คุณแม่ช่วงตั้งครรภ์
- 0
- Category:
- Tags: No Tag
คุณแม่มือใหม่หลายคนที่มีความจำเป็นต้องเดินทางไกลบ่อยๆ อาจมีความกังวลว่า คนท้องสามารถขึ้นเครื่องบินได้หรือไม่? แล้วจะปลอดภัยหรือเปล่า?
Read more- 0
- Category:
- Tags: No Tag
สาวๆ ทุกคนไม่ว่าจะอยู่ช่วงวัยใดหรือสถานภาพอะไร มักรักสวยรักงามและชอบดูแลตัวเองให้ดูดีอยู่เสมอ หลายคนเมื่อรู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์ อาจเกิดความกังวลใจ จะทำนั่นดีไหม ทำนี่ดีหรือเปล่า และคำถามที่ว่า “ฉันแต่งหน้าได้ไหม หรือเปลี่ยนสีผมได้หรือเปล่า” ก็เป็นคำถามที่บรรดาว่าที่คุณแม่มักสงสัยอยู่เสมอๆ ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ระหว่างตั้งครรภ์ ระบบต่างๆ ในร่างกายจะมีการปรับสภาพเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลง ซึ่งหลักๆ ก็คือเรื่องของฮอร์โมน ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบเมตาบอลิซึม และระบบภูมิคุ้มกัน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านผิวหนังที่เห็นได้ชัดเจนจากภายนอก เช่น หน้าท้องลาย ผิวนูนขึ้นมาคล้ายใยแมงมุม บริเวณแขน ขา และใบหน้า มีสิวฝ้าเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงสามเดือนสุดท้ายสิวอาจขึ้นเยอะเป็นพิเศษ ซึ่งอาการเหล่านี้จะบรรเทาลงและหายเองได้หลังคลอด ...
Read more- 0
- Category:
- Tags: No Tag
คุณแม่คงเคยได้รับคำแนะนำมาบ้างว่าให้ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อเพิ่มน้ำนมแม่ แล้วจะต้องดื่มมากแค่ไหนคุณแม่อาจสงสัยใช่มั้ยคะ ตรงนี้มีคำตอบค่ะ 1.ปริมาณน้ำไม่จำเป็นต้องเกินกว่าปกติมากเกินไป การดื่มน้ำเกินความต้องการของร่างกายไปมากจะเป็นผลเสียต่อสุขภาพมากกว่า 2.ดูว่าดื่มน้ำพอเพียงต่อการให้นมลูกได้โดยดูจากปัสสาวะคุณแม่ค่ะ ถ้าเป็นสีเหลืองเข้มขึ้นแสดงว่าร่างกายได้รับน้ำไม่พอเพียงต้องการน้ำเพิ่ม 3.วิธีดื่มน้ำที่เหมาะสมในแต่ละวันไม่ใช่การดื่มคราวละเป็นลิตรๆ แต่ควรดื่มทีละน้อยเป็นระยะเพื่อให้น้ำหล่อเลี้ยงร่างกายตลอดวัน 4.สังเกตตัวเองว่าถ้ารู้สึกกระหายน้ำบ่อยแสดงว่าร่างกายต้องการน้ำเพิ่ม 5.ระวังน้ำพวกผลไม้หรือน้ำหวานสักนิดเพราะจะทำให้คุณแม่น้ำหนักเพิ่ม น้ำเปล่าดีที่สุด 6.น้ำขิง น้ำหัวปลี แกงจืดตำลึง แกงจืดใบกะเพรา แกงเลียงจะช่วยเพิ่มน้ำนมแม่ การกระตุ้นโดยการให้ลูกดูดนมสม่ำเสมอและได้รับสารอาหารครบถ้วนเป็นปัจจัยสำคัญกว่ามุ่งไปที่การดื่มน้ำเพียงอย่างเดียว การดื่มน้ำหลาย ๆ ลิตรไม่ได้ช่วยเพิ่มน้ำนมแม่ แค่ดื่มให้พอเพียงในแต่ละวันก็พอค่ะ
