แข็งแรงสมบูรณ์ทั้งแม่และลูกค่ะ

Read more

แม่ท้องเป็นไข้ลูกจะปลอดภัยมั้ย ?

คุณแม่สบายใจได้ค่ะ อาการเป็นไข้หวัดขณะตั้งครรภ์ไม่ได้เป็นอันตรายต่อทารก แต่การใช้ยาแก้หวัดอาจส่งผลกระทบต่อลูกน้อยในครรภ์ของคุณแม่ค่ะยาบางชนิดที่คุณแม่ใช้เป็นประจำในยามปกติอาจไม่เป็นอันตรายต่อตัวคุณแม่ แต่เมื่อตั้งครรภ์แล้วควรระวังการใช้ การกินยาบางประเภทมีผลต่อลูกในท้อง ยาอะไรบ้างที่แม่ท้องควรเลี่ยง กลุ่มยาแก้แพ้แก้คัน เช่น คลอเฟนิรามีน ยาลดไข้ที่เป็นยาลดการอักเสบ เช่น แอสไพริน ไอบูโปรเฟน ยาปฏิชีวนะและยาแก้อักเสบบางตัว ยาแก้ไอผสมไอโอดีน ยาแก้แพ้ท้อง ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร (Antaacids) ยารักษาโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มะเร็ง ยาแก้ไอที่ผสมไอโอดีน ยาทารักษาสิวกลุ่มกรดวิตามินเอ ยาพ่นจมูก หรือการกินวิตามินเอ บี ซี ดี เค รวมทั้งอาหารเสริมต่าง ๆ ควรปรึกษาคุณหมอก่อนใช้ยาเสมอค่ะ ดูแลตัวเองเมื่อเป็นหวัด ถ้าเป็นหวัดธรรมดาคุณแม่สามารถดูแลตัวเองได้หลายวิธีร่วมด้วยช่วยกันค่ะ - พักผ่อนอย่างพอเพียง หาเวลานอนหลับให้เต็มอิ่ม - รับประทานผักผลไม้ที่มีวิตามินซีมาก เช่น ฝรั่ง มะขามป้อม ส้ม กีวี มะละกอ สตรอเบอรี่ ฯลฯ - ดึ่มน้ำเพิ่มขึ้น ค่อย ๆ…

Read more

Review เครื่องปั๊มนม Nanny

ถ้าให้พูดถึงเรื่อง นมแม่ แม่ๆนึกถึงอะไรกันบ้างคะ สำหรับนุ้ย คงคิดถึงปากน้อยๆที่คอยงับหัวนม อีกมือก็เกาะแกะอยู่กับเต้าเรา มันเป็นความสุขของแม่จริงๆ แต่ทว่า สาย Working Mom อย่างนุ้ย คงหาโอกาสยากมากที่ลูกจะเข้าเต้าตลอดเวลา ดังนั้นด้วยเส้นทางนมแม่ฉบับ Working Mom ก็ต้องมองหาผู้ช่วยคนเก่งที่จะคอยทำหน้าที่แทนปากน้อยของลูกมางับนม มาดูดนม ในยามที่เราต้องทำงาน.. และผลลัพธ์คือ เราจะมีน้ำนมกลับบ้านไปฝากลูกน้อยกลอยใจทุกวัน 1.3 ปีเต็มแล้วค่ะ สำหรับนุ้ยที่มีเพื่อนคู่ใจ คู่กาย อวัยวะที่ 33 นั่นก็คือ #เครื่องปั๊มนม นี่เอง จนนุ้ยกลายร่างเป็นคุณแม่นักปั๊มไปแล้ว แถมว่า ปั๊มล้วนด้วยนี่สิ ฉะนั้น เครื่องปั๊มนม จึงต้องเลือกแบบพิถีพิถันกันหน่อย หลังจากที่เราบ่นกับคุณพ่อที่บ้านว่า ม๊าไม่ไหวแล้วอ่ะ ปั๊มนมจนเจ็บเต้าเจ็บหัวนมไปหมด นุ้ยบ่นทุกวันเลยค่ะ บ่นจนบางครั้งเราคิดจะแขวนเครื่องปั๊ม และสิ้นสุดเส้นทางนมแม่แล้ว ถ้าต้องเป็นแบบนั้นจริง #ใจหายแน่ๆค่ะ แต่ๆๆๆๆๆ!!! วันนี้นุ้ยได้เจอกับเพื่อนคู่ใจคนใหม่ คือ เครื่องปั๊มนมของ Nanny ค่ะ ใช่ค่ะ!! Nanny มีเครื่องปั๊มนมแล้ว!! หลังจากเหล่าแม่ๆรวมถึงนุ้ยด้วยที่จะคุ้นชินกับ อ่างอาบน้ำเอย ถุงเก็บน้ำนมเอย กล่อง/บรรจุภัณฑ์สำหรับเก็บอาหารเจ้าตัวเล็กเอย…

Read more