Read more- 0
- Category:
- Tags: No Tag
วันคลอดเป็นวันที่คุณพ่อคุณแม่อาจตื่นเต้นจนอาจลืมบางอย่างหรือทำอะไรไม่ถูก ฉะนั้นการเตรียมตัวล่วงหน้าให้พร้อมไว้เสมอจะช่วยให้ไม่ฉุกละหุกในวันไปคลอดค่ะ สิ่งที่ต้องเตรียมมีดังนี้ 1.จัดกระเป๋าเสื้อผ้าและของใช้จำเป็นแม่และลูกเตรียมไว้ล่วงหน้า 2.ช่วงใกล้คลอดเช็คสภาพรถเติมน้ำมันให้เรียบร้อย 3.เตรียมเบอร์โทรโรงพยาบาล เบอร์โทรฉุกเฉินเผื่อต้องการความช่วยเหลือ หรือเรียกรถพยาบาล เบอร์แท็กซี่หรือแอพ 4.ติดต่อบอกญาติหรือเพื่อนที่อยู่ใกล้ไว้ล่วงหน้า เผื่อติดขัดขอความช่วยเหลือหรือให้ช่วยพาไปโรงพยาบาล 5.พยายามเลือกโรงพยาบาลใกล้บ้าน นึกถึงกรณีเจ็บท้องคลอดในช่วงเวลารถติดไว้ด้วยค่ะ 6.เมื่อมีอาการเตือนว่าจะคลอดแล้ว มีมูกเลือด น้ำคร่ำเดิน เจ็บท้องมากขึ้นและถี่ขึ้น คุณแม่อาจงดน้ำและอาหารเผื่อจำเป็นต้องผ่าคลอดจะได้สะดวกค่ะ 7.เตรียมใจ ฝึกผ่อนคลายและฝึกการหายใจเข้าออกช้า ๆ จะช่วยลดความกังวลในวันคลอดได้ดีค่ะ คุณพ่อก็ฝึกด้วยได้นะคะ การเตรียมพร้อมคุณแม่จะรับมือกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างมีสติและไม่เครียดมากเกินไป เพราะวันนี้จะเป็นวันสำคัญที่คุณแม่รอคอยต้อนรับสมาชิกคนใหม่ในครอบครัวค่ะ
Read more- 0
- Category:
- Tags: No Tag
ในช่วงเดือนสุดท้ายใกล้คลอดคุณแม่เฝ้าระวังและระแวงอยู่ใช่มั้ยคะว่าอาการเจ็บท้องที่เกิดขึ้นเจ็บจริงหรือเจ็บหลอก ก็จะไม่ต้องไปโรงพยาบาลเก้อ หรือเจ็บจริงขึ้นมาก็จะไปโรงพยาบาลทันท่วงที มาสังเกตอาการกันค่ะจะได้แยกออกว่าอาการเจ็บท้องจริงกับเจ็บหลอกต่างกันยังไงบ้าง เจ็บท้องหลอกหรือเจ็บท้องเตือน 1.ระยะเวลาเจ็บไม่แน่นอน ถี่บ้างห่างบ้าง เจ็บมากบ้างหรือน้อยบ้าง หรือเจ็บติด ๆ กันหลายครั้งแล้วหยุดไป 2.เคลื่อนไหวตัวหรือลุกขึ้นมาเดินก็จะดีขึ้น 3.ไม่มีมูกปนเลือด หรือไม่มีเลือดออกมาจากช่องคลอด 4.เจ็บอยู่ตรงบริเวณท้อง เจ็บท้องคลอดของจริง 1.เจ็บท้องมากขึ้นเรื่อย ๆ เจ็บสม่ำเสมอ เจ็บถี่ขึ้น 2.ท้องแข็งตึง 3.เคลื่อนไหวตัวหรือเดินจะเจ็บมากขึ้น และเจ็บทุก ๆ 10 นาที 4.มีมูกหรือมูกปนเลือดออกมาทางช่องคลอดออกมา ถ้ามีอาการ 4 ข้อหลังข้อใดข้อหนึ่งก็ตาม...
Read more- 0
- Category:
- Tags: 3อาการเตือนจะคลอดแล้วนะดื่มน้ำแค่ไหนอย่างไรเพิ่มน้ำนมแม่เจ็บหลอกหรือเจ็บท้องคลอดกันแน่
คุณแม่มีคำถามอยู่ในใจใช่มั้ยคะว่าจะคลอดเองหรือจะผ่าคลอดดี มีเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการคลอดมาฝากค่ะ 1.ความปลอดภัย - ถ้าคุณหมอบอกว่าร่างกายคุณแม่ปกติดีไม่มีปัญหา การเลือกคลอดเองจะปลอดภัยกว่าทั้งกับแม่และลูกมากกว่า 2.ฟื้นตัวเร็วกว่า – การคลอดเองฟื้นตัวเร็วกว่าผ่าตัดคลอด 1-2 วันก็เริ่มลุกเดินได้แล้ว มดลูกไม่มีแผลผ่าตัด การผ่าคลอดใช้เวลาประมาณ 1 เดือนกว่าจะฟื้นตัวสู่สภาพปกติ 3.ความเจ็บปวด – การคลอดเองจะเจ็บปวดช่วงใกล้คลอดและขณะคลอด ซึ่งให้ยาลดอาการปวดได้ พอผ่านพ้นการคลอดไปแล้วก็จะไม่เจ็บนานอย่างการเจ็บแผลผ่าตัดคลอด แผลผ่าคลอดใช้เวลาประมาณ 1 เดือนจึงจะหาย 4.ดีต่อลูกมากกว่า – การคลอดเองปอดลูกจะถูกบีบออกเมื่อตัวเด็กผ่านทางช่องคลอดลดปัญหาน้ำคร่ำคั่งค้างในปอด และ ได้รับแบคทีเรียชนิดดีที่เป็นprobioticระหว่างการคลอดกระตุ้นภูมิคุ้มกัน 5.รู้เวลาคลอดแน่นอน –...
Read more- 0
- Category:
- Tags: No Tag
คุณแม่ตั้งครรภ์กำลังจะเลือกใช่มั้ยคะว่าจะคลอดเองหรือผ่าคลอดดี ความจริงแล้วการเลือกวิธีไหนน่าจะคำนึงถึงความเหมาะสมและความปลอดภัยเป็นหลักค่ะ ถ้าร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ฝากครรภ์พบคุณหมอตามนัดคุณหมอบอกว่าคลอดเองได้ การคลอดเองจะเป็นทางเลือกที่ปลอดภัยกว่าและยังเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าค่ะ การคลอดเองจะดีกับตัวคุณแม่เพราะฟื้นตัวเร็ว ลดโอกาสเสี่ยงอันตรายจากการดมยาและผ่าตัดลงไป และ ยังดีต่อการทำงานของปอดและภูมิคุ้มกันระบบทางเดินอาหารและสำไส้ของลูก WHO หรือองค์การอนามัยโลกรายงานว่าแม่ที่คลอดโดยการผ่าตัดทำคลอดมีความเสี่ยงอันตรายสูงกว่าการคลอดปกติถึง 3 เท่า การผ่าคลอดควรเกิดขึ้นเมื่อไหร่ คุณหมอแนะนำให้ผ่าเพราะภาวะร่างกายคุณแม่มีความจำเป็นต้องผ่าคลอดค่ะ เช่น เด็กตัวโตเกินไปเด็กไม่อยู่ในท่าปกติแม่อุ้งเชิงกรานเล็กปากมดลูกเปิดไม่มากพอท้องลูกแฝดรกเกาะต่ำขวางการคลอดแม่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น ครรภ์เป็นพิษ รกลอกตัวก่อนกำหนด ติดเชื้อในมดลูก ฯลฯแม่มีโรคบริเวณช่องคลอด เช่น เริม หูดหงอนไก่ มะเร็งปาดมดลูก ฯลฯแม่ตกเลือดก่อนคลอดเสียงหัวใจลูกเต้นช้าหรือเร็วกว่าปกติปากมดลูกเปิดน้อยหรือเปิดช้าเคยผ่าตัดมดลูกแล้วคุณหมอลงความเห็นว่าควรผ่าคลอด ฯลฯ การผ่าคลอดมีความเสี่ยงหลายประการ การฟื้นตัวและแผลผ่าตัดกว่าจะหายใช้เวลานานกว่ากัน...
Read more- 0
- Category:
- Tags: No Tag
คุณแม่ตั้งครรภ์เมื่ออายุ 35 ปีมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ จึงจำเป็นอย่างยิ่งในการดูแลสุขภาพร่างกายของตัวเองเพื่อแม่และลูก และยังต้องพบคุณหมอตามนัดด้วยนะคะ คุณแม่อาจได้รับการตรวจพิเศษตามคำแนะนำของคุณหมอ เช่น ตรวจอัลตร้าซาวด์ เจาะน้ำคร่ำเพื่อตรวจหาความผิดปกติของทารกในครรภ์ ตรวจชิ้นเนื้อรก เป็นต้น การดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับแม่ทุกวัยรวมทั้งแม่ท้องในวัย 35 ปีขึ้นไป ซึ่งคุณแม่สามารถทำได้ไม่ยากเลยค่ะ 1.พบคุณหมอตามนัดสม่ำเสมอ นอกจากตรวจสุขภาพครรภ์คุณหมอจะให้คำแนะนำรวมทั้งให้วิตามินเสริมที่จำเป็น เช่น กรดโฟลิก 2.รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เหมาะสมทั้งปริมาณและสารอาหารครบ 5 หมู่ 3.เลี่ยงชา กาแฟ เครื่องดื่มที่มีคาแฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และบุหรี่ เลี่ยงการอยู่ในบริเวณที่สูบบุหรี่...
Read more- 0
- Category:
- Tags: No Tag
น้ำมีคุณประโยชน์หลากหลายรวมทั้งการบำบัดรักษาค่ะ เรามาดูกันว่าในแนวทางของธรรมชาติบำบัดนั้นใช้น้ำเป็นตัวช่วยคุณแม่และลูกอย่างไรกันบ้าง แม่ท้องและหลังคลอด การออกกำลังกายในน้ำช่วยให้จิตใจสดชื่น ลดความวิตกกังวล และอาการไม่สบายเนื้อไม่สบายตัว เช่น เหนื่อยง่าย แน่นอึดอัด นอนหลับไม่ค่อยสนิท เท้าบวม ปวดหลัง เป็นตะคริว น้ำจะช่วยพยุงน้ำหนักตัวลดแรงกดของข้อต่อ ช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง คลอดง่ายขึ้น และยังช่วยฟื้นฟูร่างกายหลังคลอดให้กลับสู่สภาพเดิมได้เร็วขึ้น เด็กและทารก เด็กทุกวัยสามารถออกกำลังกายในน้ำได้ การเคลื่อนไหวในน้ำได้อย่างอิสระเด็กจะรู้สึกผ่อนคลาย สบาย เด็กทารกจะรู้สึกคุ้นเคยเพราะสภาพคล้ายอยู่ในท้องแม่ การออกกำลังกายในน้ำยังช่วยเพิ่มพัฒนาการของสมอง ระบบหายใจ ระบบย่อย ช่วยขับลม และยังช่วยเสริมทักษะการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อเพราะเวลาเดินในน้ำจะต้องออกแรงมากกว่าปกติถึง 5 เท่า เด็กพิเศษ...
Read more- 0
- Category:
- Tags: No Tag
ความเครียดอาจมาเยือนทุกคนรวมทั้งคุณแม่ตั้งครรภ์ บางครั้งคุณแม่อาจเครียดโดยไม่รู้ตัว ถ้าคุณแม่มีความเครียดมากและเครียดเป็นเวลานานจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของทั้งแม่และลูกในท้อง การรู้ตัวจะช่วยให้คุณแม่หาทางแก้ไขได้เร็วก่อนจะเกิดปัญหาค่ะ มาดูกันว่า 4 สัญญาณเตือนว่าคุณแม่เครียดนั้นมีอะไรบ้าง 1.ตัวร้อน ตัวสั่น เหงื่อออก หัวใจเต้นแรง หายใจถี่ อาการตัวร้อนที่ไม่ได้มีสาเหตุจากไข้ จะเกิดขึ้นเมื่อพบเจอกับสถานการณ์ที่ตึงเครียด โดยอุณหภูมิในร่างกายจะเพิ่มขึ้น มีเหงื่อออก ร่างกายสั่นเทา ปากแห้ง กระวนกระวายใจ หัวใจเต้นแรง หายใจถี่ บางท่านอาจปัสสาวะบ่อย ท้องเสีย แน่นหน้าอกค่ะ 2.ผมร่วง น้ำหนักลด นอนไม่หลับ เป็นผลมาจากข้อแรก ที่ร่างกายส่งสัญญาณว่ากำลังเกิดอาการเครียด ถ้าปล่อยทิ้งไว้จะสะสมไปเรื่อยๆ...
Read more